การพัฒนาคู่มือทักษะการสื่อสารภาษาจีนเพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาจีน สำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วรรณวิรัตน์ ตุงคะเวทย์
จงรักษ์ มณีวรรณ์
จิรปรียา เสนทรัพย์
พิชญ์ธัชกิต ธนวัฒน์โอภาส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ภาษาจีนสำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย จำนวน 51 คน กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาความ ต้องการด้านเนื้อหาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย 2) พัฒนาคู่มือทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย 3) ประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือทักษะการสื่อสารภาษาจีนสำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยมีความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ คณะผู้วิจัยจึงได้มีการพัฒนาคู่มือการสื่อสารภาษาจีนสำหรับผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเนื้อหาที่พัฒนาขึ้นตรงตามความต้องการและสอดคล้องกับการประกอบอาชีพของกลุ่มผู้ใช้งาน เนื้อหาของคู่มือประกอบไปด้วยคำศัพท์ ประโยคสนทนา รวมถึงรายชื่อและสรรพคุณยาสมุนไพรไทย และผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้คู่มือทักษะการสื่อสาร พบว่า ผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงราย จำนวน 51 คน มีความพึงพอใจต่อคู่มือในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.63 รายการได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ เนื้อหาในคู่มือสามารถนำไปใช้ได้จริงกับผู้เข้ารับการอบรม โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.88 ค่าเฉลี่ยลำดับรองลงมา คือ เนื้อหาในคู่มือเป็นไปตามความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.84 และรูปเล่มของคู่มือสวยงามน่าอ่าน โดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 4.84 สะท้อนให้เห็นว่า เนื้อหาของคู่มือทักษะการสื่อสารสอดคล้องกับการประกอบอาชีพและเป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงสามารถนำไปพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยจังหวัดเชียงรายได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2564). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 - 2564. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2562, จาก https://www.dtam.moph.go.th

กองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ. (2562). งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย Thai Herbal Pavilion เน้นกระตุ้นยอดขายเจาะกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติ. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2562, จาก https://nph.dtam.moph.go.th

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2542). การศึกษาและจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วนิดา ฤทธิ์เจริญ. (2550). การพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Pareek, U., and Roa, T. (1980). Training of education managers: A draft handbook for trainers in planning and management of education. Bangkok: UNESCO Thailand.