ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุภาพร ต๊ะนัย
ธารารัตน์ มาลัยเถาว์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จใน
การบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จใน
การบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษากับความสำเร็จใน
การบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 314 คน
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยกำหนดกลุ่มโรงเรียนและแบ่งตามสัดส่วน โดยเทียบสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างจากขนาดของประชากรในแต่ละสถานศึกษา การได้มาซึ่งรายชื่อโรงเรียนนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายแบบจับฉลากไม่ใส่กลับจนได้ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้าน ประกอบด้วย 10 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านการใช้ทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ปัจจัยด้านการจัดโครงสร้างองค์กร
ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านการจูงใจ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม และปัจจัยด้านการติดต่อสื่อสาร อยู่ในระดับมาก
2) ระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ทุกด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ หยิมกระโทก. (2558). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 3 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

นพเกล้า โกษา. (2561). ปัจจัยองค์การที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์เดอะบุคส์. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาเเห่งชาติ พ.ศ. 2542 เเก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

ยุทธนา อินต๊ะวงค์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 1-15.

วศิน อิงคพัฒนากุล และคนอื่นๆ. (2556). พัฒนาการการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร Veridian E-Journal กลุ่มมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 6(2), 836-847.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2563). รายงานการประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2563). ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สหัสวรรษแห่งคุณภาพ=Breaking barriers towards a millennium of quality. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W., (1970). Determining sample size for research activating. Journal of Education and Psychological

easurement, 3(3), 608-609.