การจัดการทางการเงินของธุรกิจร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พิจิตรา แก้วพิชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการดำเนินธุรกิจร้านกาแฟ
ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารงานทางการเงินของธุรกิจ
ร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อศึกษาผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ
ในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 33 ร้าน และสร้างประเด็นในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ผลการวิจัยพบว่า ผลจากการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารงานทางการเงินของธุรกิจ
ร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ธุรกิจร้านกาแฟมีการลงทุนด้วยตัวเอง โดยมีลักษณะเป็นเจ้าของคนเดียว การหาแหล่งเงินทุน โดยขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และการจัดการทางบัญชี มีการจัดทำระบบบัญชีการจัดการกับระบบรายรับรายจ่าย และเข้าร่วมกับโครงการของภาครัฐฝึกอบรมการทำบัญชี


ผลจากการวิเคราะห์ด้านผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบว่า ผู้ประกอบการร้านกาแฟมีเงินลงทุนเริ่มแรกอยู่ที่ 843,100 บาท โดยเป็นเงินลงทุนส่วนตัวของเจ้าของกิจการทั้งหมด มีการคาดการณ์ยอดขายในปีแรกอยู่ที่ 21,600 แก้ว ราคาแก้วละ 50 บาท และเพิ่มปริมาณ 36,000 แก้ว ราคา 50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,880,000 บาท โดยมีอัตราผลตอบแทนภายในอยู่ที่ร้อยละ 30 เมื่อดำเนินกิจการได้ 3 ปี และมีระยะเวลาในการคืนทุนอยู่ที่ 2 ปี ซึ่งการวิเคราะห์ และประเมินตามแผนธุรกิจนี้ทำให้ผู้ประกอบการคาดการณ์ได้ว่าแผนธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะเติบโตและสามารถสร้างผลกำไรได้ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์, นันท์นภัส ศรีโสภณ, ทิพากร ย้อยสร้อยสุด, ภิญญดา แสงจันทร์, ศศินิภา ภู่ศรี, ศุภาพิชญ์ ผาดสุวรรณ์. (2563). ต้นทุน ผลตอบแทน และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนของธุรกิจร้านกาแฟ ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 1–20.

พาณิภัค พระชัย. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเปิดร้านกาแฟ “บ้านกาแฟสดหลังมอ 24 ชม.” ฝั่งยูพลาซ่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(3), 94-106.

พรทิพย์ บุญทรง. (2556). ทัศนคติความพึงพอใจในการทำงาน. (การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). การวิเคราะห์การประกอบการธุรกิจร้านกาแฟ. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2562). วิเคราะห์สถานการณ์ร้านกาแฟในยุคโควิด. สืบค้นจาก https://fic.nfi.or.th

ศิรินุช อินละคร. (2556). การเงินบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุขใจ น้ำผุด และอนุชนาฏ เจริญจิตรกรรม. (2551). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Frank, M. Z., & Goyal, V. K. (2008). Testing the packing order theory of capotal structure. Journal of financial economics, 67(2), 217-248.

Hallman, G.V., & Rosenbloom, J. (2000). Personal financial mangement. New Jersey: Kindle.

Jensen, M. C. (1986). Agency costs of free-cash flow, corporate finance, and takeovers. American Economic Review, 76(3), 323-329.

Louis Cheng. (2009). Financial Planning & Wealth Management. Louisiana: Louisiana Technology University.

Myers. (1984). Education Manpower of Human Resource. New York : Mc Graw-Hill Book.