ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของ พนักงานบริษัทพีทีทีอีพี เซอร์วิสเซส จำกัด สำนักงานย่อย จังหวัดสงขลา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมดุลชีวิตการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กร 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมดุลชีวิตการทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัทพีทีทีอีพี เซอร์วิสเซส จำกัด สำนักงานย่อย จังหวัดสงขลา จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) สำหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อมีความแตกต่างจะทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ (Fisher’s LSD) และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสมดุลชีวิตการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 และ 3.45 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลต่อสมดุลชีวิตการทำงาน พบว่า เพศ อายุ ชั่วโมงการทำงาน ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่อเดือน มีสมดุลชีวิตการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) สมดุลชีวิตการทำงานโดยรวมของพนักงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.789)
This research aims to study 1) the level of working-life balance and organizational commitment of Staff of PTTEP Services Limited Company, 2) to compare the personnel factors affecting on the working-life balance, 3) to examine the relationship between working-life balance and organizational commitment. The samples were 146 staffs at PTTEP Services Limited Company. The research instrument used a questionnaire and semi-formal interview. Statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation. t-test, F-test and Pearson Product-Moment Correlation. The research results are found that; 1) the staff had overall working-life balance and organizational commitment at moderate level that had mean was 3.40 and 3.45. 2) comparing the personal factors to working-life balance, it was found staff with different personal factors including gender, age, working hour, working experience, and monthly income with the significant statistic level at 0.05. 3) it was found that working-life balance had highly positive relationship on organizational commitment in overall and each aspect at statistical significant of 0.01 (r = 0.789)