มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว
Main Article Content
Abstract
สืบเนื่องจากภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น นานาชาติที่เข้าร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สมัยที่ 26 (COP26) จึงวางเป้าหมายร่วมกันว่าจะบรรลุเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อจัดการกับปัญหาภาวะโลกร้อน จึงนำมาซึ่งการกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของหลายประเทศโดยเฉพาะสมาชิกสหภาพยุโรปที่ได้กำหนดมาตรการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนเข้าพรมแดน (CBAM) สำหรับสินค้าบางประเภท การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นข้ออุปสรรคและกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจส่งออกของประเทศไทยโดยตรง บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อขจัดข้ออุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศในอนาคตและเพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบธุรกิจของไทยในการเปลี่ยนผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยศึกษารูปแบบการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบของกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียวในประเทศไทย
ผลจากการศึกษาพบว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี ต่างมีการออกกฎหมายที่เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม โดยสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีนออกกฎหมายที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นหลัก ส่วนสาธารณรัฐเกาหลีออกกฎหมายสำหรับการสร้างการเติบโตสีเขียวและคาร์บอนต่ำที่มีลักษณะขอบเขตกว้างกว่าและครอบคลุมการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักการทั่วไปของเศรษฐกิจสีเขียวที่ครอบคลุมการดำเนินงานของทั้งเศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวคือ แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางในการจัดการและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรวมถึงการแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียงนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) หรือเรียกว่า “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มีความต่อเนื่องและสามารถบังคับใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ประเทศไทยจึงควรมีกรอบของกฎหมายที่ครอบคลุมการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินการให้ชัดเจน โดยควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ กำหนดบทบาทความร่วมมือของแต่ละภาคส่วนของสังคม เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตลอดจนกำหนดรูปแบบมาตรการทางกฎหมายสำหรับส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการสร้างแรงจูงใจและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เอื้อต่อการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG และกำหนดมาตรการลงโทษสำหรับผู้หลอกลวงหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการฟอกเขียว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
หนังสือ
ภาษาไทย
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, ‘การประชุม Rio+20: ความหวัง (อีกครั้ง) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน’ ใน สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ผู้แต่ง) จับกระแส Rio+20 สู่สังคมไทย (บริษัท ทีคิวพี จำกัด 2555)
ยุวดี คาดการณ์ไกล, เศรษฐกิจกับสิ่งแวดล้อมจีน สู่สมดุลใหม่แห่งการพัฒนา?, (ล็อกอินดีไซน์เวิร์ค 2555)
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ และคณะ, ‘โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนามาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว’(สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ควรรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 1, สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 2562).
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ภาษาไทย
ณัฐพันธ์ ศุภกา, ‘Biomimicry นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ’ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ 32-36 <http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/TN213B_p32-36.pdf> สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564
พิชณุตม์ ฤกษ์ศุภสมพล, ‘ภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน จุดเปลี่ยนการค้าโลก ผลกระทบและความท้าทาย’ (2565) 1 <https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_15Feb2022.pdf > สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2565
เมย์ ทาซิน ออง, ‘มองเศรษฐกิจชีวภาพในประเทศไทย’ สถาบันสิ่งแวดล้อมสต็อคโฮล์ม (2021)< https://cdn.sei.org/wp-content/uploads/2021/05/thbioeco-th-v3.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, ‘ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน’ <https://www.boi.go.th/index.php?page=eligible_activities>สืบค้นเมื่อ28 พฤศจิกายน 2564
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy 2562 < https://www.mhesi.go.th/images/STBookSeries/BS005Bioeconomy.pdf>สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2564.
สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาพผู้แทนราษฎร, เศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) 2562 < https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php> สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564.
สกล หาญสุทธิวารินทร์,’CBAM มาตรการลดโลกร้อนของ EU ที่ผู้ส่งออกต้องเตรียมตัว’ (2564) คอลัมนิสต์ กรุงเทพธุรกิจ <https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/963866>สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2565
โสภารัตน์ จารุสมบัติ, นิตยา โพธิ์นอก และจารุพล เรืองสุวรรณ, ‘เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว’ ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว <https://progreenecon.files.wordpress.com/2019/10/pro-green-booklet-e0b980e0b8aae0b989e0b899e0b897e0b8b2e0b887e0b980e0b8a8e0b8a3e0b8a9e0b890e0b881e0b8b4e0b888e0b8aae0b8b5e0b980e0b882e0b8b5e0b8a2e0b8a7.pdf>สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 63
อนิน อรุณเรืองสวัสดิ์, ‘ตัวชี้วัดเศรษฐกิจสีเขียว’ ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 63
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), ‘หลักการและแนวคิด>เศรษฐกิจหมุนเวียนคือไร’ < http://carbonmarket.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y2VfaXM= >สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
ภาษาต่างประเทศ
Ellen MacArthur Foundation, ‘TOWARDS A CIRCULAR ECONOMY: BUSINESS RATIONALE FOR AN ACCELERATED TRANSITION’ (2015) the Ellen MacArthur Foundation 5.
Global Bioeconomy Summit 2020, ‘History-Global Bioeconomy Summit 2015’ <https://gbs2020.net/about/conference/>สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563
Global Green Growth Institute, ‘Korea’s Green Growth Experience: Process, Outcomes and Lessons Learned’ 10 <https://gggi.org/report/koreas-green-growth-experienceprocess-outcomes-and-lessons-learned/ > สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564.
Joachim von Braun, ‘Bioeconomy and sustainable development-dimensions’ <https://scholar.google.com/scholar_lookup?title=Bioeconomy%20and%20sustainable%20development%20%E2%80%93%20dimensions&author=J.%20Braun&journal=Rural&volume=21&issue=2&pages=6-9&publication_year=2014>สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564
World Economic Forum, ‘From linear to circular—Accelerating a proven concept’ <https://reports.weforum.org/toward-the-circular-economy-accelerating-the-scale-up-across-global-supply-chains/from-linear-to-circular-accelerating-a-proven-concept/> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564.
บทความ
ภาษาไทย
พีรพล เจตโรจนานนท์, ‘กฎหมายส่งเสริมยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตสีเขียวและคาร์บอนต่ำ: ศึกษาแบบอย่างของสาธารณรัฐเกาหลี’ (2555) 52 3 วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ < https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NDJ/article/view/5172/4541 > สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2564.
สิริลัคน์ สุบงกฎ, ‘มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์’ (2019) 12 3 วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ < https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gradlawtujournal/article/download/139459/151321/> สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564.
ภาษาต่างประเทศ
D.D’Amato et al., ‘Circular, Green, and Bio Economy: How Do Companies in Land-Use Intensive Sectors Align with Sustainability Concepts?’ (2019) 158 Ecological Economics 116 สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564.
--, ‘Green, circular, bio economy: A comparative analysis of sustainability avenues’ (2017) 168 Journal of Cleaner Production 716 <https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/
S0959652617320425/pdfft?md5=12df300e7689ed412b46091089295b83&pid=1-s2.0-S0959652617320425-main.pdf>สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564.
Dara O'Rourke, Lloyd Connelly, Catherine Koshland, ‘industrial ecology: a critical review’ (1996) 6 International Journal of Environment and Pollution, 89 <https://www.researchgate.net/ profile/Dara-Orourke/publication/255598523_Industrial_Ecology_A_ Critical_Review /links/0a85 e53a09fd3de4f2000000/Industrial-Ecology-A-Critical-Review.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564.
Global Green Growth, ‘Korea’ s Green Growth Experience: Process, Outcomes and Lessons Learned’ <https://www.greengrowthknowledge.org/sites/default/files/downloads/resource/Koreas-Green-Growth-Experience_GGGI.pdf >สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564.
John A. Mathews and Hao Tan, ‘Progress toward a circular economy in China’ (2011) 15 Journal of Industrial Ecology 438 <https://www.researchgate.net/profile/Hao-Tan-15/publication/263564739_Progress_Toward_a_ Circular_Economy_in_China/links/ 5ff83b0d299bf140887e0b68/Progress-Toward-a-Circular-Economy-in-China.pdf > สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564
Regina Birner, ‘Bioeconomy Conecept’ (2018) Springer 18-19 <https://link.springer.com/chapter/10. 1007/978-3-319-68152-8_3> สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2564.
Ren Yong, ‘The circular economy in China’ (2007) Journal of Mater Cycles Waste Manag 121-129 <https://link.springer.com/ article/10.1007/s10163-007-0183-z> สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564
Thibaut Wautelet, ‘The Concept of Circular Economy: its Origins and its Evolution’ (2018) <https://www.researchgate.net/profile/Thibaut-Wautelet/publication/322555840_The_ Concept_of_Circular_Economy _its_Origins_and_its_Evolution/links/5a5fcd1a458515b4377b840c/The-Concept-of-Circular-Economy-its-Origins-and-its-Evolution.pdf>สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563
UESCAP, ‘Low Carbon Green Growth Roadmap for Asia and the Pacific: Case Study - Republic of Korea's Framework Act on Low Carbon, Green Growth’ สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564.
ประกาศและคำสั่ง
ภาษาไทย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ‘แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.2564-2570’ 1< https://www.bcg.in.th/bcg-action-plan/> สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2565.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ‘ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (พ.ศ. 2564-2569)’ <https://www.bcg.in.th/bcg-strategy-2564-2569/>สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2565.
คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model, รายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2565 (19 มกราคม 2565).
--, การประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2565 (7 กุมภาพันธ์ 2565).
คำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขากฎหมาย (16 กุมภาพันธ์ 2564) <https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/order2564-01-law.pdf> สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564.
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 325/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริการการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) และ คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model (19 ตุลาคม 2563).
มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ นร 0505/ว42 (21 มกราคม 2564).