การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ประกอบด้วยการจัดเรียงตัวหนังสือหรือตัวเลข
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาความหมายและแนวคิดของการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในประเด็นและสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้การตีความในเรื่องลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวหนังสือหรือตัวเลขที่มีการจัดเรียง ตามมาตรา 7 วรรคแรกและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 โดยศึกษาจากแนวคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและคำพิพากษาของศาลเปรียบเทียบกับกฎหมายและแนวทางการใช้การตีความกฎหมายของต่างประเทศ อันได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยเฉพาะในประเด็นการรับจดทะเบียนเครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เพื่อความชัดเจนในการพิจารณาเครื่องหมายการค้าตัวหนังสือหรือตัวเลขที่จัดเรียงและอยู่ในขอบเขตเงื่อนไขของลักษณะบ่งเฉพาะที่เป็นวัตถุประสงค์ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า ทั้งนี้เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการใช้การตีความในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้กฎหมายเครื่องหมายการค้าของประเทศไทยสามารถให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงเครื่องหมายการค้าตัวหนังสือหรือตัวเลขที่จัดเรียง และสอดคล้องกับแนวทางการพิจารณาสากล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
หนังสือและบทความในหนังสือ
จักรกฤษณ์ ควรพจน์, กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยลิชสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2555).
ไชยยศ เหมะรัชตะ, ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักพิมพ์นิติธรรม 2548).
ธัชชัย ศุภผลศิริ, คำอธิบายกฎหมายเครื่องหมายการค้า คำอธิบายกฎหมายเครื่องหมายการค้า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (สำนักพิมนิติธรรม 2536).
วัส ติงสมิตร, คำอธิบายกฎหมายเครื่องหมายทางการค้า (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2545).
วิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
ชัชตะวัน อัมพร, ‘ปัญหาเกี่ยวกับผลแห่งการแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).
เดวิท พุ่มชนะโชคชัย, ‘เครื่องหมายที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง: ศึกษาปัญหา การใช้และการตีความกฎหมายของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง 2550).
อื่น ๆ
ภาษาไทย
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ 2544/2563
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 1280/2560
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 1856/2560
คู่มือการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ฉบับปี พ.ศ. 2565
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 7
ภาษาต่างประเทศ
Intellectual Property Australia, Trade Marks Manual of Practice and Procedure accessed 11 Jan 2022.
Intellectual Property Office Government of United Kingdom, Trademark Manual Examination Guide <https://www.gov.uk/guidance/trade-marks-manual/the-examination-guide> accessed 11 Jan 2022.
Japan Patent Office, Examination Guidelines for Trademark <https://www.jpo.go.jp/e/system/ laws/rule/guideline/trademark/kijun/index.html> accessed 11 Jan 2022.
Japanese Trademark Act 2014.