หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุข

Main Article Content

ณัฐยศ อาจหาญ

Abstract

บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาถึงปัญหาหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยที่ยังไม่มีการกระจายอำนาจเท่าที่ควร โดยผู้ศึกษาจะทำการศึกษาภายใต้ขอบเขตของเฉพาะเรื่อง การจัดตั้งโรงพยาบาลการจัดหาวัคซีนและยารักษาโรคการควบคุม การแพทย์ฉุกเฉิน และศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันและการระงับโรคติดต่อในสัตว์ การจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล การควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ จำนวน 2 ประเทศ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศสหรัฐอเมริกาในบริบทมิติทางกฎหมาย


จากการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศนั้นมีหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขที่หลากหลายกว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีการการบัญญัติเรื่อง “หลักความสามารถทั่วไป”  ประกอบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีการบัญญัติในลักษณะของการยืนยันความชัดเจนในหน้าที่และอำนาจด้านสาธารณสุขของท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีการบัญญัติในลักษณะของการแบ่งแยกหน้าที่และอำนาจระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันไว้อย่างชัดเจน อันเป็นผลทำให้เกิดการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น ขณะที่ประเทศไทยนั้น ยังมิได้มีการบัญญัติเรื่อง “หลักความสามารถทั่วไป” และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุขนั้นยังมิได้มีการบัญญัติให้อำนาจในบางเรื่องจึงทำให้ยังไม่เกิดการกระจายอำนาจเท่าที่ควร และทำให้ยังไม่มีหน้าที่ที่หลากหลาย ทั้งนี้ การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยยังมีอำนาจที่จำกัด นอกจากมิติในด้านกฎหมายที่แล้วนั้น ยังมีมิติในด้านอื่น ๆ เช่น ศักยภาพของท้องถิ่นในการดำเนินการ ด้านงบประมาณ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ๆ


ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายกลางที่มีการบัญญัติหลักการแบ่งหน้าที่และอำนาจ และ“หลักความสามารถทั่วไป” ไว้ในกฎหมาย ให้มีการศึกษา รวบรวมและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านสาธารณสุขเพื่อก่อให้เกิดการกระจายอำนาจ ในส่วนของวิธีการใช้อำนาจควรที่จะมีการแก้บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งมีการบัญญัติไว้เป็นเวลานานและยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดให้การร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในรูปแบบของการจัดตั้งสหการนั้นไม่จำกัดเพียงแต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับหรือประเภทเดียวกันเท่านั้น แต่ควรให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกประเภทสามารถที่จะร่วมมือในการจัดทำบริการสาธารณสุขได้ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นไปในเชิงมิติของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขในมิติอื่น ๆ เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร เป็นต้น ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป


 


 

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, การจัดการสุขภาพท้องถิ่นในบริบทการกระจายอำนาจ กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

ปธาน สุวรรณมงคล, แนวทางการจัดการความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น (น้ำกัง 2547).

ปรัชญา เวสารัชช์, การปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น (โครงการส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีโดยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สำนักงาน ก.พ. 2542).

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล, การปกครองท้องถิ่น มุมมองจากประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและไทย (สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย 2563).

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), การดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อาร์ตควอลิไฟท์ 2557).

สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายปกครองท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 2 , สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา 2549).

สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมายการปกครองท้องถิ่น (ธรรกมลการพิมพ์ 2550) .

สมคิด เลิศไพฑูรย์, หน้าที่และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามระบบกฎหมายไทย (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2565).

สาฬวุฒิ เหราบัตย์, การแพทย์ฉุกเฉินในประเทศสหรัฐอเมริกา (สํานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย 2556) .

เอกฉัตร วิทยอภิบาลกุล, คำอธิบายกฎหมายการปกครองท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ 2564).

ภาษาต่างประเทศ

Tanigawa K. and Tanaka K , Emerency medical service system in Japan: Past, present, and future

(2006) 365-370.

รายงานการวิจัย

ภาษาไทย

คมไทย หิรัญสาย, ‘ปัญหาทางกฎหมายในการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ศึกษากรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019’ ( วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2564).

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ‘การศึกษาวิจัยประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันคลังสมองของชาติ 2565)

สารานุกรม

ภาษาไทย

วสันต์ เหลืองประภัสร์, สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดที่ 4 องค์กรปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลำดับที่ 2 ภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถาบันพระปกเกล้า 2547).

บทความ

ภาษาไทย

โชติ ชูติกาญจน์, ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหลักอำนาจโดยทั่วไป’ (2562) 4 วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์.

วสันต์ เหลืองประภัสร์, ‘การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจ กับการบริหารราชการแผ่นดินไทย:การทบทวน แนวคิด ข้อถกเถียง และข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูป’ (2558) สถาบันพระปกเกล้า 98 , 105.

วสันต์ เหลืองประภัสร์, ‘ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการปกครองท้องถิ่น’<https://www.stou.ac.th/ Schoolnew/polsci/UploadedFile/E0B8AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8 %97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202.pdf> สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565.

วิชัย โชควิวัฒน์ , ‘แลระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่น’ <https://www.hfocus.org /content /2013/12/5909>สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

-- ‘The Future of Public Health’ < https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK218212/> สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2565.

California air resources board (carb), ‘Government Roles and Contacts’ <https://ww2.arb.ca .gov/our-work/programs/resource-center/introduction-communityairquality/government-roles-and-contacts> สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.

California state association of counties, ‘Public works’ <https://www.counties.org/countyoffice/public-works> สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2565.