หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก ศึกษากรณีการสมรสระหว่างเด็กกับผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง

Main Article Content

จิรภัทร ไทรงามสถิต

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็ก (The best interest of the child) เพื่อหาแนวทางป้องกันคุ้มครองเด็กที่เหมาะสม ในกรณีการสมรสของผู้เยาว์ซึ่งถือว่าเป็นเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of Child) กับบุคคลในครอบครัวที่มีสถานะเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมที่กฎหมายไม่ห้ามทำการสมรสเนื่องจากไม่ใช่ญาติสืบสายโลหิตโดยตรง และการสมรสกับผู้ปกครองซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติห้ามทำการสมรส


ซึ่งจากการศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายของไทยในปัจจุบันพบว่า ตามบทบัญญัติมาตรา1436 (3) (4) ประกอบกับมาตรา 1454 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้ผู้เยาว์ต้องขอความยินยอมจากผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณีนั้น มีลักษณะผลประโยชน์ขัดกัน (Conflict Of Interest) ของผู้ใช้อำนาจปกครองกับสิทธิและเสรีภาพในการแสงเจตนาสมรสของเด็ก เพราะผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะให้ความยินยอมในการสมรสของเด็กเป็นบุคคลเดียวกันกับคนที่เด็กต้องทำการสม  รสด้วย ซึ่งอาจทำให้เด็กขาดอิสระในการตัดสินใจอย่างแท้จริง (Privacy right) ในการก่อตั้งครอบครัว และเป็นการไม่สอดคล้องกับหลักการประโยชน์สูงสุดของเด็ก เนื่องจากเด็กอาจไม่สามารถแสดงความเห็น หรือความต้องการของตนเองได้อย่างแท้จริง เพราะตกอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ถูกครอบงำจากสถานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง ซึ่งยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายหรือกระบวนการใดที่จะมาคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็กในกรณีที่เด็กอาจต้องทำการสมรสกับบุคคลในครอบครัวเดียวกันโดยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสำหรับบทความนี้ ผู้เขียนได้นำแนวทางของกฎหมายประเทศเยอรมันมาปรับใช้ โดยให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในการอนุญาตให้เด็กสมรสกับผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 25, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2564).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 10 แก้ไขเพิ่มเติม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

บทความ

ภาษาต่างประเทศ

Erin Bajackson, ‘Best Interest of the child – A Legislative journey Still in Motion’ (2013) 25 Journal of the American Academy of Matrimonial Lawyer 312- 313 สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565.

Godsglory Ifezue and Maria Rajabali, ‘Protecting the Interest of the Child’ (2013) 2 (1) Cambridge Journal of International and Comparative Law 78 สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2565.

Seema Shah, ‘Does Research with Children Violate the best Interest Standard? An Empirical and Conceptual Analysis’ (2023) 8 Northwestern Journal of law and social policy 137-145 <https://core.ac.uk/download/pdf/231036461.pdf> สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565.

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

นัดดาภา จิตต์แจ้ง, ‘การคุ้มครองเด็กกับการใช้อำนาจปกครองทางพฤตินัย’ (ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2555).

เอมอร ตั้งสำเริงวงศ์, ‘ความผิดฐานมีเพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัวเดียวกัน : ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2548).

รายงานการวิจัย

ภาษาไทย

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, ‘หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายแนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย

‘จับอาหื่น ข่มขืน 2 พี่น้อง หลานแท้ๆ นาน 3 ปี เด็กสาวไม่กล้าบอกใคร เพราะถูกขู่ฆ่า’ (มติชน, 10 พฤศจิกายน 2565) <https://www.matichon.co.th/region/news_3667010/> สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565.

‘ลุงเขยหื่นข่มขืนหลานสาววัย 11 ปี พร้อมข่มขู่ห้ามบอกใคร’ (ผู้จัดการออนไลน์, 15 ธันวาคม 2564) <https://mgronline.com/local/detail/9640000123771/> สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2565.

‘ศาลฎีกาสั่งจำคุกหม่อมลูกปลาวางยาท่านกบ’ (โพสต์ทูเดย์, 17 สิงหาคม 2555) สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2565.

ยูนิเซฟ, ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคืออะไร’ <https://unicef.org/thailand/th/what-is-crc.> สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

Achim Czubaiko, ‘German Federal Supreme Court on International Child Marriages, Decision of 22nd July 2020, Case No. XII ZB 131/20’

Christopher Koulouris, ‘Right decision? German court rules 16 year old girl can continue relationship with 48 year old uncle’ (3 November 2016) สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565.

Karen McVeigh, ‘She won’t be the last’: why not enough has changed since the murder of Banaz Mahmod’ (21 September 2020) <https://www.theguardian.com/global-development/ 2020/sep/21/uk-policing-why-not-enough-has-changed-since-the-murder-of-banaz-mahmod/> สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565.

Maya Oppenheim, ‘Hundreds of British girls ‘married off as children each year’ (05 March 2021) <https://www.independent.co.uk/news/uk/home-news/child-marriage-british-girls-b1812608.html/> สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565.