คัมภีร์เกาเซิงจ้วนยุคเหลียง: ประวัติ ที่มาและโครงสร้างสำคัญ

ผู้แต่ง

  • วิไลพร สุจริตธรรมกุล ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ประภากร พนัสดิษฐ์
  • เมธี พิทักษ์ธีระธรรม

คำสำคัญ:

เกาเซิงจ้วน, ยุคราชวงศ์เหลียงใต้, พระฮุ่ยเจี่ยว, ที่มา, โครงสร้าง

บทคัดย่อ

          บทความมุ่งนำเสนอประวัติ ที่มาและโครงสร้างสำคัญของคัมภีร์เกาเซิงจ้วนยุคเหลียง (梁高僧傳) ประพันธ์โดยพระฮุ่ยเจี่ยว (慧皎) ในปีคริสตศักราช 519 ที่เป็นมาตรฐานของการบันทึกชีวประวัติของพระภิกษุผู้มีคุณูปการของจีน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคัมภีร์จากหลักฐานชั้นต้น คือ เอกสารคัมภีร์โบราณของจีน และหลักฐานชั้นรองที่เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการในปัจจุบัน

           ผลการศึกษาพบว่า มูลเหตุในการประพันธ์คัมภีร์เกาเซิงจ้วนยุคเหลียง เกิดจากการที่ผู้ประพันธ์มีแนวคิดที่จะเชิดชูพระภิกษุผู้มีคุณมากกว่าผู้มีชื่อเสียง ให้เป็นที่รู้จักภายใต้สภาพสังคมที่ต้องต่อสู้กับแนวคิดดั้งเดิมของวัฒนธรรมจีนที่มีอยู่ คือ ลัทธิขงจื๊อและเต๋า นอกจากนี้ การศึกษาด้านโครงสร้างทำให้เห็นถึงรูปแบบของการจัดหมวดหมู่พระภิกษุผู้มีคุณูปการ 10 หมวด ตามอุดมคติที่เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติตนของพระภิกษุผู้มีคุณูปการโดดเด่น ที่กลายมาเป็นมาตรฐานสำคัญของการบันทึกชีวประวัติพระภิกษุสำคัญในจีน ที่ถูกส่งทอดต่อไปยังคัมภีร์เกาเซิงจ้วนในยุคอื่น ๆ ต่อมา

References

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม, ประภากร พนัสดิษฐ์, และวิไลพร สุจริตธรรมกุล. (2566). พระกาศยปะ-มาตังคะ: คำแปลและอรรถาธิบายชีวประวัติในคัมภีร์เกาเซิงจ้วน. วารสารธรรมธารา 16, 36-79.

วิไลพร สุจริตธรรมกุล. (2564). “พระไตรปิฎกภาษาจีน”. เรื่องเล่าพระไตรปิฎก, 91-123. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง,

วิไลพร สุจริตธรรมกุล และประภากร พนัสดิษฐ์. (2565a). การศึกษาวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับคัมภีร์สี่สิบสองบทสูตร. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 17(2), 114-131.

วิไลพร สุจริตธรรมกุล และประภากร พนัสดิษฐ์. (2565b). ชีวประวัติและคุณูปการของพระธรรมรัตนะในคัมภีร์เกาเซิงจ้วนแปล: พระภิกษุุชาวต่างชาติยุุคราชวงศ์ฮั่น. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม 11(2), 162-193.

Ji, Y. (紀赟). (2009). A Study on Huijiao’s Biographies of Eminent Monks (慧皎高僧傳研究). Shanghai: Shanghai guji chubanshe.

Kieschnick, J. The Eminent Monk: Buddhist Ideals in Medieval Chinese Hagiography. Honolulu: University of Hawai’i Press, 1997.

Li, F.H. (李富華) and He, M. (何梅). (2003). Research on the Chinese Tripitaka (漢文佛教大藏經研究). Beijing: Zhonghua wenhua chubanshe.

Maspero, H. (1910). Le songe et l’ambassade de l’empereur Ming, étude critique des sources. Bulletin de l'Ecole Française d'Extrême-Orient, 10, 95–130.

Taisho Tripitaka Publication Association (Taishō Issaikyō Kankōkai 大正一切經刊行會). (1962). Taishō Revised Tripiṭaka (Taishō Shinshū Daizōkyō大正新脩大藏經) vol. 50. Tokyo: Taishō Issaikyō Kankōkai.

Tang, Y.T. (湯用彤). (1938). A History of Buddhism during the Han, Wei, Two Jin, and Northern and Southern Dynasties A History of Buddhism during the Han, Wei, Two Jin, and Northern and Southern Dynasties (漢魏兩晉南北朝佛教史). Reprinted. 2007. Beijing: Peking University Press.

Wei, B. (魏斌). (2012). An Shigao's Journey to Jiangnan (安世高的江南行跡). Wuhan University Journal (Humanity Science) 65(4), 39-48.

Wright, A.F. (1954). Biography and Hagiography Hui-Chiao’s Lives of Eminent Monks. Silver Jubilee Volume of the Zunbun-Kagaku-Kenkyusyo, 383-432.

Zhang, G. (張弓). (1997). Cultural History of Buddhist Temples in the Han and Tang Dynasties (漢唐佛寺文化史). Beijing: China Social Science Press.

Zürcher, E. (1959). The Buddhist Conquest of China. Reprint ed. 2007. Leiden: E.J. Brill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30