ผลผูกพันของข้อเสนอแนะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อรัฐสภา

Main Article Content

รจิตตรา นารถโคษา

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาถึงผลผูกพันของข้อเสนอแนะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อรัฐสภา โดยเฉพาะคำวินิจฉัยอันเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย นอกจากจะปรากฏส่วนต่าง ๆ อันเป็นองค์ประกอบโดยทั่วไปของคำวินิจฉัยแล้ว ยังปรากฏว่าได้มีการกำหนดข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้ในคำวินิจฉัยด้วย ทำให้เกิดปัญหาว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวซึ่งปรากฏในคำวินิจฉัยอันเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายผูกพันรัฐสภาหรือไม่ รวมถึงประเด็นปัญหาที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญสมควรมีอำนาจในการกำหนดข้อเสนอแนะในคำวินิจฉัยได้หรือไม่ อย่างไร


            ในประเด็นปัญหาทั้งสองประการดังกล่าว ผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวคิดของขอบเขตอำนาจที่ควรจะเป็นของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบรัฐสภา ทั้งในส่วนของแนวคิดการเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในทางลบ (Negative Legislator) หลักการจำกัดอำนาจตนเองขององค์กรตุลาการ (Judicial self-restraint) และแนวคิดการเป็นผู้ให้ความหมายสุดท้ายแก่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบรัฐสภานั้นมีขอบเขตที่จำกัดอยู่เช่นกัน รวมถึงเมื่อศึกษาถึงส่วนประกอบของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีส่วนที่ผูกพันและส่วนที่ไม่ผูกพันต่อรัฐสภา ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ข้อเสนอแนะ” ที่ปรากฏใน        คำวินิจฉัยนั้น เป็นส่วนที่ไม่ได้ผูกพันคู่ความในคดีหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศ อันได้แก่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ศาลรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐเกาหลี และกรณีของศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ก็มิได้มีการยอมรับว่าข้อเสนอแนะใน   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันฝ่ายนิติบัญญัติแต่ประการใด ดังนั้น ข้อเสนอแนะที่ปรากฏในคำวินิจฉัยของ   ศาลรัฐธรรมนูญย่อมเป็นส่วนที่ไม่มีผลผูกพันต่อคู่ความหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงย่อมไม่ผูกพันรัฐสภาให้ต้องปฏิบัติตามเช่นกัน และเมื่อพิจารณาถึงบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในทางลบ หลักการจำกัดอำนาจตนเองขององค์กรตุลาการ รวมถึงบทบาทการเป็นผู้ให้ความหมายสุดท้ายแก่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญก็พบว่าแนวคิดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงกรอบอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จำกัดอยู่เฉพาะการตีความบทบัญญัติกฎหมายที่ทำให้เกิดผลการวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่เสร็จเด็ดขาดและสามารถยุติข้อพิพาทในทางกฎหมายได้เท่านั้น ประกอบกับบริบททางการเมืองของประเทศไทยที่ยังคงมีประเด็นปัญหาในเรื่องของดุลอำนาจระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับรัฐสภาอยู่ ผู้เขียนจึงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ควรกำหนดข้อเสนอแนะไว้ในคำวินิจฉัย และควรทำหน้าที่เพียงการประกาศความถูกผิดของกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยไม่ไปก้าวล่วงถึงความเหมาะสมว่ากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้วควรแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ หรือควรมีเนื้อหาอย่างไร ส่วนการจัดทำข้อเสนอแนะของศาลนั้นควรอยู่ในลักษณะของการกำหนดระยะเวลาให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันสุญญากาศทางกฎหมาย ผู้เขียนจึงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญสามารถกำหนดข้อเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายในลักษณะดังกล่าวแก่รัฐสภาได้ โดยไม่ถือว่าก้าวล่วงดุลพินิจของฝ่ายนิติบัญญัติ


 

Article Details

Section
Articles

References

ภาษาไทย

ธีระ สุธีวรางกูร, คำวินิจฉัยและผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 1, ภาพพิมพ์ 2560).

บรรเจิด สิงคเนติ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, วิญญูชน 2563).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของศาลรัฐธรรมนูญ ต่างประเทศกับศาลรัฐธรรมนูญไทย (วิญญูชน 2546).

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 3, อ่านกฎหมาย 2564).

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, การเมืองอเมริกา (พิมพ์ครั้งที่ 10, เสมาธรรม 2552).

อานนท์ มาเม้า, ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 1, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2558).

ภาษาต่างประเทศ

Brewer Carias, Allan-Randolph, Constitutional courts as positive legislators: a comparative law study (Cambridge University Press 2011).

รายงานผลการวิจัย

ภาษาไทย

วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ‘การเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยและผลผูกพันของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษากรณีศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา และศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2550).

บทความวารสาร

ภาษาไทย

ชาย ไชยชิต, ‘แนวคิดว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญของ ฮันส์ เคลเซ่น’ (2564) 1 วารสารรัฐศาสตร์นิเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1.

ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ‘ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันกับหลักการจำกัดอำนาจตนเองของฝ่ายตุลาการ’ (2557) 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 100.

วรรณา สุพรรณธะธิดา, ‘ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้’ (2551) 28 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 82.

ภาษาต่างประเทศ

Jin - Su Yune, ‘Recent Decisions of the Korean Constitutional Court on Family Law’ (2001) 1 Journal of Korean Law 133.

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

พิชชาพร สุทธิรอด, ‘การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย : ศึกษาเปรียบเทียบระบบกฎหมายอเมริกันและระบบกฎหมายเยอรมัน’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

‘การเมือง โครงสร้างทางการเมืองของสหรัฐฯ’ (เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน)<https://thaiembdc.org/th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/> สืบค้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565.