ความแตกต่างระหว่าง "การแสดงเจตนา" และ "นิติกรรม" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Main Article Content

ภัทร์ไพบูลย์ โชติวิทิตธำรง

Abstract

บทความนี้มุ่งที่จะศึกษาว่า “การแสดงเจตนา” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ลักษณะ 4 หมวด 2 กับ “นิติกรรม” ว่าแท้จริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกัน หรือ “การแสดงเจตนา” เป็นองค์เพียงประกอบหนึ่งของนิติกรรมตามมาตรา 149 โดยศึกษาจากร่างต้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และศึกษาพัฒนาการทางความคิดและหลักกฎหมายว่าด้วยการแสดงเจตนาที่ไม่สมบูรณ์และนิติกรรมของกฎหมายแพ่งเยอรมันโดยศึกษาจากร่างต้น ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และศึกษาพัฒนาการทางความคิดและหลักกฎหมายว่าด้วยการแสดงเจตนา   ที่ตกเป็นโมฆะและนิติกรรมของกฎหมายแพ่งเยอรมันจากการศึกษาพบว่าผู้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันถือว่านิติกรรม (Rechtsgeschäft) และการแสดงเจตนา (Willenserklärung) มีความหมายเหมือนกันในลักษณะคำพ้องความหมาย ส่วนตำรากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอธิบายในเรื่องดังกล่าวไม่ชัดเจนว่าถ้อยคำว่า “การแสดงเจตนา” และ “นิติกรรม” มีความหมายเหมือนกันแต่เป็นที่เข้าใจว่าการแสดงเจตนาและนิติกรรมมีความหมายเหมือนกัน เนื่องจากตำราส่วนใหญ่อธิบายผลของการแสดงเจตนาโดยบกพร่องว่า “การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆะ” กับ “นิติกรรมตกเป็นโมฆะ” ในลักษณะสามารถใช้แทนกันได้ขึ้นอยู่กับการปรับบทกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงเสมือนว่ามีความหมายเดียวกัน ส่วนตำรากฎหมายบางเล่มอธิบายผลของการแสดงเจตนาโดยไม่มุ่งประสงค์ผูกพันว่า “ไม่ก่อเกิดเป็น         นิติกรรม” เสมือนว่า “การแสดงเจตนา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งของนิติกรรม จากการศึกษาผู้เขียนเห็นว่าน่าจะสื่อว่าไม่ก่อเกิดเป็นนิติกรรมตามมาตรา 149 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยมิได้หมายความว่าไม่ก่อเกิดเป็นนิติกรรมเลย ส่วนกรณีการแสดงเจตนาโดยไม่สมัครใจที่กฎหมายกำหนดให้การแสดงเจตนาตกเป็นโมฆียะ การแสดงเจตนาดังกล่าวก็ไม่เป็นนิติกรรมตาม 149 แต่ถือว่าเป็นนิติกรรมตามความเป็นจริงจากลักษณะการแสดงเจตนาที่ปรากฏออกมา ดังนั้นผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า “การแสดงเจตนา” ในตัวบทบรรพ 1 ลักษณะ 4 หมวด 2 กับคำว่า “นิติกรรม” เป็นสิ่งเดียวกันสามารถใช้แทนกันได้ตามบริบทการปรับบทกฎหมาย

Article Details

Section
Articles

References

จิ๊ด เศรษฐบุตร. หลักกฎหมายแพ่งลักษณะนิติกรรมและสัญญา, (ปรับปรุงโดย ดาราพร ถิระวัฒน์, พิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขและเพิ่มเติม, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

ไชยยศ เหมะรัชต, กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม, (พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขและเพิ่มเติม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2548).

ไชยยศ เหมะรัชต, กฎหมายว่าด้วยสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 2, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2525).

ปันโน สุขทรรศนีย์, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2514).

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์, คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 20 แก้ไขและเพิ่มเติม, วิญญูชน 2559).

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์, ถาม-ตอบ นิติกรรม-สัญญา (มูลหนี้ 1) (พิมพ์ครั้งที่ 5, วิญญูชน 2563).

ศักดิ์ สนองชาติ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา (พร้อมทั้งระยะเวลาและอายุความ) ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540) และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544). (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขและเพิ่มเติม, นิติบรรณการ 2551).

เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 1 ภาค 1-2 (ปรับปรุงแก้ไขโดย มุนินทร์ พงศาปาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 แก้ไขและเพิ่มเติม, วิญญูชน 2559).

เสริม วินิจฉัยกุล, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะนิติกรรมและหนี้ (นครหลวง: โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต 2515).

หยุด แสงอุทัย, กฎหมายแพ่งลักษณะมูลหนี้หนึ่ง (โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2517).

อนุมัติ ใจสมุทร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ว่าด้วยสัญญา (มาตรา 354 ถึง มาตรา 394) (แพร่พิทยา 2514).

อนุมัติ ใจสมุทร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรม (โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2510).

อักขราทร จุฬารัตน, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย นิติกรรมและสัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขและเพิ่มเติม, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2528).

อัครวิทย์ สุมาวงศ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรม สัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 7 แก้ไขและเพิ่มเติม, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2554).

Basil S Markesinis, Hannes Unberath, Angus C Johnston, The German law of contract a comparative treatise (2nd ed, hart publishing 2006).

Burkhard Boemke, BGB Allgemeiner Teil (2nd ed, Springer 2013).

Catharine MacMillan, Mistakes in contract law (hart publishing 2010).

Christian Fröde, Willenserklärung, Rechtsgeschäft und Geschäftsfähigkeit (Mohr Siebck 2012).

Detlef Leenen, BGB Allgemeiner Teil Rechtsgeschaftslehre (De Gruyter 2011).

Ernest J. Schuster, The principles of German civil law (Oxford Clarendon 1907).

Heinrich Honsell, Römisches Recht (8th edn, Springer 2015).

herausgegeben von, Mathias Schmoeckel, Joachim Rueckert, Reinhard Zimmermann, Historisch-kritischer Kommentar zum BGB Band I Allgermeiner Teil 1-240 (Mohr Siebck 2003).

P. D. V. Marsh, Comparative contract law England, France, Germany (Gower publishing 1994).

Thomas Zerres,Bürgerliches Recht Allgemeiner Teil, Schuldrecht, Sachenrecht, Zivilprozessrecht (Springer 2015).

Werner Flume,Allgemeiner Teil des Bürgerlichen Rechts Zweiter Band: Das Rechtsgeschäft (Springer 1992).