การคุ้มครองบุคคลโดยคำสั่งห้ามเข้าใกล้

Main Article Content

ภูริชญา ไทรงาม

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาเรื่องมาตรการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้นของประเทศไทย กล่าวคือ การคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐ สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจะมอบให้แก่ประชาชนในประเทศ เป็นพันธะเชิงบวกของเจ้าหน้าที่รัฐในการใช้มาตรการป้องกันเพื่อปกป้องบุคคลที่ชีวิตมีความเสี่ยงจากการกระทำความผิดทางอาญาของบุคคลอื่น ซึ่งมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการก่ออาชญากรรมมากที่สุดคือ การกำหนดโทษทางอาญา เมื่อมีผู้ใดกระทำการอันใดที่กฎหมายห้าม ผู้นั้นต้องถูกลงโทษ เป็นการควบคุมอาชญากรรมโดยอาศัยความรุนแรงของบทลงโทษทางอาญา  แต่ทั้งนี้ การควบคุมการก่ออาชญากรรมในรูปแบบดังกล่าว เป็นการที่รัฐเข้ามาควบคุมหลังจากเกิดการกระทำความผิดและความเสียหายไปแล้ว บางความเสียหายก็ไม่อาจได้รับการชดเชยได้ด้วยการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ การควบคุมการ     ก่ออาชญากรรมหรือการป้องกันอาชญากรรมที่ควรจะเป็นคือ การลดช่องทางหรือโอกาสของการกระทำความผิด สกัดกั้นมิให้มีการกระทำความผิดใดๆ เกิดขึ้น  ในประเทศไทยมีคำสั่งคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมแม้การกระทำความผิดยังไม่เกิดก็จริง แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของคำสั่งนั้นยังไม่ชัดแจ้งและไม่ครอบคลุม จำกัดสิทธิ  ในการร้องขอเป็นเพียงของพนักงานอัยการเท่านั้น มิได้ให้โอกาสผู้เสียหายหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้ใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อตนเอง อีกทั้งสภาพบังคับของคำสั่งคุ้มครองนั้นยังไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะควบคุมการกระทำของผู้กระทำได้ ส่งผลให้อาชญากรรมยังคงเกิดขึ้นต่อไป  ตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลียตะวันตก และประเทศอังกฤษ ซึ่งปรากฎว่าทั้งสองประเทศนั้นล้วนมีมาตรการคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้นทั้งสิ้น ด้วยเหตุเช่นนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขของมาตรการดังกล่าว เพื่อนำมาเสนอให้กับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ในประเทศออสเตรเลียตะวันตกและประเทศอังกฤษได้ให้สิทธิแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่อในการร้องขอให้มีการคุ้มครอง ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่กำหนดไว้เพียงพนักงานอัยการและศาลหลักเกณฑ์ในการร้องขอให้มีคำสั่งคุ้มครองของประเทศออสเตรเลียตะวันตกถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าการกระทำลักษณะใดบ้างที่สามารถร้องขอได้ ซึ่งต่างจากประเทศอังกฤษ ที่กำหนดไว้อย่างกว้าง       และให้ภาระการพิสูจน์ตกเป็นฝ่ายผู้ร้องขอในการแสดงให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องเดือดร้อนหรือได้รับอันตรายอย่างไร และในส่วนของสภาพบังคับของคำสั่งนั้น ทั้งสองประเทศกำหนดไว้ตรงกันคือ คำสั่งคุ้มครองนั้นมิได้มีสภาพเป็นคำสั่งหรือโทษทางอาญา แต่หากมีการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลเมื่อใด เมื่อนั้นถือว่ากระทำความผิดอาญาและต้องถูกระวางโทษทางอาญา โดยความหนักเบาของโทษนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำประเทศไทยจึงควรแก้ไขและปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมาตรการคุ้มครองบุคคลจากเหตุอาชญากรรมในกรณีที่การกระทำความผิดยังไม่เกิดขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองประชาชนและความแน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

ปกรณ์ มณีปกรณ์, อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์โอ เอ็น จี การพิมพ์ 2549)

คำพิพากษา

ภาษาต่างประเทศ

Osman v United Kingdom App no 23452/94 (ECtHR, 28 October 1998).

อื่น ๆ

ภาษาไทย

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จาก ชิดชนก ชวิวิทยา ถึง ภูริชญา ไทรงาม (6 พฤศจิกายน 2565).

วัฒนพร คชภูมิ และคณะ, ‘การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา’ (รายงานวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม 2559) 23 <https://rabi.coj.go.th/th/file/ get/file/201903287b8874b7bd4e53a52f2cde9ea75b01c3133545.pdf> สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566.

สรยุทธ สุทัศนะจินดา, ‘เห้ย! คุกคามน่ากลัวแบบนี้ แต่ทำอะไรไม่ได้ …’ (Facebook กรรมกรข่าว, 24 ตุลาคม 2565)<https://web.facebook.com/100044308452347/posts/pfbid026XaLS29UpP412Ct7H bECDD2APUQ25LrjtxYHjUEwiqYaaXEGKyURHfALaafjWYR6l/?d=n&_rdc=1&_rdr> สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565.

ภาษาต่างประเทศ

Croydon, ‘Civil injunctions and criminal behaviour orders’ (Croydon.gov.uk) สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566.

Government of Western Australia, ‘Commissioner for Victims of Crime’ <https://www.wa.gov .au/organisation/department-of-justice/commissioner-victims-of-crime> สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2566.

John Pointing, Barrister and David Horrocks, ‘Guidance on the use of Community Protection Notices’ (Chartered Institute of Environmental Health, 3 November 2017) สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2566.

Legal Aid, ‘Restraining orders’ (Legal Aid Western Australia) <https://www.legalaid.wa.gov.au/find-legal-answers/restraining-orders/restraining-orders> สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566.

Leshea Thomas, ‘Deterrence In Criminology: Definition & Theory’ (Study, 14 April 2022) <https://study.com/academy/lesson/deterrence-in-criminology-definition-theory.html> สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2566.

Shelter, ‘Community protection notices to deal with persistent antisocial behaviour’ (the National Campaign for Homeless People Limited Charity number, 18 March 2021) <https://england.shelter.org.uk/professional_resources/legal/housing_conditions/nuisanc e_and_asb/community_protection_notices_to_deal_with_persistent_antisocial_behaviour#reference-6> สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566.

Magistrates Court of Western Australia Civil Jurisdiction, ‘Fact Sheet 38 – Violence Restraining Order’(Magistrates Court of Western Australia) <https://www.magistratescourt.wa.gov.au /_files/Civil_factsheet_38.pdf > สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566.

Magistrates Court of Western Australia Civil Jurisdiction,‘Fact Sheet 39 – Misconduct Restraining Order’ (Magistrates Court of Western Australia <https://www.magistratescourt.wa.gov.au/_files/Civil_factsheet _39.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2566.

UNODC, ‘Fifth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders’ (United Nation Office on Drugs and crime, 1975)<https://www.ojp.gov/ pdffiles1/Digitization/65619NCJRS.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.

UNODC, ‘‘Sixth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders’ (United Nation Office on Drugs and crime, 1980) <https://www.unodc.org/ documents/congress/Previous_Congresses/6th_Congress_1980/025_ACONF.87.14.Rev.1_ Sixth_United_Nations_Congress_on_the_Prevention_of_Crime_and_the_Treatment_of_Offenders.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566.

Youth Justice Board, ‘YOT Practitioner’s Guide: civil injunctions and the Criminal Behaviour Order’<https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/att achment_data/file/532514/YOT_Practitioners_Guide_Injunctions_to_prevent_gang_relat ed_violence.pdf> สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2566.