ปัญหาข้อแตกต่างในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

Main Article Content

ชนิกานต์ สุวรรณธนรัชต์

Abstract

             หลักการพิพากษาไม่เกินคำขอในคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก เป็นการกำหนดขอบเขตการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลย กล่าวคือ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่นอกเหนือคำฟ้องหรือคำขอมาลงโทษจำเลยได้ ศาลต้องยกฟ้องในทุกกรณีที่ข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง ต่อมาเพื่อควบคุมและปราบปรามอาชญากรรม ประกอบกับการสร้างดุลยภาพในกระบวนการยุติธรรม จึงมีการกำหนดข้อยกเว้นของหลักดังกล่าว ไว้ในวรรคสอง กล่าวคือ ศาลจะลงโทษจำเลยได้ต้องปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณาต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคำฟ้องในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ประกอบกับจำเลยไม่หลงต่อสู้ ซึ่งการพิจารณาวรรคสองนั้น ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับวรรคสาม ที่ว่า “…ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้น เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา หรือสถานที่กระทำความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก และรับของโจร หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาทมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่า การที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้…” เพื่อให้ทราบว่าข้อแตกต่างใดถือเป็นเพียงรายละเอียดไม่ใช่สาระสำคัญ ทำให้เกิดปัญหากรณีที่ศาลไม่อาจนำบทบัญญัติที่ไม่ได้กำหนดไว้ในวรรคสามมาพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลย แม้ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาครอบคลุมถึงองค์ประกอบความผิดก็ตาม ดังจะเห็นได้จากตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2541 4976/2556 831/2532 และ 4/2530 เป็นต้น


             จากปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการการศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องในสาระสำคัญของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยพบว่า ประเทศอังกฤษแก้ไขปัญหาด้วยการนำข้อยกเว้นในหลัก lesser included offence มาพิจารณา ประกอบการออกกฎหมายเพื่อกำหนดข้อยกเว้นในกรณีความผิดพิเศษที่กฎหมายกำหนดให้ความผิดที่พิจารณาได้กับความผิดที่ฟ้องไม่แตกต่างกัน ศาลสามารถลงโทษจำเลยในความผิดที่ได้ในทางพิจารณาได้ และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แก้ไขปัญหาด้วยการใช้ “หลักการกระทำในทางประวัติการณ์อันเดียวกัน” กล่าวคือ การบรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องเป็นลำดับเหตุการณ์ ทำให้การคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด หรือสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิด หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหาย หรือในข้อเท็จจริงอย่างอื่นๆ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ


             ด้วยเหตุนี้ บทบัญญัติมาตรา 192 วรรคสาม จึงควรแก้ไขเพิ่มเติม โดยการนำหลักเกณฑ์การบรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีมาปรับใช้ และกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการพิจารณาข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องของศาล โดยให้ศาลคำนึงถึงคุณธรรมทางกฎหมายเป็นสำคัญ หากข้อเท็จจริงใดที่มีคุณธรรมทางกฎหมายมุ่งคุ้มครองอย่างเดียวกัน ย่อมไม่ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญ อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาให้หมดสิ้นไป


             


 

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, กฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 2, บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด 2555).

โกเมน ภัทรภิรมย์, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา : วิธีพิจารณาชั้นศาล (พิมพ์ครั้งที่ 3, มิตรนราการพิมพ์ 2530).

คณพล จันทร์หอม, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด (เล่ม 3 พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2565).

คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (เล่ม 1 ,พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2564).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11, วิญญูชน 2559).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2563).

จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11, บริษัท ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด 2555).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ และรณกรณ์ บุญมี, กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 23, วิญญูชน 2564).

ธานิศ เกศวพิทักษ์, คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 13, สำนักฝึกอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2559)

เปลี่ยน ลีละศร, วิชาข้อเท็จจริง (สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ 2546) 55-64.

ไพโรจน์ วายุภาพ, ข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง (พิมพ์ครั้งที่ 2, ร้านหนังสือปณรัชช 2560).

สุเนติ คงเทพ, หลักการทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 (สำนักพิมพ์

นิติธรรม 2557).

สุพิศ ปราณีตพลกรัง, ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2559).

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล, คำอธิบายความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 6,

วิญญูชน 2559) (เชิงอรรถ 185).

แสวง บุญเฉลิมวิภาส, หลักกฎหมายอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 4, วิญญูชน 2546).

หยุด แสงอุทัย, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 21, สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

วิทยานิพนธ์

ธีระ ละมุลตรี, ‘หลักการพิพากษาไม่เกินคำขอ : ศึกษาปัญหาการบรรยายฟ้อง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2548) 26-32.

นพดล ลอยลม, ‘การพิพากษาไม่เกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 : ศึกษากรณีการเริ่มต้นคดีด้วยการกล่าวโทษในคดีอาญาแผ่นดิน แต่ศาลพิพากษาในคดีความผิดต่อส่วนตัว’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).

นลินอร ธิบดี, ‘ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีกระทำผิดโดยประมาท’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551).

ปรัชญา บุญวุฒิ, ‘ขอบเขตการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล : ศึกษาจากวัตถุแห่งคดี’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2561).

ปานรวี ชีวิตโสภณ, ‘ปัญหาความรับผิดทางอาญาในการกระทำโดยประมาทของแพทย์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).

พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น, ‘ข้อเท็จจริงต่างกับฟ้องในคดีอาญาของไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2528).

เว็บไซด์

นิรมล ยินดี, ‘การตีความกฎหมาย Interpretation of Law’ (web.graduate.sru.ac.th, 2 ธันวาคม 2561<https://graduate.sru.ac.th/ wp-content/uploads/2018/11/ppt-การตีความกฎหมายอาญา.pdf> สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565.