การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยทั้งในส่วนของการรับรองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและการกำหนดหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการรับรอง
และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้ครอบคลุมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งหวังให้สิทธิและเสรีภาพได้รับความคุ้มครองเป็นหลัก ส่วนการจำกัดสิทธิและเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น รวมทั้งกำหนดให้มีหน้าที่ของรัฐ และกำหนดหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้ครอบคลุมการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายและกฎหมายตามมาตรา 148 มาตรา 212 และมาตรา 231 (1) การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำซึ่งมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของบุคคลตามมาตรา 213 และการพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อย่างไรก็ดี โดยที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังไม่มีความชัดเจนทั้งในส่วนของสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและการจำกัดสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ การกำหนดเงื่อนไข ข้อจำกัด หรือขั้นตอนอันไม่จำเป็นในการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และการขาดกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ย่อมส่งผลต่อการปรับใช้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
และกฎหมายก่อให้เกิดปัญหาต่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรณีจึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บทบัญญัติเกี่ยวกับการรับรองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และขั้นตอนการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนและเหมาะสม รวมทั้งลดขั้นตอนและเงื่อนไข
ที่ไม่จำเป็นต่อการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และกำหนดระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน นอกจากนี้ สมควรปรับการใช้และการตีความรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้มีความชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
หนังสือ
ภาษาไทย
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2562).
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2, วิญญูชน 2564).
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คำอธิบายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2563).
ปัญญา อุดชาชน, หลักนิติธรรม : คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ไทย-เยอรมนี (วิญญูชน 2564).
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 213 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2563).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, การร้องทุกข์ทางรัฐธรรมนูญในระบบกฎหมายเยอรมัน : วิเคราะห์เปรียบเทียบการฟ้องคดีโดยประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญในระบกฎหมายไทย (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2553).
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สิทธิของประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 51 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 45 (สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2563).
ภาษาต่างประเทศ
Bertrand Mathieu et Michel Verpeaux, Contentieux constitutionnel des droits fondamentaux (LGDJ).
บทความ
ภาษาไทย
บรรเจิด สิงคะเนติ, ‘การใช้สิทธิของประชาชนในการฟ้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2560’ ในรัฐธรรมนูญ 60 : 60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).
บรรเจิด สิงคะเนติ, ‘เสรีภาพทั่วไปและข้อจำกัดการใช้เสรีภาพตามมาตรา 25 รัฐธรรมนูญ 2560’ ใน 60 ปี อุดม รัฐอมฤต ชีวิตและมิตรภาพบนเส้นทางวิชาการ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).
อุดม รัฐอมฤต, ‘หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560’ ในรัฐธรรมนูญ 60 : 60 ปี สมคิด เลิศไพฑูรย์ รวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาส 60 ปี ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).
รายงานการประชุมและบันทึกการประชุม
ภาษาไทย
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 9 (วันศุกร์ ที่ 16 ตุลาคม 2558).
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, รายงานการประชุม ครั้งที่ 100 (วันอังคาร ที่ 8 มีนาคม 2559) 20-21.
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, บันทึกการประชุม ครั้งที่ 60 (วันจันทร์ ที่ 11 มกราคม 2559).
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, บันทึกการประชุม ครั้งที่ 389 (วันจันทร์ ที่ 11 กันยายน 2560).
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, บันทึกการประชุม ครั้งที่ 7/2560 (วันศุกร์ ที่ 20 ตุลาคม 2560).
เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
ภาษาไทย
อดิเทพ อุยยะพัฒน์, ‘แนวคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการฟ้องตรงโดยประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 (ปรับปรุงครั้งที่ 70)’ <http://elibrary.constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=288> สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2566