การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน สำหรับผู้เรียนชาวไทย

Main Article Content

เหลียง ซี
สหัทยา สิทธิวิเศษ
ทิวาพร อุดมวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน สำหรับผู้เรียนชาวไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยโมบายแอปพลิเคชัน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนชาวไทยหลังใช้โมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกวงหมิงหัวเฉียว อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า 1) โมบายแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้เครื่องหมายวรรคตอนภาษาจีน สำหรับผู้เรียนชาวไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.92/84.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากศึกษาด้วยโมบายแอปพลิเคชันของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผู้เรียนโมบายแอปพลิเคชันมีความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.42, S.D. = 0.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). การส่งเสริมการสอนภาษาจีน. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562, จาก กระทรวงศึกษาธิการ: http://www.moe.go.th/websm/2013/dec/439.html

จรัสศรี จิรภาส. (2555). เครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์พิเศษในภาษาจีน. กรุงเทพฯ: ทฤษฎี.

ธานิล ม่วงพูล และ อวยไชย อินทรสมบัติ. (2559). การทดสอบประสิทธิภาพแอปพลิเคชันสื่อการสอนศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. ในรายงานการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 : บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน”, 68 - 84: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา (Educational research). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ภคณัฏฐ์ บุญถนอม. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีเศรษฐบำเพ็ญ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ .

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการจัดการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562, จาก สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา: http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf

อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์. (2555). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจเรื่อง “การโปรแกรมเชิงเส้น” สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบัญชีมหาวิทยาลัยปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(2), 68-84.

อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา และ สรเดช ครุฑจ้อน. (2562). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำรหับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(2), 227-236.

Song, Anqi. (2016). The Analysis of the characteristics of the use of Chinese punctuation marks by Thai students in the primary stage teaching suggestions. Chinese Construction. 16(1), 11-12.

Zhang, Jingjing. (2012). Error analysis of Chinese punctuation used by Thai students in advanced stage. (Master's degree thesis). Guangxi University for Nationalities. Guangxi.

Zhang, Qiuyang. (2019). An analysis of the mistakes in the use of Chinese punctuation by Thai students: Taking Yunnan Normal University as an example. (Master's degree thesis). Peking University. Peking.