ปัจจัยของนวัตกรรมบริการสาธารณะในบริบทใหม่และคุณภาพบริการที่มีผลต่อ ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของนวัตกรรมบริการสาธารณะในบริบทใหม่ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่ และศึกษาคุณภาพบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่ ใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับผู้ใช้บริการ 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ใช้สถิติที่วิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยของนวัตกรรมบริการสาธารณะในบริบทใหม่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ร้อยละ 77.70 (R2 = .777) ปัจจัยของนวัตกรรมบริการด้านที่มีผลมากที่สุด ได้แก่ บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ รองลงมา คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการให้บริการ และบริการด้านเทคโนโลยี ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาคุณภาพบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดแพร่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ร้อยละ 86.40 (R2 = .864) คุณภาพบริการด้านที่มีผลมากที่สุด ได้แก่ ความไว้วางใจของผู้รับบริการที่มีต่อผู้ให้บริการ รองลงมา คือ การตอบสนองต่อความต้องการผู้รับบริการ การเอาใจใส่ผู้รับบริการ ความเป็นรูปธรรมของการให้บริการ และความน่าเชื่อถือของการบริการ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
โดยควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมบริการสาธารณะในบริบทใหม่ด้านข้อมูลสารสนเทศเรื่องความพร้อมให้บริการมากที่สุด รองลงมา คือ เข้าถึงบริการ บริการรวดเร็วและถูกต้อง ตามลำดับ
ส่วนคุณภาพบริการควรให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้องมากที่สุด รองลงมา คือ พร้อมให้บริการ เข้าถึงบริการ และบริการรวดเร็ว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กิมอัน เหงียนถิ. (2565). นวัตกรรมการบริการสาธารณะ: กรณีศึกษากรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร.
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2557). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์ Service Marketing : Concepts and Strategies (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์ (1991).
ปฐมพงศ์ กุกแก้ว และ วัชรพงษ์ เงินเรืองโรจน์. (2563). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 17(2), 55-63.
ประภาพร สิงห์ทอง และ ทัตษภร ศรีสุข. (2564). การศึกษาปัจจัยการให้บริการเพื่อพัฒนาคุณภาพ สู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษา สำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 159-172.
ปรินทร ไชยคำจันทร์. (2564). คุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึงจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
พรรณเพ็ญแข โฉมอ่อน. (2564). คุณภาพการให้บริการสาธารณะของ เทศบาลตำบลไทรงาม อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(3), 566-580.
มาโคโตะ ยูซูอิ. (2555). นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) เบื้องหลังความสำเร็จของเซเว่น อีเลฟเว่น เจแปน และธุรกิจบริการยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิลาสินี จงกลพืช. (2563). คุณภาพการให้บริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเครื่องแก้ว วิทยาศาสตร์ กรณีศึกษา บริษัท เอ็น เค แลบอราทอรี (ประเทศไทย) จํากัด. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). รูปแบบและประเภทการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สถาบันพระปกเกล้า.
ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย. (2556). องค์การแห่งนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ฯ.
สุพจน์ บุญวิเศษ. (2563). การสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในเขต พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(1), 84-108.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. กระทรวงมหาดไทย.
Aday, L. A. and Andersen. R. (1971). Development of indices of access to medical care. Michigan: Ann Arbor Administration Press.
Aday. Lu Ann. and Andersor. Ronald. (1971). Development of induces of Access to Medical Care. Michigan Ann Arbor: Health Administration Press.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Attitude theory and measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
Lucy W. H., Gilbert, D., and G. Birkhead. (1977). “Equity in Local Service Distribution”. Public Administration Review, 37(6), 687-697.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: Free Press.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.