มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมในการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
ปัจจุบันประเทศไทยมีสัตว์จรจัดอยู่เป็นจำนวนมากจากการสำรวจของสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์พบว่ามีสัตว์จรจัดอยู่กว่าหนึ่งล้านตัวทั่วประเทศ โดยรัฐได้ใช้เงินงบประมาณในการจัดการแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดเป็นจำนวนกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมาตรการทางกฎหมายในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสุนัขมีอยู่หลายฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับนั้นวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่กฎหมายที่อยู่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเลี้ยงสัตว์ของประชาชน เป็นผลให้ไม่สามารถควบคุมการเลี้ยงสัตว์อย่างสุนัข หรือแมวได้ ส่งผลไม่มีมาตรการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษากฎหมายควบคุมการเลี้ยงสุนัขในต่างประเทศพบว่ามีการนำมาตรการทางภาษีมาใช้ในการจัดเก็บสำหรับการเลี้ยงสุนัขได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนประเทศที่นำมาตรการทางค่าธรรมเนียมมาใช้สำหรับจัดเก็บการเลี้ยงสุนัข คือประเทศนิวซีแลนด์ โดยทั้งสามประเทศนี้ใช้มาตราการทางการคลังควบคู่ไปกับมาตรการทางทะเบียน และมาตราการอื่นๆ เพื่อควบคุมการเลี้ยงสุนัข และป้องกันการทอดทิ้งสุนัข อันเป็นสาเหตุให้เกิดสุนัขจรจัด โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้อำนาจดำเนินการให้เป็นตามกฎหมาย ผู้เขียนจึงเห็นว่าสามารถนำมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมมาปรับใช้ให้เข้ากับสภาพปัญหาสัตว์จรจัดในประเทศไทยได้โดยเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง โดยรวมถึงสัตว์จรจัดด้วย ให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการ. เลี้ยงสัตว์ และนำมาตรการจูงใจทางภาษีมาใช้เพื่อเป็นจูงใจทางภาษีแก่ผู้ที่รับเลี้ยงสัตว์จรจัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย (พิมพ์ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์, ทฤษฎีภาษีเงินได้และภาษีเงินได้ของไทย (กรุงสยามการพิมพ์ 2521).
จิรศักดิ์ รอดจันทร์, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการละบทวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 2556).
สมคิด เลิศไพฑูรย์, คำอธิบายกฎหมายการคลัง (พิมพ์ครั้งที่ 3, นิติธรรม 2541).
ธนภพ ศรีสถาพร, ‘มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัด ในเขตกรุงเทพมหานคร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).
นุชนารถ เจริญสุข, ‘มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเลี้ยงสุนัข’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตารมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555).
ศรัณยู ภักดีวงษ์, ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี’ (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต(การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).
สุทธาวรรณ บุญวงศ์, ‘มาตรการทางรายได้สาธารณะในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).
‘ภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและมาตรการภาษีเกลือและโซเดียม’(มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) <https://thainhf.org/ work/ภาษีเครื่องดื่มที่มีน้/> สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565.
‘รู้กันยัง? กทม.มีระเบียบขึ้นทะเบียนสุนัข 16 ปีมีคนมาทำแค่ 1 ใน 3 จากยอด 6 แสน’ (สำนักข่าวอิสรา, 17 ตุลาคม 2561) < https://www. isranews.org/content-page/item/70354-isranews-70354.html> สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2565.
‘สำรวจภาษีหมา-แมวในต่างประเทศ ต้องจ่ายเงินเท่าไรก่อนจะมีสัตว์เลี้ยงคลายเหงา’ <https://thestandard.co/dog-cat-tax-in-foreign-countries/> (THE STANDARD, 21 กุมภาพันธ์ 2561)สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564.
คณะกรรมการการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติ, ‘การขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง
(สุนัขและแมว)’ (เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 4, 2560) < https://kpi-lib.com/library/en/books/kpibook-26576/> สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2564.
โครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน, ‘โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร’ <http://e-lib.dede.go.th//mm-data/Bib15162โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากสรรพากร.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565.
ทีมข่าวTCIJ, ‘พบตัวเลข ‘สุนัข-แมว ไม่มีเจ้าของ’ อปท.สำรวจต่ำกว่ากรมปศุสัตว์เป็นอย่างมาก’ (TCIJทำความจริงให้ปรากฏ, 23 กุมภาพันธ์ 2563) <https://www.tcijthai.com /news/ 2020/2/scoop/9923>สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564.
พิชชานาถ คำยวง และคณะ, ‘หลักการกําหนดค่าธรรมเนียมในกฎหมาย ตอนที่ 1 ประเภทและฐานอำนาจตามกฎหมายในการเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎหมายไทย’ <http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp ?type=act&actCode=13763>สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, ‘การศึกษากฎหมายและมาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อส่งเสริมธุรกิจสีเขียว’ <https://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/6cc727e5-5466-4595-8043-0c5679eaa6a7/7670.aspx>สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564.
All I need to know about pets in Switzerland <https://www-ca--nextbank-ch.translate.oog/en/en/expat-switzerland/living/all-you-need-to-know-about-pets-in-switzerland.html?_x_ tr_sl=auto&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl =th+&_x_tr_pto=op> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.
Community Law, ‘Dogs: Care and control of your dog’ <https://www.legislation.govt.nz/act/public /1996/0013/latest/ DLM374410. html> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.
Keeping pets in Switzerland <https://www-expatica-com.translate.goog/ch/living/family/pets-in-switzerland-106961/?_x_tr_sl=auto&_ x_tr_tl =th &_ x_tr_hl=th&_x_tr_pto=wapp.>สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565.