การคุ้มครองบุตรผู้เยาว์กรณีการหย่าโดยความยินยอม

Main Article Content

พิมพ์วิสา นาคทับทิม

Abstract

 สถาบันครอบครัวมีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพของประชากรในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีบุตร เมื่อบิดามารดาประสงค์ให้การสมรสสิ้นสุดลงและหย่าโดยความยินยอม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520-1522 กำหนดให้มีการตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร แต่ไม่ได้เป็นเงื่อนไขแห่งความสมบูรณ์ของการหย่า คู่สมรสที่จดทะเบียนหย่าโดยไม่ผ่านขั้นตอนทางศาล อาจไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูและอำนาจปกครองบุตรไว้ในสัญญาหย่า หรือกำหนดไว้แล้วแต่ประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงในภายหลัง กฎหมายไม่มีช่องทางในการตกลงกันด้วยวิธีอื่น นอกจากการนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ จากการศึกษาหลักการหย่าโดยความยินยอมของกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าในประเทศอังกฤษและอเมริกา การหย่ากระทำได้โดยผ่านการตรวจสอบจากศาลก่อนเท่านั้น เพื่อคุ้มครองเจตนาที่แท้จริงของคู่สมรส และตรวจสอบสิทธิที่บุตรควรได้รับ ตามหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดู และสิทธิเยี่ยมเยียนบุตร เป็นต้น สำหรับประเทศฝรั่งเศส แม้คู่สมรสจะสามารถหย่ากันเองได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนทางศาล แต่ก็มีการกำหนดเงื่อนไขในการรับรองข้อตกลงการหย่าโดยโนแตร์ และมีข้อยกเว้นเมื่อคู่สมรสมีบุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์ ซึ่งอยู่ในฐานะที่สามารถแสดงความเห็นได้ ให้ศาลรับฟังความเห็นของผู้เยาว์ด้วย อันเป็นการรับรองสิทธิของบุตรตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก


 การเพิ่มเงื่อนไขในขั้นตอนการหย่า ให้มีเอกสารซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องอำนาจปกครองบุตร สิทธิติดต่อกับบุตรพร้อมแบบรายงานการพบเจอบุตร การจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ผลการรับรองสุขภาพจิตของบิดามารดาและบุตร รวมถึงข้อมูลอื่นที่จำเป็น ประกอบการพิจารณาจดทะเบียนหย่า และให้มีการควบคุมข้อตกลงในสัญญาหย่าไม่ให้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ จะเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์การหย่าโดยความยินยอมของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวกับบุตร เพื่อรับประกันสิทธิที่บุตรควรได้รับความคุ้มครอง ตามหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก ภายหลังจากที่การสมรสของบิดามารดาสิ้นสุดลง

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือและบทความในหนังสือ

ภาษาไทย

ไพโรจน์ กัมพูสิริ และรัศฎา เอกบุตร, คำอธิบาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตรา ว่าด้วย ครอบครัว บรรพ 5 มาตรา 1435-1598/41. (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, การหย่าโดยความยินยอมในกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ใน รวมบทความกฎหมายลักษณะครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2555).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, ‘การใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันภายหลังการหย่าขาดของบิดามารดา’ ใน รวมบทความกฎหมายลักษณะครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2555).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว (แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 11, วิญญูชน 2565).

หรั่ง นิมิหุต, กฎหมายลักษณะผัวเมีย (สยามฟรีเปรส 2468).

ภาษาต่างประเทศ

John Eekelaar and Mavis Maclean, Oxford reading in socio-legal studies, A reader on Family Law, Oxford University Press, 1994).

Margaret C. Jasper, Marriage and Divorce (3rd edn, Oxford University Press 2008).

Mmookin Robert H. and D. Kelly Weisberg, Child, Family, and State Problems and Materials on Children and the Law (5th edn, Aspen publishers 2005).

Mmookin Robert H. and D. Kelly Weisberg, Japanese Family Law (Vol. 9, No. 1, Stanford Law Review 1956).

บทความวารสาร

สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์, ‘วิชาชีพพนักงานจัดทำนิติกรรม (notaire) ในประเทศฝรั่งเศส’ (2533) 4 วารสารนิติศาสตร์ 19.

เอมผกา เตชะอภัยคุณ, ‘การสร้างความเป็นธรรมและการคุ้มครองสิทธิของบุตรที่เกี่ยวข้องในการหย่าโดยความยินยอม : ศึกษากฎหมายของไทยและกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส’ (2561) 3 วารสารนิติศาสตร์ 512.

ภัทรวรรณ ทองใหญ่, ‘ยุทธศาสตร์การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพโนตารีในประเทศไทย “Strategies for the Establishment of a Notarial Organization in Thailand: Keys to Success”’ (2558) 3 วารสารกระบวนการยุติธรรม 45.

บทความหนังสือพิมพ์

ศาลยุติธรรม, รายงานการฝึกอบรมหลักสูตร “กฎหมายเกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัว ณ New York University ประเทศสหรัฐอเมริกา” เรื่อง “เทคโนโลยีการช่วยเจริญพันธุ์” และ “การหย่าและระบบการประนอมข้อพิพาทในคดีหย่าของประเทศสหรัฐอเมริกา 2561.

วิทยานิพนธ์

มานิตย์ วงศ์เสรี, ‘สัญญาหย่า : วิเคราะห์ลักษณะและขอบเขต’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2531).

วรพรรณ ชังพิชิต, ‘อำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่า’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2533).

สุชา โฉมศรี, ‘การหย่าโดยความยินยอม : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

พิมพ์วิสา นาคทับทิม, ‘การคุ้มครองบุตรผู้เยาว์กรณีการหย่าโดยความยินยอม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) (กำลังจะเผยแพร่).

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย

ยูนิเซฟ, ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคืออะไร’ <https://www.unicef.org/thailand/th/what-is-crc> สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564.

‘บันทึกครอบครัว’<https://skdesu.com/th/>สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.

‘ญี่ปุ่นพร้อมเปลี่ยนกฎหมายอายุบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะจาก 20 ปีเป็น 18 ปี เริ่มมีผลบังคับใช้ปี 2022’ (MGR Online, 18 มิถุนายน 2561) <https://mgronline.com/japan/detail/9610000060313> สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564.

KICC Kobe International Community Center ‘ปัญหาการหย่าร้าง’ <https://www.kicc.jp/th/living_ guide/living/troubles/rikon> สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564.

ภาษาต่างประเทศ

‘Child Custody Laws in Texas’ (FindLaw) <https://statelaws.findlaw.com/texas-law/child-custody-in-texas.html>สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564.

Changing a Custody, ‘Visitation or Child Support Order’ (texaslawhelp.org)) สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564.

Case Study: Mike's Story, (jmw.co.uk)<https://www.jmw.co.uk/>สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564

services-for-you/family-law/children/case-studies/children-and-non-molestation-orders-mike-s-story>.

Case Studies: Fabio's Story https://www.jmw.co.uk/>services-for-you/family-law/children/case-studies/internal-relocation-fabio-s-story>สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2564.

Child support, ‘visitation rights, and child abduction in Japan’ (EnglishLawyersJapan)https:// englishlawyersjapan.com/on-child-support-visitation-rights-and-child-abduction-in-japan/สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564.

Changing a Custody, ‘Visitation or Child Support Order’(texaslawhelp.org, 18 กรกฎาคม2564) https://texaslawhelp.org/article/changing-custody-visitation-or-child-support-order#toc-2สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564.

French Family Law, (lawyersfrance.eu) <https://www.lawyersfranceeu/family-law-in-france.>สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564.

France divorce, (The Law Office Of Jeremy Morley International Family Law) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564.

Family Law in Japan’ (Wikipedia) https://en.wikipedia.org/wiki/Family_law_in_Japan สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2564.

Family Law – Child Custody in Japan, (Australian Embassy) https://japan.embassy.gov.au/ tkyo/familylaw.html สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564.

GOV.UK, ‘Calculate your child maintenance’ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565.

Holley v. Adams, (law.justia.com) <https://law.justia.com/cases/texas/supreme-court/1976/b-5880-0.html> สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564.

I need a custody order, ‘I am the child's parent (SAPCR)’ (texaslawhelp.org, 28 กรกฎาคม 2564) <https://texaslawhelp.org/toolkit/sapcr-i-need-custody-order-i-am-childs-parent> สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564.

Monica Sisavat, ‘Angelina Jolie Brad Pitt and Angelina Jolie Divorce Details’ (Popsugar., 1 February 2019)<https://www.popsugar.com/celebrity/Brad-Pitt-Angelina-Jolie-Divorce-Details-42436493> สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565.

Moneyhelper, ‘How much child maintenance should I pay?’ https://www.money-helper.org.uk /en/family-and-care/divorce-and-separation/how-much-child-maintenance-should-i-pay#arran-ging-child-maintenance-yourselves สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565.

‘New York Marriage Laws’ (FindLaw) <https://statelaws.findlaw.com/new-york-law/new-york-marriage-laws.html>สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564.

The Superior Court of California, ‘Child custody’ <https://www.occourts.org/self-help/familylaw/ childcustody.html>สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564.

Who gets parental authority (child custody) in Japan?, (EnglishLawyersJapan) <https://english-lawyersjapan.com/who-gets-parental-authority-child-custody-in-japan/>สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564.

สัมภาษณ์

ภาษาไทย

สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์, นายทะเบียน, จังหวัดปราจีนบุรี, (6 มิถุนายน 2565).