ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ศิวณัฐ ศรเจียงคำ
ธารารัตน์ มาลัยเถาว์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่มีต่อระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่มีต่อทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในศตวรรษที่ 21 ในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จําแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 จำนวน 226 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan และการสุ่มแบบชั้นโดยใช้สถานศึกษาเป็นชั้นในการสุ่มเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบ
ค่าที (t-test) และการทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีทักษะในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรมางการศึกษาที่มีต่อทักษะ
ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 ในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ด้านขนาดโรงเรียนแตกต่างกันในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.ขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม 2545, แก้ไขเพิ่มเติม 2553 แก้ไขเพิ่มเติม 2562). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

จันทร์เพ็ญ ธนะฤกษ์. (2555). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. กาญจนบุรี.

โชคชัย นาไชย. (2559). ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสถานศึกษาบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะในด้านการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะในด้านของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ตถาตา.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2557). ยอดหัวหน้างาน Excellent Supervisor (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพฯ: TPA.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะในด้านการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. กาญจนบุรี.

สุรเสน ทั่งทอง. (2551). การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แบบรวมชั้นใน โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (2560). รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปี 2560. เชียงราย: สำนักงานฯ.

Baird. (2006). Skills of an Effective Administrator. Harvard: Harvard Business Review.

Hoyle, English and Steffy. (2005). Skills for Successful 21st Century School Leaders. Virginia: American Association of School Administrators, 1998.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

OECD. (2019). Does attending a rural school make a difference in how and what you learn?, PISA in Focus, No. 94, OECD Publishing, Paris, (Online), https://doi.org/10.1787/d076ecc3-en, Retrieved April 11, 2019.

Weigel, R. A. (2012). School Leadership Skill Development. (Thesis of Dissertation Ph.D.). Eastern Michigan University. Michigan.