นิติกรรมที่มีองค์ประกอบเรื่องภาษาซึ่งผู้แสดงเจตนาหรือคู่กรณีไม่คุ้นเคยเข้ามาเกี่ยวข้อง

Main Article Content

ฐานะปราชญ์ รัชนกุล

Abstract

บทความฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการใช้และตีความกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ไม่รู้หนังสือในความหมายว่าผู้ที่แสดงเจตนาโดยไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายเกี่ยวด้วยความคุ้มครองความต้องตรงกันระหว่างเจตนาแท้จริงภายในใจกับเจตนาที่แสดงออก ของกฎหมายอังกฤษ กฎหมายออสเตรเลีย และ Draft Common Frame of Reference (DCFR) ซี่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และความคุ้มครองเจตนาแท้จริงของผู้ไม่รู้หนังสือ โดยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยเพื่อคุ้มครองผู้ไม่รู้หนังสือต่อไป


การดำเนินนโยบายเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของประเทศไทย เป็นผลให้คนต่างด้าวต่างเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยมากขึ้นและยังคงดำเนินต่อไปในอนาคตด้วยอัตราที่รวดเร็วและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่คนชาติไทยก็ดี หรือคนต่างด้าวซึ่งทำนิติกรรมในประเทศไทยก็ดีจะแสดงเจตนาทำนิติกรรมไปด้วยความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากเจตนาแท้จริงภายในใจ ด้วยเพราะความไม่รู้ไม่ชำนาญในการสื่อสารหรือเข้าใจลายลักษณ์อักษรภาษาอื่น นิติกรรมที่มีองค์ประกอบเรื่องภาษาซึ่งผู้แสดงเจตนาหรือคู่สัญญาไม่คุ้นเคยจึงเป็นรูปแบบนิติกรรมที่ปรากฏเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย


ความคุ้มครองการแสดงเจตนาในกรณีนิติกรรมที่มีองค์ประกอบเรื่องภาษาซึ่งผู้แสดงเจตนาหรือคู่สัญญาไม่คุ้นเคยนอกจากเรื่องความบกพร่องในการแสดงเจตนาแล้ว ในกรณีที่เจตนาแท้จริงภายในใจกับเจตนาที่แสดงออกของผู้แสดงเจตนาไม่ต้องตรงกันแต่หากผู้รับการแสดงเจตนารู้หรือควรรู้เจตนาแท้จริงภายในใจของผู้แสดงเจตนา กรณีดังกล่าวเรียกว่า falsa demonstration non nocet หมายถึง การแสดงเจตนาผิดพลาดเล็กน้อย เช่น พูดผิดไป แสดงเจตนาผิดพลาดไป ซึ่งไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนา และไม่ทำให้การแสดงเจตนาเสื่อมเสียไป นิติกรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ปราศจากความบกพร่องในการแสดงเจตนา ซึ่งกรณีดังกล่าวพบได้มากในนิติกรรมซึ่งมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ดังเช่นนิติกรรมซึ่งมีองค์ประกอบเรื่องภาษาซึ่งผู้แสดงเจตนาหรือคู่สัญญาไม่คุ้นเคยเข้ามาเกี่ยวข้อง

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง, นิติกรรม สัญญา และคำมั่น (พิมพ์ครั้งที่ 1, วิญญูชน 2565) .

พินัย ณ นคร, หลักกฎหมายสัญญาของประเทศอังกฤษ (อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ นุกุล ณ นคร,บริษัท เพรส มีเดีย จำกัด 2542) .

ภาษาต่างประเทศ

Edwin Peel, Treitel on The Law of Contract (14th edition. Sweet & Maxwell, 2015).

Hein Kötz, trans, Gill Mertens and Tony Weir, European Contract Law (2nd Edition, Oxford University press 2016).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

จิณณวัตร สันติกุญชร, ‘การควบคุมการทำสัญญาโดยอาศัยพฤติการณ์อ่อนแอของคู่สัญญา’(วิทยานิพนธ์นิติศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562).

บทความ

ภาษาไทย

ขวัญชิดา กระชั้น, ณภัคอร ปุณยภาภัสสร และธีทัต ตรีศิริโชติ 'แนวทางการพัฒนาทักษะแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือของสถาน ประกอบการสำหรับอุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก' (2565) 2 วารสาร LawarathSocialE –Journa 72 <https://so04.tci thaijo.org/index.Php/ lawarathjo/issue/view/17471/4430> สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

อื่นๆ

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ ปรกติ, ‘เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา’.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561- พ.ศ. 2580 2565 <https://image.mfa.go.th/mfa/0/mkKfL2iULZ/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.pdf > สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566.

ชนนาถ นิตะโยและคณะ, ‘เปิดข้อเท็จจริงแรงงานต่างด้าวในไทย’ <https://www.pier.or.th/abridged/2020/14/>สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

'Thailand Migration Report 2019' (reliefweb, 25 January 2019) <https://reliefweb.int/report/thailand/thailand-migration-report-2019-enth> สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565.