การสร้างแบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาจีน ที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

จาง ฉ่ายฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังการใช้แบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อการจัดการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแบบฝึกทักษะการฟัง และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ด้วยการทดสอบค่า (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาจีนที่เป็นกลุ่มทดลอง เท่ากับ 82.96/82.59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อแบบฝึกทักษะการฟังโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 4.79 อยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา แข็งแรง. (2552). การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชาวเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

จำเนียร เล็กสุมา. (2552). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความจากนิทานส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่ความคิด. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

โชษิตา หนูผาสุก. (2547). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การฟังอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก

https://doi.nrct.go.th

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2550). การวิเคราะห์ข้อสอบ. เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2552). การสร้างและการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม. (อัดสำเนา). เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นิตยา เอกบาง. (2551). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุษราคัม ยอดชะลูด. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่อง ประเพณีไทย โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิกสำหรับนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์.

สุจีรา สิทธิศาสตร์. (2553). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาไทยขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนชาว ต่างประเทศโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรทัย ขันโท. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการสอนแบบทางตรง (Direct Instruction Model) สำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

BAI NA , (2561).สัมภาษณ์นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย .มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. เชียงราย.

Robert, M. G. (1977). Conditions of Learning. (3rd ed.). New York: Thomson Learning.