สิทธิติดต่อกับบุตร: ศึกษากรณีบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือความสัมพันธ์ในความเป็นจริงกับบุตรที่มีสถานะที่คล้ายคลึงหรือเสมือนกับบิดามารดา

Main Article Content

สิรภัทร พูลสงวน

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาเรื่อง “สิทธิติดต่อกับบุตร” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584/1 ซึ่งกำหนดให้บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ส่งผลให้บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือความสัมพันธ์ในความเป็นจริงกับบุตรที่มีสถานะที่คล้ายคลึงหรือเสมือนกันกับบิดามารดาไม่มีสิทธิติดต่อกับบุตร เช่น บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดามารดาเลี้ยง ผู้บริจาคไข่ อสุจิ หรือตัวอ่อน หรือหญิง
ที่ตั้งครรภ์แทน คู่รักเพศเดียวกัน เป็นต้น รวมถึงบทบัญญัติดังกล่าวยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าผู้มีสิทธิติดต่อกับบุตรควรมีขอบเขตในการติดต่อกับบุตรมากน้อยเพียงใดเพื่อไม่ให้กระทบต่ออำนาจปกครองบุตรหรือกระทบอำนาจปกครองบุตรน้อยที่สุด และการติดต่อกับบุตรนั้นจะต้องเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เด็กด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้บัญญัติหลักการหรือแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับขอบเขตของสิทธิติดต่อกับบุตร วิธีการใช้สิทธิติดต่อกับบุตร
และเรื่องหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กไว้เลย ดังนั้น ทำให้เมื่อเกิดข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิติดต่อกับบุตร ในการพิจารณาขอบเขตสิทธิติดต่อกับบุตร รวมถึงวิธีการใช้สิทธิติดต่อกับบุตร จึงต้องนำกฎหมายอื่น นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาเป็นเครื่องมือเพื่อให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดี และอาจมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาเพื่อประเมินสถานการณ์ว่าเห็นสมควรให้บุคคลที่ประสงค์จะติดต่อกับบุตรมีสิทธิติดต่อกับบุตรหรือไม่และมีขอบเขตเพียงใด


ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้ใช้วิธีศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมันในเรื่องสิทธิติดต่อกับบุตร อำนาจปกครองบุตร และประโยชน์สูงสุดของเด็ก ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมันก็ได้มีการบัญญัติให้บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือความสัมพันธ์ในความเป็นจริงกับบุตรที่มีสถานะที่คล้ายคลึงหรือเสมือนกันกับบิดามารดา มีสิทธิติดต่อกับบุตรได้ เช่น บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดามารดาเลี้ยง คู่รักเพศเดียวกัน เป็นต้น โดยในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิติดต่อกับบุตร กฎหมายของทั้งสองประเทศก็มีการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นการบัญญัติหลักเกณฑ์ มาตรการ ข้อจำกัดสิทธิติดต่อกับบุตรและระดับความเข้มงวดในการติดต่อกับบุตร หลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก รวมถึงหลักความยินยอมของเด็ก มีการกำหนดให้ศาลต้องรับฟังเด็กก่อน เพื่อให้ศาลสามารถพิจารณาขอบเขตของสิทธิติดต่อกับบุตรได้อย่างเหมาะสม จาการศึกษาเปรียบเทียบ บทความนี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยบัญญัติให้บุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือความสัมพันธ์ในความ
เป็นจริงกับบุตรที่มีสถานะที่คล้ายคลึงหรือเสมือนกันกับบิดามารดามีสิทธิติดต่อกับบุตรได้แบบมีเงื่อนไข รวมถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ควรมีการบัญญัติหลักเกณฑ์ มาตรการ ข้อจำกัดสิทธิติดต่อกับบุตรที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการติดต่อกับบุตร มีการกำหนดระดับความเข้มงวดในการติดต่อกับบุตร หลักเกณฑ์ในการพิจารณาถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก การกำหนดเกณฑ์อายุที่เด็กจะให้ความยินยอม อีกทั้ง เห็นสมควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  โดยเฉพาะในคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย ต้องมีการกำหนดให้ศาลต้องรับฟังเด็กก่อน เพื่อให้ศาลพิจารณาขอบเขตในการติดต่อกับบุตรได้อย่างเหมาะสม

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายกฎหมายครอบครัว, (พิมพ์ครั้งที่ 22, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2559).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว, (พิมพ์ครั้งที่ 8, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ,คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว, (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563).

รัศฎา เอกบุตร, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว: บิดามารดากับบุตร

เรียงมาตรา (พิมพ์ครั้งที่ 1, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552).

วิเศษ อ่อนตา, คำอธิบายพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนแลครอบครัว

พ.ศ. 2553 พร้อมด้วยระเบียบและวิธีการปฏิบัติงานและข้อสังเกต (พิมพ์ครั้งที่ 1 ร้านสวัสดิการหนังสือกฎหมาย “ปณรัชช” 2556).

สหรัฐ กิติ ศุภการ, คำอธิบายพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนแลครอบครัว พ.ศ. 2553 (พิมพ์ครั้งที่ 4 (ปรับปรุงใหม่ 2563), สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง 2562).

รายงานผลการวิจัย

ภาษาไทย

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, ‘หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มธ. 2561).

บทความ

ภาษาไทย

ชัยยุทธ ศรีจำนงค์, ‘คดีครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย’ 53<https://repository.au.edu/server/api/core/bitstreams/e8a3db88-37f0-4547-8094-0fe4aab2c86a/content> สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566.

ภาษาต่างประเทศ

Andreas T. Hanke, ‘Custody and Visitation Rights in Germany After the Decisions of the European Court on Human Rights’ (2011) Vol.45 No.3 Family Law Quarterly สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565.

ANNE GOODWIN, ‘Determination of Legal Parentage in egg donation, Embryo Transplantation, and Gestational Surrogacy Arrangement’ (1992) Vol.26 No.3 Family Law Quarterly <http://www.jstor.com/stable/25739911> สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565.

CHISTA WIERTZ-WEZENBEEK, ‘Visitation Rights of Nonparents and Children in England and the Netherlands’ (1997) Vol. 31 No. 2 Family Law Quarterly <http://www.jstor.org/stable/257 40127> สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565.

Jeff Atkinson, ‘It all comes down to the best interest of the child’ (1990) Vol.12 No.3 Family Advocate, <https://www.jstor.org/stable/25804756> accessed 6 June 2021.สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565.

CARLA GARRITY and MITCHELL A. BARIS, ‘Custody & Visitation: Is It Safe? How to protect a child from an abusive parent’ (1995) Vol.17 No.3 Family Advocate <https://www.jstor.org/stable/25805701> สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565.

Nina Dethloff and Dieter Martiny, ‘Parental Responsibilities’ National Report: Germany สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566.

Russell Miller and Volker Röben, ‘Constitutional Court Upholds Lifetime Partnership Act’ (2002) 3 German Law Journal <http://www.germanlawjournal.com/index.php?pageID=11&artID=176> สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565.

คำพิพากษา

ภาษาต่างประเทศ

Anayo v. Germany App no 20578/07 (ECtHR, 21 March 2011).

Johnson v. Calvert, 5 Cal.4th 84, 19 Cal. Rptr. 2d 494, 851 P.2d 776 (Cal. 1993).

บล็อกและเว็บไซต์

ภาษาไทย

กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ, ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก’ (mfa.go.th) <https://humanrights.mfa.go.th/th/kids/72/> สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566.

ภาษาต่างประเทศ

——‘Convention on the Rights of the Child’ (United Nations Treaty Collection) <https://treaties.un.org/pages/ViewDetails.aspx?src=IND&mtdsg_no=IV-11&chapter=4&clang=_en> สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566.

——‘LGBTQ Adoption and foster care parenting in California’ (Family Equality Council)

<https://www.familyequality.org/wp-content/uploads/2019/03/5-California-Snapshot.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566.

——‘Surrogacy in Germany’ (surrogacybypons, 11 March 2019) สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2566.

California Courts The Judicial Branch of California, ‘Parenting Plans’ (courts.ca.gov) accessed 12 April 2020.สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566.

Gesley,Jenny, ‘Germany: Right to Know Biological Father for Children Conceived Through Sperm Donation’ (Library of congress, 2017) <https://www.loc.gov/item/global-legal-monitor/2017-07-27/germany-right-to-know-biological-father-for-children-conceived-through-sperm-donation/> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565.

Hossein Berenji, ‘What are the rights of unmarried fathers in California?’ (Berenji & Associates Family Law Attorneys),<https://www.berenjifamilylaw.com/what-are-the-rights-of-unmarried-fathers-in-california/> สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566.

Paul Wallin, ‘Do Sperm Donors Have Parental Rights?’ (Wallin&Klarich a Law Corporation,16 May 2013) <https://www.wkfamilylaw.com/do-sperm-donors-have-parental-rights-california-family-code-sections-7611-and-7613/> สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566.