การประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ผ่านมุมมองการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตรและการประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 5 คน ทำการประเมินรายวิชา
ในหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกด้านการสอนของหลักสูตรนี้ จำนวน 5 รายวิชา ที่จัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2565 โดยใช้แบบประเมินความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมโยงขององค์ประกอบในรายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2563). หลักสูตรปริญญาตรี. สืบค้นจาก https://webmaster.edu.cmu.ac.th/assets/upload/files/2021/03/20210303131239_32403.pdf
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2561). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสาร Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1868-1882.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(2), 25-40.
สมเกียรติ อินทสิงห์, กนกวรรณ อังกสิทธิ์, ปริยาณี หอมสุวรรณ, พิศณุ รอตโกมิล และชัยสิทธิ์ วิริยะชาญไพร. (2565). การออกแบบหลักสูตรวิชาชีพครูตามแนวคิดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 16(2), 120-134.
สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนทรี คนเที่ยง, นิธิดา อดิภัทรนันท์, พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว, นทัต อัศภาภรณ์, ศักดา สวาทะนันทน์ … นงลักษณ์ เขียนงาม. (2560). การวิพากษ์กระบวนวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามกรอบ 3 คุณ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 36-46.
สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2560). การประเมินการใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีซีเทคแปซิฟิค จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 161-169.
Arends, R. I. (2016). Learning to teach (10th ed.). New York: McGraw-Hill Education.
Boyle, B., & Charles, M. (2016). Curriculum development. London: SAGE Publication.
Hargreaves, A., & Fullen, M. (2012). Professional capital: Transforming teaching in every school. New York, NY: Teachers College Press.
Koehler, M. J., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge?. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), 60-70.
Lang, J. M. (2016). Small teaching: Everyday lessons from the science of learning. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Lattuca, L. R., & Stark, J. S. (2011). Shaping the college curriculum: Academic plans in context. Hoboken, NJ: Jossey-Bass.
Loreto, M. M. (2018). Outcomes based teaching and learning practices in the Hotel and Resort Management Program of Dusit Thani College. Dusit Thani College Journal, 12(Special Issue), 82-98.
Martone, A., & Sireci, S. G. (2009). Evaluating alignment between curriculum, assessment, and instruction. Review of Educational Research, 79(4), 1332–1361.
Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the curriculum (8th ed.). Singapore: Pearson Education South Asia Pte.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum foundations, principles and issues (7th ed.). New Jersey: Englewood Cliffs.
Parkay, F. W., Anctil, E. J., & Hass, G. J. (2006). Curriculum planning: A contemporary approach. USA: Pearson Education.
Schuck, S., Aubusson, P., Kearney, M., & Burden, K. (2013). Mobilising teacher education: A study of a professional learning community. Teacher Development, 17(1), 1-18.
Tyler, R. W. (1968). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.