การบริหารจัดการโฮมสเตย์บ้านปางมะขามป้อมให้เป็นสถานวิถีการใช้ชีวิตด้วยการสร้างสมดุล กาย ใจ และจิตวิญาณ ด้วยการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ปานฉัตร อาการักษ์
กัสมา กาซ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลเรื่องการบริหารจัดการโฮมสเตย์บ้านปางมะขามป้อม และเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการให้โฮมสเตย์บ้านปางมะขามป้อมเป็นสถานวิถีการใช้ชีวิตด้วยการสร้างสมดุล กาย ใจ และจิตวิญาณ ด้วยการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้
ในงานวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย การบันทึกภาคสนาม แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมมนากลุ่ม กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ประกอบโฮมสเตย์ จำนวน 10 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 70 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า


1. การพัฒนาบุคคล เรื่อง การบริหารจัดการโฮมสเตย์ ให้มีความพร้อมในการจัดการ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) การสร้างความเข้าใจแนวคิดและหลักการบริหารจัดการโฮมสเตย์ด้วยการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แบบ Wellness 2) ตระหนักถึงความต้องการและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 3) การวิเคราะห์ การบริหารจัดการโฮมสเตย์ และ 4) การนำกลวิธีจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลผ่านกิจกรรมนันทนาการ


2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการได้จัดประเภทของกิจกรรมเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กิจกรรมแบบ Active เป็นกิจกรรมที่ต้องทำด้วยตัวเอง 2) กิจกรรมแบบ Semi–Active เป็นกิจกรรมที่มีผู้ช่วยแนะนำเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยตัวเอง และ 3) กิจกรรมแบบ Passive เป็นกิจกรรมที่มีผู้อื่นเป็นผู้ทำให้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ(MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2562. จาก http://203.157.7.120/ fileupload/2560-102.pdf

กัสมา กาซ้อน. (2560). แผนพัฒนาชุมชนบริการท่องเที่ยวนำนวัตกรรมสังคมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน กรณีศึกษา ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

คุณาวุฒิ บุญญานพคุณ. (2562). นวัตกรรมเพื่อชุมชน (Community innovation). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. จาก http://www.nia.or.th/innolinks/page.php?issue= 201501&section=4

จริยาวัฒน์ โลหะพูนตระกูล. (2553). การพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ. วารสาร มฉกวิชาการ, 14(27), 1-19.

ชุติมา นุตยะสกุล และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2562). รูปแบบการพัฒนาบุคลากรในธุรกิจสปาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13(3), 16 - 29.

ธันพัทธ์สร ธรรมโชติเมธิน. (2560). รูปแบบการศึกษาเรื่องจิตวิญญาณในสังคมไทย. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(16), 15 -24.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย และ ปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(3), 167-181.

ศศิพงศ์ บุญยงค์. (2562). เที่ยวเทรนด์ใหม่ เที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562, จาก http://horizon. sti.or.th/node/5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2559, จาก http:// www.thai-aec.com/616

สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก. (2562). ความสำคัญของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, จาก http://www.tatreviewmagazine.com

สุธีญา พรหมมาก. (2554). ภาวะผู้นำกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยบริการภาวะผู้นำกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมฯ, 22(3), 30- 43.

องค์การบริหารส่วนตำบลสันสลี. (2559). ข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลสันสลี.

สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2559, จาก http://www.sansalee.go.th/index.php