อายุความฟ้องคดีอาญา: ศึกษาอุปสรรคในการฟ้องคดีทางข้อกฎหมายและทางข้อเท็จจริง

Main Article Content

ธีรเจต สกนธวัฒน์

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาเรื่องอุปสรรคในการฟ้องคดีทางข้อกฎหมายและทางข้อเท็จจริงซึ่งมีผลต่ออายุความฟ้องคดีอาญา เนื่องจากการฟ้องคดีอาญาตามกฎหมายประเทศไทยในทุกฐานความผิดจะมีอายุความกำกับไว้เสมอ อย่างไรก็ตาม การฟ้องคดีหรือการร้องทุกข์ที่มีผลทำให้การนับอายุความสิ้นสุดลงอาจไม่สามารถดำเนินการในระหว่างอายุความได้ตลอดเวลา เพราะอาจเกิดปัญหาเมื่อมีบทบัญญัติหรือขั้นตอนทางกฎหมายบางประการซึ่งมีผลเป็นอุปสรรคทำให้การเริ่มต้นหรือดำเนินการฟ้องคดีหรือร้องทุกข์ไม่สามารถกระทำได้ ในขณะที่อุปสรรคในการฟ้องคดีบางประการก็อาจเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีนั้นหรือจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาภายหลังในระหว่างอายุความ ซึ่งอุปสรรคทั้ง 2 ประเภทมีความเสี่ยงที่จะทำให้การฟ้องคดีหรือการร้องทุกข์ไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในกำหนดอายุความ หรือ ทำให้อายุความเหลือน้อยเกินไปจนไม่สามารถเตรียมการฟ้องคดีหรือร้องทุกข์ได้อย่างเหมาะสม ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้จึงใช้วิธีการศึกษาจากหลักกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องอายุความฟ้องคดีและสถานะ
ของบุคคลที่ไม่อาจฟ้องร้องคดีได้ และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และอินเดีย ประกอบกับการศึกษามาตรการเกี่ยวกับอายุความของประเทศไทยเท่าที่มีการบัญญัติไว้อยู่แล้ว เพื่อวิเคราะห์ว่าการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทยยังมีอุปสรรคในการฟ้องคดีประการใดอยู่หรือไม่และสมควรใช้มาตรการเกี่ยวกับอายุความแบบใดจึงจะเหมาะสม โดยผลการวิเคราะห์พบว่ากฎหมายต่างประเทศทั้ง 4 ประเทศ ล้วนกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอุปสรรคในการฟ้องคดีและมาตรการเกี่ยวกับอายุความไว้ทั้งสิ้น โดยมีทั้งการบัญญัติกฎหมายที่ระบุข้อเท็จจริงที่เป็นอุปสรรคไว้ชัดเจนโดยเฉพาะและระบุเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป ในขณะที่กฎหมายประเทศไทยก็มีมาตรการเกี่ยวกับอายุความสำหรับอุปสรรคในการฟ้องคดีเช่นกันโดยมีแนวโน้มที่จะขยายอายุความออกไป
เพียงเท่าที่จำเป็น แต่ระบุไว้ในกฎหมายเฉพาะบางฉบับซึ่งจำกัดทั้งประเภทคดีและประเภทของอุปสรรคที่จะนำไปปรับใช้ ไม่ใช่หลักเกณฑ์ที่ใช้ได้ทั่วไปแบบเดียวกับกฎหมายต่างประเทศ ดังนี้ ผู้เขียนจึงเสนอว่า กฎหมายประเทศไทยควรบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอุปสรรคในการฟ้องคดีไว้เป็นการทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่กำหนดเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญา โดยการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับอายุความสำหรับอุปสรรคทางข้อกฎหมายจะต้องมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปสรรคทางข้อกฎหมายว่าระยะเวลาในการดำรงอยู่ของอุปสรรคนั้นชัดเจนแน่นอนหรือไม่และอุปสรรคนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของการดำเนินคดีอาญา ในขณะที่การกำหนดมาตรการเกี่ยวกับอายุความสำหรับอุปสรรคทางข้อเท็จจริงควรที่จะกำหนดระดับความร้ายแรงของอุปสรรคไว้ที่ระดับเหตุสุดวิสัยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในการฟ้องคดีหรือร้องทุกข์จะต้องมีความระมัดระวังในการเร่งรัดดำเนินคดี และควรขยายอายุความออกไปเพียงเท่าที่จำเป็น เว้นแต่กรณีที่อุปสรรคทางข้อเท็จจริงซึ่งเทียบเท่าเหตุสุดวิสัยนั้นจะเกิดขึ้นจากการกระทำของผู้กระทำความผิดโดยอาศัยประโยชน์จากการที่ผู้เสียหายเป็นผู้หย่อนความสามารถ ก็สมควรที่จะกำหนดมาตรการเกี่ยวกับอายุความที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายมากขึ้นและเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดด้วย

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอน

ก่อนการพิจารณา (พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักพิมพ์ พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) 2553).

คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 8, วิญญูชน 2555).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6, วิญญูชน 2560).

จิตติ ติงศภัทิย์, กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10, ห้างหุ้นส่วนจำกัด จิรรัชการพิมพ์ 2546).

สมพร พรหมหิตาธร และ ศรีนิดา พรหมหิตาธร, อายุความ แพ่ง – อาญา คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

(พิมพ์ครั้งที่ 8, นิติธรรม 2559).

สำนักงานศาลปกครอง, แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2552) (pdf, สำนักงานศาลปกครอง 2553).

ภาษาต่างประเทศ

Bryan A. Garner, Black’s Law Dictionary (9th ed., Thomson Reuters 2009).

Gabriele Cirener and others, Strafgesetzbuch Leipziger Kommentar Sechster Band §§ 69 bis 79b(13., neu bearbeitete Auflage, De Gruyter, 2020).

Philippe Conte and others, Code de procedure penale 2020 (32nd ed, Paris : LexisNexis 2019).

Ratanlal Ranchhoddas, Thakore Dhirjlal Keshavlal and Manohar V. R., Ratanlal & Dhirajlal's the Code of Criminal Procedure (Updated 19th enlarged edition, Gurgaon, India :LexisNexis Butterworths Wadhwa Nagpur, 2013).

Ruth A. Kok, Statutory limitations in international criminal law (T.M.C. Asser Press 2007).

บทความ

ภาษาไทย

ตามพงศ์ ชอบอิสระ, ‘ปัญหาการกำหนดอายุความในคดีอาญา’ (2554) 1 วารสารนิติศาสตร์ 109.

ปกป้อง ศรีสนิท, ‘หลักการใช้บังคับทันทีของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา’ ใน วีรวัฒน์ จันทโชติ และคณะ (บรรณาธิการ) ที่ระลึก 60 ปี พี่ใหญ่ ใจหาญ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา 2561).

ประธาน วัฒนวาณิชย์, ‘ระบบความยุติธรรมทางอาญา : แนวความคิดเกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรม

และกระบวนการนิติธรรม’ (2520) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 142.

ภาษาต่างประเทศ

Benjamin West Janke, ‘Revisiting Contra Non Valentem in Light of Hurricanes Katrina and Rita’ (2008) 68 Louisiana Law Review 497.

Benjamin West Janke and Francois-Xavier Licari, ‘Contra Non Valentem in France and Louisiana: Revealing the Parenthood, Breaking a Myth’ (2011) 71 Louisiana Law Review 503.

Editors, ‘The Statute of Limitations in Criminal Law : A Penetrable Barrier to Prosecution’ (1954) 102 University of Pennsylvania Law Review 630.

Kevin Foley, ‘Availability of Tolling in A Presidential Prosecution’ (2020) 168

University of Pennsylvania Law Review 1789.

Meghan L. Downey, ‘Extraordinary Circumstances and Extraordinary Writs: Equitable Tolling During the COVID-19 Pandemic and Beyond’ (2022) 27 Berkeley Journal of Criminal Law 31.

Nicole D. Mariani, ‘Hiding in Plain Language: A Solution to the Pandemic Riddle of a Suspended Grand Jury, an Expiring Statute of Limitations, and the Fifth Amendment’ (2022) 76 University of Miami Law Review 983.

P.G. Barton, ‘Why Limitation Periods in the Criminal Code?’ (1997) 40 Criminal Law Quarterly 188.

Rinat Kitai-Sangero, ‘Between Due Process and Forgiveness : Revisiting Criminal Statutes of Limitations’ (2013) 61 Drake Law Review 423.

รายงานผลการวิจัย

ภาษาไทย

ประเทือง ธนิยพล และคณะ, ‘การสืบค้นแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดอายุความทางอาญาในบริบทสังคมไทย’

(รายงานผลการวิจัยเสนอต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2550).

รายงานการประชุม

ภาษาไทย

ASSEMBLÉE NATIONALE, RAPPORT FAIT AU NOM DE LA COMMISSION DES LOIS CONSTITUTIONNELLES, DE LA LÉGISLATION ET DE L’ADMINISTRATION GÉNÉRALE DE LA RÉPUBLIQUE SUR LA PROPOSITION DE LOI (n° 2931) portant réforme de la prescription en matière pénale (2 March 2016) <https://www.assemblee-nationale.fr/14/rapports/r3540.asp> สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565.

ASSEMBLÉE NATIONALE, RAPPORT FAIT AU NOM DE LA COMMISSION DES LOIS CONSTITUTIONNELLES, DE LA LÉGISLATION ET DE L’ADMINISTRATION GÉNÉRALE DE LA RÉPUBLIQUE SUR LA PROPOSITION DE LOI, MODIFIÉE PAR LE SÉNAT, EN DEUXIÈME LECTURE (n° 4135), portant réforme de la prescription en matière pénale (14 December 2016) <https://www.assemblee-nationale.fr/14/rapports/r4309.asp> สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565.

Bulletin officiel du ministère de la Justice, Circulaire du 28 février 2017 présentant les dispositions de la loi n° 2017-242 du 27 février 2017 portant réforme de la prescription en matière pénale. NOR : JUSD1706599C (Bulletin officiel du ministère de la Justice, 31 March 2017) 4 <http://www.textes.justice.gouv.fr/art_pix/JUSD1706599C.pdf>สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2563.

SÉNAT, Proposition de loi portant réforme de la prescription en matière pénale Rapport n° 8 (2016-2017) (5 October 2016) <http://www.senat.fr/rap/l16-008/l16-008.html> accessed 15 September 2022.สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2565

คำพิพากษา

ภาษาไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6371/2553.

ภาษาต่างประเทศ

Cour de Cassation, Chambre criminelle, du 23 décembre 1999, 99-86.298

<https://www.legifrance.gouv.fr/juri/id/JURITEXT000007069357/> สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565.

Cour de Cassation, Assemblée plénière, 7 novembre 2014, 14-83.739

<https://www.legifrance.gouv.fr/juri/id/JURITEXT000029740771/> สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565.

เอกสารอื่น ๆ

ภาษาไทย

อัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, ‘อายุความในคดีอาญา’ (สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)

<http://www.krirk.ac.th/new/faculty/law/ThaiLawPDF/article/อายุความในคดีอาญา.pdf> สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ‘สุภาษิตกฎหมาย (ตอนที่ 1)’ (ศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ห้องสมุดศาลยุติธรรม) <http://www.library.coj.go.th/Openmedia/index?f=../file_upload/module/manage_digital_file/digital_file/73dff9f6.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563.

ภาษาต่างประเทศ

——, ‘Limitation rules in criminal matters’ (Submitted to the court of justice of the European union 2017)<https://curia.europa.eu/jcms/upload/docs/application/pdf/2019-12/ndr-2017-005_synthese_en_neutralisee_finale.pdf> accessed 20 December 2019.

Michael Fente, ‘Statutory and Constitutional Hurdles Confronting the Judicial System During the COVID-19 Pandemic’ (2020) Upper Level Writing Requirement Research Papers 1 <https://digitalcommons.wcl.american.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1042&context=stu_upperlevel_papers> accessed 7 February 2023.

บล็อกและเว็บไซต์

——, ‘Doctrine of Contra Non Valentem Law and Legal Definition’ (USLEGAL)

<https://definitions.uslegal.com/d/doctrine-of-contra-non-valentem/>

สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2562.

——, ‘U.S. Supreme Court Rebuffs Tribe’s Bid for Equitable Tolling: Extraordinary Circumstances Causing Delayed Filing Must be Beyond a Litigant’s Control’ (Bryan Cave Leighton Paisner, 25 January 2016) <https://www.bclplaw.com/en-US/insights/u-s-supreme-court-rebuffs-tribe-s-bid-for-equitable-tolling.html> สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562.

Maître Guillaume Isouard, ‘Contra non valentem agere non currit praescriptio’ (Guillaume ISOUARD, 28 may 2020) <https://www.isouard-avocat.com/publications/contra-non-valentem> สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563.