ปัจจัยการจัดการความรู้กับทุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มเลี้ยงผึ้งโก๋น ดอยมะค่า จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

อัญยาณีย์ เกตุพันธุ์
ธัญพร ฟุ้งเฟือง
สุทธดา ขัตติยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการความรู้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัย
ทุนทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเลี้ยง
ผึ้งโก๋น ดอยมะค่า จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มประชากรในการวิจัย คือ เครือข่ายของกลุ่มเลี้ยงผึ้งโก๋น ดอยมะค่า จังหวัดเชียงราย การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 170 ตัวอย่าง โดยทดสอบเครื่องมือ ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.88 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.961
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยการจัดการความรู้ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ปัจจัยทุนทางสังคมภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง และ 3) แบบจำลองเส้นทางความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่อนข้างดี พิจารณาจาก (1) ค่า Chi-square Probability Level: CMIN-p เท่ากับ 0.120 (2) Relative Chi-square: CMIN/df เท่ากับ 1.216 (3) Goodness of Fit Index: GFI เท่ากับ 0.920 และ (4) Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA เท่ากับ 0.069 เมื่อพิจารณาผลรวมอิทธิพล พบว่า ปัจจัยทุนทางสังคม ประกอบด้วย ด้านเครือข่ายชุมชน ด้านทุนทางสัญลักษณ์ ด้านทุนทางภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าผลรวมอิทธิพล เท่ากับ 0.40 มากที่สุด และ รองลงมา คือ ปัจจัยการจัดการความรู้ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการจัดความรู้ให้เป็นระบบ ปัจจัยด้านการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ ปัจจัยด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
มีส่งผลต่อปัจจัยทุนทางสังคม และมีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเลี้ยงผึ้งโก๋น ดอยมะค่า จังหวัดเชียงราย โดยมีค่าผลรวมอิทธิพล เท่ากับ 0.21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จักรกฤษณ์ เจริญสิทธิ์ และคณะ. (2561). ทุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านผาหมอน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทััศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 62-72.

จิตราภรณ์ เพ็งดี. (2560). เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง. นครสวรรค์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชุติมันต์ สะสอง. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและบทบาทของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจชุมชน ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(1), 24-36.

ชุมพล รอดแจ่ม. (2564). การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธัญพร ฟุ้งเฟื่อง และคนอื่นๆ. (2564). โครงการการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 146-163.

พระครูสุจิตกิตติวัฒน์. (2563). การศึกษานวัตกรรมการผลิตชุมชนผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนเซาะบ้านท่าแฉลบจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 20(4), 11-24.

โรจนศักดิ์ แสงธศิริวิไล. (2563). การนำนวัตกรรมการตลาดมาประยุกต์ใช้ทางธุรกิจ เพื่อเสริมศักยภาพการแข่งขัน (ตอนที่ 2). สืบค้นจาก https://dba3-rojanasak.blogspot.com/ 2013/09/2-3-type-of-innovation-ntrott-2005-p.html.

วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ และ ปรียากมล เอื้องอ้าย. (2563). การจัดการนวัตกรรมของธุรกิจการผลิตเพื่อยกระดับ ความสามารถทางการแข่งขัน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 49-61.

วิรัตน์ ทรงทวีสิน และ ทักษ์ อุดมรัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของกลุ่มอาชีพผ้าทอมือจังหวัดเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 297-310.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุรัชชา สุวพานิช. (2564). การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Cronbach, Lee J. (2001). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper Collins.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Hipp, C., & Grupp, H. (2005). Innovation in the service sector: The demand for service-specific innovation measurement concepts and typologies. Research Policy, 34(4), 517-535.

McKeen, JD., & Smith, H. A. (2003). Making IT Happen: Critical Issues in IT management. Ontario: Wiley.

Tidd, J., & Bessant, J. (2009). Managing innovation: Integrating technological, market, and organizational change. (4th ed). West Sussex: John Wiley & Sons.