Submissions
Author Guidelines
แนวปฏิบัติการส่งบทความเพื่อรับพิจารณา (เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป)
- เป็นบทความในขอบเขตของวารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน ซึ่งผู้เขียนได้เรียบเรียงด้วยตนเอง โดยปราศจากการลอกเลียน (plagiarism) โดยมิชอบ
- บทความที่ส่งต้องจัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาดตัวอักษร 15 pt. เว้นวรรคบรรทัดเดียว (single-line spacing) ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวเลขให้พิมพ์เป็นเลขอารบิก กั้นหน้ากระดาษบนและล่าง 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) ซ้ายและขวา 1.1 นิ้ว (2.8 เซนติเมตร)
- การอ้างอิงให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ ขนาดตัวอักษร 12 pt. โดยเป็นไปตามรูปแบบการอ้างอิงงานเขียนทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ให้มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 550 คำ และคำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างน้อย 3 คำ
- ให้มีบรรณานุกรม โดยเอกสารที่ระบุในบรรณานุกรมจะต้องได้รับการอ้างถึงแล้วในบทความเท่านั้น ทั้งนี้ รูปแบบให้เป็นไปตามรูปแบบการอ้างอิงงานเขียนทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. เนื้อหาของบทความรวมเชิงอรรถ ไม่รวมบรรณานุกรม ต้องไม่เกิน 25 หน้า
หากกองบรรณาธิการตรวจพบว่าบทความที่เสนอพิจารณาไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติข้างต้น บทความจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียน เพื่อให้ทำการแก้ไขบทความดังกล่าวให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติอย่างถูกต้องสมบูรณ์ก่อนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ
กระบวนการพิจารณาบทความ
บทความที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติข้างต้นจะได้รับการประเมินพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพบทความ (Peer review) ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวจากต่างสถาบันอย่างน้อย 2 ท่านต่อหนึ่งบทความ โดยเป็นการประเมินคุณภาพซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบข้อมูลผู้ส่งบทความ และผู้ส่งบทความไม่ทราบข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blinded review)
ในกรณีที่ผู้ประเมินคุณภาพบทความพิจารณาว่าสามารถตีพิมพ์ได้ แต่ต้องมีการแก้ไขก่อน ผู้ส่งบทความจะต้องปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน โดยต้องแสดงให้กองบรรณาธิการเห็นถึงประเด็นที่ได้ปรับแก้ดังกล่าวอย่างชัดเจน อนึ่ง หากเรื่องใดผู้เขียนยืนยันจะคงถ้อยความเดิมไว้ ก็จะต้องชี้แจงให้เหตุผลกลับมายังกองบรรณาธิการ เพื่อกองบรรณาธิการจะได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเป็นรายประเด็น
โดยทั่วไปแล้วกระบวนการพิจารณาบทความ รวมถึงขั้นตอนตรวจสอบเบื้องต้นก่อนกระบวนพิจารณาจะใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 3 เดือน ทั้งนี้ วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ไม่มีนโยบายรับพิจารณาบทความโดยช่องทางพิเศษสำหรับกรณีเร่งด่วน (Fast Track) แต่อย่างใด
ที่อยู่การส่งบทความ
ผู้เขียนต้องส่งบทความผ่านระบบThaijo 2.0 https://www.tci-thaijo.org/
รูปแบบการอ้างอิงแบบ E-book : https://bit.ly/3q1JZdG
Download Templateบทความเริ่มใช้ตัั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป || รูปแบบการอ้างอิง || คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
Copyright Notice
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย