ผลกระทบต่อสาธารณะจากการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรค

ผู้แต่ง

  • เอมอร จรัสอาชา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา พ.ศ. 2562, กัญชา, การรักษาโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกต่อสาธารณะจากแนวนโยบายการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคของประชาชน 2)เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงลบต่อสาธารณะจากแนวนโยบายการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคของประชาชน โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยกำหนดประชากรกลุ่มเป้าหมายไว้ คือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และผู้คิดค้นศึกษากัญชาทางการแพทย์ โดยผู้เกี่ยวข้องกับกลุ่มงานวิจัยครั้งนี้ทาให้ทราบถึงนัยและความคิดทางด้านกระบวนการนำกัญชามาใช้ทางการแพทย์ โดยทำการดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive random) จากที่ผู้วิจัยมีข้อจำกัดเรื่องของระยะเวลาในการศึกษา จึงใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผุ้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant Interview) คือการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง เพราะผู้ตอบเป็นกลุ่มที่เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมในความต้องการของผู้วิจัย ซึ่งคือบุคคลประเภทนี้เรียกว่า “ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ” โดยเลือกตัวอย่างที่ผู้ศึกษาได้ดำเนินการพิจารณาเลือกตัวอย่างด้วยตนเอง หลังจากทำการค้นคว้าและสัมภาษณ์ผู้ศึกษาได้ พบว่า การวิจัยและการพัฒนามาเป็นยาโดยการสกัดจากกัญชา เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ โดยได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานจากภาครัฐ โดยประเทศไทยมีการดำเนินการเกี่ยวกับกัญชาโดยการแยกประเด็นการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อทำการประเมินในการใช้กัญชาให้มีผลตามแนวนโยบายพึงหวังประโยชน์และเกิดโทษน้อยที่สุด จากการศึกษาทางผู้ศึกษาได้ข้อสรุป จากหัวข้อการค้นคว้าว่า กัญชาเป็นพืชสมุนไพรที่แพทย์นำมาใช้ในการรักษาโรคในยุคปัจจุบัน เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งทางการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนปัจจุบัน สรุปผลข้างเคียงในระยะสั้นของกัญชาเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ส่วนด้านผลข้างเคียงในระยะยาวนั้น ยังไม่มีผลข้อมูลที่ชัดเจน

References

กระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ.2559 (พ.ศ.2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 1ก วันที่ 6 มกราคม 2560.

ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์. (2560).รายงานการวิจัยกัญชากับการรักษาโรค.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเภสัชศาสตร์

พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 19 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562.

ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. (2561). รายงานการวิจัยประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา.

วีรยา ถาอุปชิต และ นุศราพร เกษสมบูรณ์.(2560). รายงานการวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30