แนวโน้ม โอกาสและความหวังการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการไม่ซื้อสิทธิขายเสียง

ศึกษาวิเคราะห์ผ่านแนวคิดทฤษฎีเกม

ผู้แต่ง

  • โซร์ฟีนา เด่นสุมิตร Prince of Songkla University, Pattani Campus

คำสำคัญ:

เศรษฐศาสตร์การเมือง, ทฤษฎีเกม, เลือกตั้ง, ซื้อเสียง, ทุจริตคอรัปชัน

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการไม่ซื้อสิทธิขายเสียงระหว่างพรรคการเมือง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีเกมแบบร่วมมือและแบบไม่ร่วมมือ (Cooperative & Non-cooperative Games) ในทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบาย จากผลการศึกษาพบว่า มีแนวโน้มและความเป็นไปได้ ‘น้อย’ ที่แต่ละพรรคการเมืองจะ ‘ให้ความร่วมมือ’ ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้ความร่วมมือปฏิบัติตามข้อตกลงฯ (ไม่ซื้อเสียง) จะน้อยกว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการไม่ให้ความร่วมมือ (ซื้อเสียง) แสดงให้เห็นว่าการซื้อเสียงถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด (Dominant Strategy) ของแต่ละพรรคการเมือง เพราะเป็นจุดที่ทุกฝ่ายต่างได้รับผลตอบแทนมากที่สุดภายใต้การตัดสินใจบนพื้นฐานการเพิ่มอรรถประโยชน์สูงสุด (Utility Maximization) อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ข้อตกลงดังกล่าวนี้มีประสิทธิภาพและเกิดขึ้นจริงได้ (คือไม่มีการซื้อเสียงอีกต่อไป) จะต้องเริ่มต้นจากการแก้ไขปัญหาเชิงบุคคลผ่านการปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกแก่พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่ การสร้างระบบตรวจสอบป้องกันที่ดีควบคู่กันไป

References

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2538). การศึกษาแนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น. : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนันภรณ์ อารีกุล และคณะ. (2560). ความสัมพันธ์มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 78-87.

ชัยพงษ์ สำเนียง. (2561). การซื้อสิทธิขายเสียงในฐานะการเมืองของการต่อรองอัตลักษณ์. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(2), 1-48.

ธนัญญา สงชู. (2555). การทดลองทางเศรษฐศาสตร์เรื่องการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าโดยใช้ทฤษฏีเกมส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิไลวัจส์ กฤษณะภูต. (2557). แนวทางการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกตั้ง ตามความคิดเห็นของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(2), 64-75.

วิทยา พรพัชรพงศ์. (2550). การใช้ทฤษฎีเกมในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ. สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.

สุทธินี เอกฉันท์. (2555). การเปรียบเทียบภาวะแข่งขันทางวิชาการในสังคมที่มีแรงจูงใจที่ต่างกันโดยใช้ทฤษฎีเกมส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรพร ทวีศักดิ์. (2552). คนดีกับระบบที่ดี. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566, จากเว็บไซต์: https://prachatai.com/journal/2009/09/25718

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย : 5 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจ. เอกสารประกอบการประชุมประจำปี 2545: เรื่อง คนจน : โอกาสใหม่ในการพึ่งตนเอง. นนทบุรี.

Baghdasaryan, V., Iannantuoni, G., & Maggian, V. (2019). Electoral Fraud and Voter Turnout: An Experimental Study. European Journal of Political Economy, 58, 203–219.

Guardado, J., & Wantchekon, L. (2018). Do Electoral Handouts Affect Voting Behavior? Electoral Studies, 53, 139–149.

Guerra, A., & Justesen, M. K. (2022). Vote Buying and Redistribution. Public Choice, 193, 315–344.

Kramon, E. (2017). Money for Votes: The Causes and Consequences of Electoral Clientelism. Cambridge University Press.

Muhtadi, B. (2019). Vote Buying in Indonesia. Singapore: Palgrave Macmillan.

Schaffer, F. C., & Schedler, A. (2006). What Is Vote Buying? In Frederic Charles Schaffer (Eds.), Elections for Sale: The Causes and Consequences of Vote Buying. London: Lynne Rienner Publishers.

Stokes, S. C. (2005). Perverse Accountability: A Formal Model of Machine Politics with Evidence from Argentina. American Political Science Review, 99(3): 315.

Stokes, S. (2007). Political Clientelism. In C. Boix & S. Stokes (Eds.), The Oxford Handbook of Comparative Politics (pp. 604–627). Oxford University Press.

Transparency International (2020). Global Corruption Barometer. Retrieved 16 April 2023, from https://www.transparency.org/en/gcb/asia/asia-2020

Vicente, P. C. (2014). Is Vote Buying Effective? Evidence from a Field Experiment in West Africa. The Economic Journal, 124(574), F356–F387.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31 — Updated on 2024-05-30

Versions