ประสิทธิภาพในการใช้อำนาจนิติบัญญัติของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร

Main Article Content

สุจิตตรา พูนสวัสดิ์

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการใช้อำนาจนิติบัญญัติคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การกำหนดหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 129 และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562  มีข้อจำกัดที่ส่งผลให้การใช้อำนาจนิติบัญญัติของคณะกรรมาธิการไม่สอดคล้องตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ รวมทั้งการกำหนดวิธีการสอบหาข้อเท็จจริงยังขาดความชัดเจนและไม่ครอบคุลมรอบด้าน เช่น รายละเอียดรูปแบบและแนวทางการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติไม่เกิดประสิทธิภาพของข้อมูล (Informational Efficiency) ที่เพียงพอในการเสนอต่อสภา เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้ประกอบการอภิปรายและประกอบการตัดสินใจในการตรากฎหมาย นอกจากนี้คณะกรรมาธิการสามัญยังขาดการพัฒนาบทบาทงานด้านนิติบัญญัติอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 90 ยังไม่ปรากฏการให้อำนาจคณะกรรมาธิการในการตรวจสอบประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายซึ่งปัจจุบันถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญอย่างมากของคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎรในหลายประเทศ


ประเด็นปัญหาดังกล่าวผู้เขียนได้ศึกษาแนวคิดการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภาในฐานะผู้แทนปวงชนที่มาจากเลือกตั้งมีอำนาจในการออกกฎหมายและตรวจสอบฝ่ายบริหารทั้งด้านกฎหมายและการดำเนินนโยบาย เพื่อให้การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมีความเหมาะสมและถูกต้องเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจที่กำหนดให้การใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมีความเป็นอิสระต่อกันและมีความสัมพันธ์ต่อกันโดยที่แต่ละฝ่ายสามารถถือสิทธิและปกป้องสิทธิของตนเองด้วยการยับยั้งและสนับสนุนในกิจกรรมสำคัญ ๆ ของอีกฝ่ายหนึ่งได้ รวมทั้งการตรวจสอบและถ่วงดุลที่จะช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจของแต่ละฝ่ายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญเป็นไปได้โดยสะดวก และป้องกันไม่ให้แต่ละฝ่ายใช้อำนาจมากจนเกินขอบเขต อันจะส่งผลให้การใช้อำนาจต่าง ๆ มีความสมดุลหรือเกิดดุลยภาพและประสิทธิภาพ


การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยระบบคณะกรรมาธิการเป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินทางอ้อม ถือว่าเป็นแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมทุกรูปแบบของการตรวจสอบฝ่ายบริหารทั้งทางกฎหมายและนโยบายได้อย่างคล่องตัว ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการต่างประเทศ โดยจะเป็นการยกตัวอย่างกรณีคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่พบว่าการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการสามารถถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารได้อย่างเป็นอิสระและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนสอดคล้องตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ เนื่องจากมีระบบวิธีการดำเนินงานในการกระจายอำนาจหรือแบ่งงานของสภาไปยังคณะกรรมาธิการอย่างเป็นระบบและให้อำนาจด้านนิติบัญญัติแก่คณะกรรมาธิการอย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งคณะกรรมาธิการ สภาสามัญ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นต้นแบบของรัฐสภาไทย แม้ว่าการเมืองการปกครองตามหลักการแบ่งแยกอำนาจไม่เด็ดขาดจะทำให้ฝ่ายบริหารยังมีอิทธิพลครอบงำการพิจารณาร่างกฎหมายของคณะกรรมาธิการ แต่ได้มีการมุ่งเน้นให้คณะกรรมาธิการกลั่นกรองมีบทบาทในการพิจารณาตรวจสอบกฎหมายทั้งก่อนกระบวนการตรากฎหมายและภายหลังการประกาศใช้กฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านนิติบัญญัติและนำไปสู่การพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์กฎหมายของคณะกรรมาธิการได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยสามารถพิจารณานำแนวทางการดำเนินงานมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงให้ระบบคณะกรรมาธิการไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นได้


 

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, รัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 9, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561).

จักษ์ พันธ์ชูเพชร, รัฐศาสตร์ (สำนักพิมพ์มายด์ พับลิชชิ่ง 2522).

วิษณุ เครืองาม, กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ 2530).

โรเบิร์ต ฮีลี่, สมาชิกสภาคองเกรส : บทที่ 6 คณะกรรมาธิการและการเมืองในการมอบหมายหน้าที่ บรรณาธิการ โดย สเวน โกรนนิงส์ และ โจนาธาน พี. ฮอว์ลี.แปลโดย นพมาศ ธีรเวคิณ (กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา, 2523).

สมยศ เชื้อไทย, กฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 12, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560).

หยุด แสงอุทัย, ความรู้เบื้องต้นกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ภาษาต่างประเทศ

Jess Sargeant and Jack Pannell, The legislative process: How to empower parliament Government should give parliament proper power to scrutinise legislation (Bennett Institute for public Policy Cambridge 2022) <https://www.instituteforgovernment.org.uk/publication/legislative-process-empower parliament> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566.

บทความวารสาร

ภาษาไทย

ธงทอง จันทรางศุ, ‘การปรับปรุงระบบการทำงานของคณะกรรมาธิการของสภาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น’ (2541) 1 วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาต่างประเทศ

Abel Kinyondo, Riccardo Pelizzo, ‘Evaluating the Performance of Parliamentary Committees’ (2022) 1 Otoritas : Jurnal Ilmu Pemerintahan 5 < https://journal.unismuh.ac.id/index.php/otoritas> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566

Ed Sylvester, ‘UK and USA politics Comparing the role of committees in the UK and US legislatures’ (2566) 3 The Journal of Legislative Studies <https://www.hoddereducation .co.uk/media/Documents/magazine-extras/Politics /pdf.> สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566.

Tim A. Mickler, ‘Committee autonomy in parliamentary systems–coalition logic or congressional rationales?’ (2017) 3 The Journal of Legislative Studies 376-377<https://doi.org/10.1080/ 13572334.2017.1359941/2017/12/.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566.

Sithara Sarangan, ‘Effective Parliamentary Committee Systems and their Impact on the Efficacy of the Institution: A Comparative Analysis’ 2 International Journal of Policy Sciences and Law 431<https://ijpsl.in/wp-content/uploads/2020/ 12/.pdf>.

รายงานส่วนบุคคล

ภาษาไทย

นรนิติ เศรษฐบุตร และ สมคิด เลิศไพฑูรย์, ”ประสิทธิผลของรัฐสภาไทย” (การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 4 กลุ่มย่อยที่ 4 เรื่องสถาบันการเมือง ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ, 8-10 พฤศจิกายน 2546).

วิษณุ เครืองาม, ‘กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร’ (การศึกษาอบรมหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง กลุ่มวิชาที่ 6, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า, 2554).

รายงานวิจัย

ภาษาไทย

คณะทำงานโครงการวิจัย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ‘บทบาทและอำนาจของคณะกรรมาธิการสามัญ สภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2555).

นันทวัฒน์ บรมานันท์ และคณะ, ‘การปรับโครงสร้างของระบบรัฐสภา’(รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักวิจัย สถาบันพระปกเกล้า 2554).

ปธาน สุวรรณมงคล, ‘บทบาทของคณะกรรมาธิการสามัญ สภาผู้แทนราษฎร’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2549).

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, ‘ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของคำสั่งเรียกโดยคณะกรรมาธิการรัฐสภา’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันพระปกเกล้า)

สุรพล นิติไกรพจน์, ‘ระบบการควบคุมตรวจสอบรัฐบาลทางการเมืองที่เหมาะสม’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 2538).

อัมมาร์ สยามวาลา, ‘รายงานทีดีอาร์ไอ เรื่อง การแยกอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติออกจากกัน’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2540) 5.

ภาษาต่างประเทศ

Alain Delcamp, ‘How can Parliamentary Committees be made more effective? Examples of good international practice and recommendations for the Verkhovna Rada of Ukraine’ (รายงานการวิจัยเสนอต่อ Rada For Europe 2018) <https://www.undp.org /sites/g/files/zskgke326/ files/migration/ua/ Delcamp_committees-ENG.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566.

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

จิตติวัฒน์ ทองนวล, ‘ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมสภาของไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561).

จำเป็น ชุ่มมะโน, ‘ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจออกคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของวุฒิสภาตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 2556).

อรทิพย์ พิศาลบุตร, ‘ปัญหาเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2532).

เอกสารอื่น ๆ

ภาษาไทย

จเร พันธุ์เปรื่อง, ‘แปรญัตติ’ ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566.

สุรเชษฐ์ เจริญรุ่ง, ปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังความเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายกรณีศึกษาสภาผู้แทนราษฎร <http://www.lawgrad.ru.ac.th/Abstracts/ClickLink>.

ภาษาต่างประเทศ

-- Pre-legislative scrutiny of draft bills’ <https://erskinemay.parliament.uk/ section/4988/ prelegislative-scrutiny-of-draft-bills/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2566.

Brian J. Gaines et al, ‘The study of legislative committees’ (2019) 3 The Journal of Legislative Studies 335 < https://www.tandfonline.com/loi/fjls20> สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566.

Inter-parliamentary Union, global-parliamentary-report-2017 13 สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566.

Marcus Ganley, Select Committees and their Role in Keeping Parliament Relevant Do New Zealand select committees make a difference?, 2001, <https://www.aspg.org.au/wp-content/uploads/2017/09/14-Ganley.pdf>.

Meg Russell and Bob Morris and Phil Larkin, ‘Fitting the Bill, Bringing Commons legislation committees into line with best practice’ (The Constitution Unit) 12. <https://www.ucl.ac.uk/constitution-unit/files/Fitting_the_Bill_ complete_pdf.pdf> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566.

National Democratic Institute for International Affairs, Strengthening Legislative Capacityin Legislative-Executive Relations, 2000, 12,<https://www.ndi.org/node/23789>.

National Democratic Institute for International Affairs, Strengthening Legislative Capacityin Legislative-Executive Relations, 2000 <https://www.ndi.org/node/23789>

National Democratic Institute for International Affairs, ‘Strengthening Legislative Capacityin Legislative-Executive Relations’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อ National Democratic Institute for International Affairs (NDI) 2000) 15 <https://www.ndi.org/node/23789> สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566.

National Democratic Institute, ‘Committees in Legislatures’ (National Democratic Institute, 1996) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566.

Patrick Dunleavy, ‘review of How effective are the Commons’ (two committee systems at scrutinising government policy-making, Aug 24 2018) <https://eprints.lse.ac.uk/109728/1/dit_com_2018_09_24_audit2018_how_ effective_are_ the_commons_two_1_.pdf.>

The House of Representatives, Rule of the House Of Representatives One Hundred Eighteenth Congress : Rule x Organization Of Committee 2023 10 <https://ethics.house.gov/sites/ ethics.house.gov/files/documents/118-House-Rules-Clerk.pdf> สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566.

U.S. Government Printing Office, How Our Laws Are Made 2007 5 <https://www.govinfo.gov/content/pkg/CDOC-110hdoc49/pdf/CDOC-110hdoc49.pdf> สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566.

เอกสารกฎหมาย

ภาษาไทย

ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562.

ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พ.ศ. 2562.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 129.

ภาษาต่างประเทศ

National Democratic Institute, ‘Committees in Legislatures’ (National Democratic Institute, 1996) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566.