กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับการคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลพลเรือนในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
Abstract
บทความเรื่องกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกับการคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลพลเรือนในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการศึกษาถึงการใช้บังคับและกรอบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีที่มาจากอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 4 ฉบับ โดยผู้ศึกษาได้กำหนดเป้าหมายของการศึกษาไว้คือเรื่องของผลกระทบด้านสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นผู้ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยเฉพาะสิทธิในชีวิตและร่างกายอย่างไร โดยในบทความฉบับนี้ผู้เขียนได้อธิบายให้เห็นถึงหน้าที่ของประเทศไทยต่อการคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลในพื้นที่ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะภาคีของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ.1949 อีกทั้งยังได้อธิบายตีความสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าถือเป็นความขัดแย้งทางอาวุธ (Armed conflict) หรือไม่โดยเป็นการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายมนุษยธรรมได้กำหนด นั่นเพราะการตีความสถานการณ์พื้นที่ความขัดแย้งถือเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงเหตุและผลของการนำกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศไปใช้บังคับ โดยผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์รายละเอียดของบทบัญญัติต่างๆที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลผู้ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสู้รบว่าจะได้รับการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวไว้ในบทบัญญัติข้อใด และมีรายละเอียดอย่างไร เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงการทำงานของบทบัญญัติต่างๆที่ตราขึ้นมาเพื่อใช้บังคับกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นั่นเพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์สำคัญของบทความคือเพื่อให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงเครื่องมือที่จะนำมาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายของบุคคลในสถานการณ์ความขัดแย้งโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คงไม่อาจคำนึงถึงเพียงกฎหมายภายในที่จะนำมาใช้บังคับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีด้วยเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ให้ได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
ปกป้อง ศรีสนิท, คำอธิบายกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564).
กฤษณะ บวรรัตนารักษ์,‘ข้อกฎหมายและข้อควรระวังที่สำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้’ (2556) วารสารหลักเมือง 13.
ปณิธาน วัฒนายากร, ‘ขบวนการจัดตั้งกับความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : แรงจูงใจ การขับเคลื่อน และแนวทางแก้ไข’ วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง (2564) 85.
ศิวพล ชมภูพันธุ์, ‘การเข้าสู่สังคมระหว่างประเทศของสยามกับการระบุบ่งตัวตนของรัฐในการสงครามสมัยใหม่ (ค.ศ.1782-1917)’ (2564) วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 323.
Amanda Alexander, ‘A Short History of International Humanitarian Law’ (2015) The European Journal of International Law 111.
Charles H.B. Garraway, ‘Yoram Dinstein Michael N. Schmitt. The Manual on the Law of NonInternational Armed Conflict With Commentary, (2006).International Institute of Humanitarian Law, 2.
‘ชายแดนใต้/ปาตานี 2547-2564: ก้าวเข้าปีที่สิบเก้า สันติภาพจะเดินหน้าไปถึงไหนในปี 2565?’ (Deep South Watch, 10 มกราคม 2565) <https://deepsouthwatch.org/th/node/12816> สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565.ICRC blog THAILAND. (16 มิถุนายน 2559). 150 ปีของการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม-สงครามแห่งโซลเฟริโน่.
‘กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ’ (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ)<https://treaties.mfa.go.th/กฎหมายระหว่างประเทศ/กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ> สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2565.
‘สถิติความสูญเสียจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547-2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564)’ (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, 31 มีนาคม 2564)< https://www.sbpac.go.th/?p=55404> สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565.
เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์, ‘หลักกฎหมายระหว่างประเทศ กับการห้ามใช้ “โรงพยาบาล” เป็นเป้าของการสู้รบ’ (MGR ONLINE, 22 มีนาคม 2559) <https://mgronline.com/south/detail/9590000029780> สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565.
Kathleen Lawand ‘Internal conflicts or other situations of violence – what is the difference for victims’ (International committee of the red cross, 10 December 2012) <https://www.icrc.org/ en/doc/resources/documents/interview/2012/12-10-niac-non-international-armed-conflict.htm> สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2565.
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง, ‘ขบวนการต่อสู้ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : นักต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรง’ (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร 2561) 10.