การพัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลือง สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

กันต์ฤทธิ์ สวัสดิสุข
ศรัณย์ นักรบ

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลม ทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย 2) ประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบไปด้วย เนื้อหา 6 บท ได้แก่ บทที่ 1 กลุ่มและประเภทของเครื่องลมทองเหลือง บทที่ 2 ระบบนิ้วและการทดเสียง บทที่ 3 การควบคุมลม ท่าทาง และการวางรูปปาก บทที่ 4 แบบฝึกหัดพัฒนาพื้นฐานด้านคุณภาพเสียง บทที่ 5 แบบฝึกหัดเทคนิคของเครื่องลมทองเหลือง และบทที่ 6 บันไดเสียง 2) การประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านความเหมาะสมด้านรูปเล่ม ด้านความเหมาะสมด้านเนื้อหาและภาพประกอบ และด้านความเหมาะสมด้านการนำไปใช้
3) การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย พบว่า มีค่าเฉลี่ยประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมด้านรูปเล่มมีระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.95, SD.= 0.22) ด้านความเหมาะสมด้านเนื้อหาและภาพประกอบ มีระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.90, SD.= 0.24) และด้านความเหมาะสมด้านการนำไปใช้มีระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 5, SD.= 0) เฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้านมีระดับคุณภาพมากที่สุด ( = 4.95, SD.= 0.22)
จึงถือได้ว่าคู่มือการฝึกปฏิบัติเครื่องลมทองเหลืองสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย
มีคุณภาพ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่งานวิจัยได้กำหนดไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2567). กรมพลศึกษา จัดประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ประจำปี พ.ศ. 2567. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/news/1000907

กฤษฎา ดวงติลี. (2560). การสร้างคู่มือการใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต สำหรับครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2542). รายงานการวิจัย การศึกษาและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน อาสาสมัครท้องถิ่น ในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มส.). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

พูนพิศ อมาตยกุล. (2559). สังเขปกำเนิดแตรวงในยุโรป สหรัฐอเมริกา และกำเนิดแตรวงทหารในประเทศไทย. ใน พูนพิศ อมาตยกุล และณัฐชยา นัจจนาวากุล (บ.ก.), แตรสยาม (น.37-46). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุกรี เจริญสุข. (2536). แตรวงและแตรวงชาวสยาม. กรุงเทพมหานคร: Dr.Sax.

เสถียร คามีศักดิ์. (2556). การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุสรา เหล็กคำ. (2565). การพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Whitwell, D. (2010). A Concise History of the Wind Band. Austin, TX: Whitwell Publishing.