ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครู จำนวน 311 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ในด้านการจัดการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาและด้านวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยียุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านบริหารงานทั่วไป ด้านบริหารงานวิชาการและด้านบริหารงานงบประมาณ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Boomtham, T. (2016). Leadership in digital economy era and sustainable development of educational organizations. Technical education journal king mongkut’s university of technology north bangkok, 7(1), 218, 223.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activating. Journal of Education and Psychological Measurement, 3(3), 607-610.
Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. United States of America: Corwin.
Thaitae, S. (2016). A causal model of teacher leadership and authentic leadership of administrators, with organizational culture as mediator, affecting effectiveness of nursing education institutions. Bangkok: Faculty of Education, Kasetsart University.