การศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2

Main Article Content

สุภาภรณ์ หงษ์หิรัญ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์ของการใช้หลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน และ 3) เพื่อนำผลการวิจัยมาประยุกต์ในการบริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ให้เหมาะสมในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน ตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และมีวิธีการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม
จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 255 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป


            ผลการวิจัยพบว่า 1)  ตามทัศนะของครูผู้สอน การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 4 ด้านฉันทะ วิระยะ จิตตะ วิมังสา อยู่ในระดับมาก 2) ครูผู้สอนที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอน และขนาดสถานศึกษา  มีทัศนะต่อการนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านของเพศ อายุ ประสบการณ์สอน ขนาดสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านของวุฒิการศึกษา แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และพบว่า ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสัมพันธ์ของหลักอิทธิบาท 4 ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา พบว่า
มีความสัมพันธ์ทางบวก มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า ตัวแปรเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อิทธิบาท 4 และ 3) ผลจากการศึกษาวิจัย ผู้บริหารสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาอำเภอเถิน ให้เหมาะสมตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงฯ.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

พระมหาอุทัย ฉายา วชิรเมธี (นิยม). (2556). การสร้างสันติภาพท่ามกลางความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนไทยในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุโต).

พระอภินันท์ กนฺตสีโล (สิงมาดา), สุนทร สายคา และเจ้าอธิการบุญช่วย โชติว โส. (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอนาดูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(4), 62-69.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (2562). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 459–480.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2560). คุณธรรมจริยธรรมสาหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: นาศิลป์โฆษณา.

ว.วชิรเมธี. (2554). คนสำราญ งานสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

ศศิพิมพ์ กองสุข, พระปลัดโฆษิต โฆสิโต, และมะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามหลักอิทธิบาทกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 19–33.

Best, J.W. (1981). Research in Education (3rd ed.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc.