ภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูในโรงเรียนอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1

Main Article Content

ดารารัศมี ขจรกิจดำรงค์
ศิริพร เสริตานนท์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและบุคลากรครูในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน
12 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบสัดส่วน จำนวน 242 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์
ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 พบว่า มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาภาวะผู้นำแบบประชาธิปไตยของผู้บริหารกับการพัฒนาบุคลากรครู พบว่า บุคลากรครูโรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก ทุกรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ศิริพร ดวงศรี. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 192-200.

สุรีย์พร ฟากฟื้น. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(3), 27-40.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).กรุงเทพมหานคร: สำนักฯ.

อนัฏติยา ซาระวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ของ ผู้บริหารโรงเรียน. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(71), 153-163.

Krejcie, R. V, & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lewin K. & Gold M. E. (1999). The dynamics of group action. Educational Leadership Review, 6(1), 169-180.

Likert. Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.