การโค้ชด้วยเทคนิค GROW Model เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ในการสร้างโมเดลธุรกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการโค้ชและการให้คำปรึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาโมเดลธุรกิจ และเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการโค้ชและการให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW Model ก่อนและหลังของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างได้จากการการสุ่มที่ไม่อาศัยความน่าจะเป็น โดยเลือกวิธีแบบเฉพาะเจาะจง ในขณะที่ วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ การเตรียมการ การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความจำเป็น การดำเนินการตามแผน และสุดท้าย การติดตามและประเมินผล โดยเก็บรวมรวบข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสร้างโมเดลธุกิจของผู้ประกอบการ ผลการศึกษา พบว่า การตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้โค้ชกับผู้ประกอบการ (G) มีความต้องการทำความเข้าใจและพัฒนาโมเดลธุรกิจ รวมทั้ง การพัฒนาการตลาดและแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่ การวิเคราะห์สถานการณ์จริงของธุรกิจ (R) พบว่า ธุรกิจมีสินค้าที่หลากหลายประเภท ต้องการสร้างการรับรู้ตราสินค้า และต้องการขยาย เพิ่มช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ แต่เพราะขาดประสบการณ์ในการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า และขาดทักษะ
ในการทำตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านขั้นตอนการดำเนินการโค้ชและให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW Model พบว่า ทางเลือกและกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการจะนำไปสู่เป้าหมายร่วมกัน (O) ประกอบด้วย การพัฒนาช่องทางการตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เพิ่มช่องทางกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ การชะลอการเพิ่มสายการผลิตสินค้าใหม่เพื่อไม่เกิดผลขาดทุน
ในภายหลัง รวมถึงการเพิ่มทางเลือกในลักษณะธุรกิจแบบ Business to Business to Customers (B2B2C) และการพัฒนารูปแบบสินค้าเพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจน การสร้างเรื่องราวให้เกิดการรับรู้ต่อสินค้าของผู้ประกอบการ เป็นต้น นอกจากนี้ ความตั้งใจที่จะลงมือทำตามโมเดลธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ (W) พบว่า ผู้ประกอบการจะทบทวนกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของสินค้า ศึกษาการทำเนื้อหาด้านการตลาดให้มากขึ้น เน้นจุดแข็งที่สำคัญของสินค้า
เน้นการพัฒนาต่อยอดสินค้าที่สร้างรายได้ให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาช่องทางการจำหน่าย
ผ่านตัวกลางเพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริการได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ผลลัพธ์จากการพัฒนาโมเดลธุรกิจสามารถทำให้แผนการตลาดของผู้ประกอบการชัดเจนและได้แนวทางการทำการตลาดในรูปแบบใหม่ เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการโค้ชและการให้คำปรึกษาผ่านเทคนิค GROW Model ก่อนและหลัง พบว่า ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์และรู้สึกพึงพอใจกับการเข้าร่วมการโค้ชและการให้คำปรึกษา ในขณะที่ ก่อนการเข้าร่วมผู้ประกอบการขาดความเข้าใจในโมเดลธุรกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากผ่านการโค้ชและการให้คำปรึกษาผู้ประกอบการสามารถสร้างโมเดลธุรกิจทีมีความเป็นรูปธรรมได้ และสามารถนำโมเดลธุรกิจที่สร้างขึ้นไปต่อยอดธุรกิจได้จริง เช่น ผู้ประกอบการรายหนึ่งนำโมเดลธุรกิจไปปรับใช้กับการเขียนแผนธุรกิจทำให้ผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมการนำเสนอสินค้า
ณ ประเทศฟินแลนด์ ในขณะที่ ผู้ประกอบการอีกรายหนึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดการเขียนแผนธุรกิจ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กฤษยา มะแอ และ กฤษณา ฝังใจ. (2561). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ท อัพ) ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 143-158.
ชนิดา วัชระอนันท์. (2563). ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนารูปแบบสตาร์ทอัพโดยองค์กรในประเทศไทย. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยามหิดล. กรุงเทพฯ
ชุตินันท์ รอดบุญเกิด และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2562). ปัจจัยแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเป็นธุรกิจ Startup และปัจจัยวัดความสำเร็จ. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ ด้านการประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง, 1-16.
ณัฐนัย ตรีเนตรสัมพันธ์ และ สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน (2559). การพัฒนาโมเดลธุรกิจด้วยวิธีลีนสตาร์อัพ. วารสารวิจัยและพัฒนา, 39(3), 337-351.
รุ่งอรุณ บุตรศรี. (2562). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่โรงพยาบาลเอกชนระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน. กรุงเทพฯ.
อุทิศ ดวงผาสุข, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และ นลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). การบริหารโดยการโค้ชเพื่อการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 130-141.
โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ (มศก.). (2560). Startup คืออะไร. สืบค้นจาก http://www.startup.su.ac.th/?p=84
Thipatdee, G. (2019). The Development of Coaching and Mentoring Skills through the Grow Technique for Student Teachers. Journal of Education and Learning, 8(5), 168-174.
Whitmore, J. (2010). Coaching for performance: growing human potential and purpose: the principles and practice of coaching and leadership. Hachette UK.