ความรับผิดของผู้ขับขี่อันเกิดจากการใช้งานรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ : ศึกษาความรับผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

Main Article Content

ธีนาถ มีทรัพย์ประเสริฐ

Abstract

     รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ คือ รถยนต์ที่ถูกติดตั้งด้วยระบบที่มีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์ได้โดยอัตโนมัติ และเมื่อใดที่ได้เปิดใช้งานระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติแล้วผู้ขับขี่จะถูกลดทอนบทบาทและการกระทำลงจนปราศจากการกระทำในท้ายที่สุด ซึ่งด้วยความสามารถของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการวินิจฉัยความรับผิด เพราะเมื่อไร้ซึ่งการกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ขับขี่ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิดแล้วก็ไม่อาจที่จะพิจารณากำหนดความรับผิดแก่ผู้ขับขี่ได้ และนอกจากนี้ยังส่งผลต่อปัญหาการวินิจฉัยความรับผิดอันเกิดจากหน้าที่ในการป้องกันผลตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย ที่ข้อพิจารณาในเรื่องหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้ขับขี่ยังคงมีความไม่ชัดเจน เช่น ผู้ขับขี่มีหน้าที่ในการป้องกันผลหรือไม่ และขอบเขตหน้าที่ในการป้องกันผลมีอยู่อย่างไร


            จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี สหราชอาณาจักร และประเทศฝรั่งเศส พบว่ามีแนวทางการกำหนดความรับผิดให้แก่ผู้ขับขี่ที่แตกต่างกันแบ่งพิจารณาได้ 2 กลุ่ม ได้แก่


            กลุ่มที่หนึ่ง ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมนีที่จะมุ่งกำหนดความรับผิดให้แก่ผู้ขับขี่ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของกฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับบริบทของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นการกำหนดคำนิยามของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและคำนิยามของผู้ขับขี่ การกำหนดหน้าที่แก่ผู้ขับขี่ การกำหนดตัวผู้ต้องรับผิดจากความรับผิดอันเกิดขึ้นขณะรถยนต์เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติและรวมถึงการกำหนดหน้าที่ให้แก่ผู้ประกอบการในการผลิตรถยนต์ให้ได้มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด


            กลุ่มที่สอง ประกอบด้วยรายงานคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมายร่วมกันระหว่างประเทศอังกฤษ เวลส์ และสกอตแลนด์และประเทศฝรั่งเศสที่ได้กำหนดความคุ้มกันทางกฎหมายในลักษณะของข้อยกเว้นความรับผิดอันเกิดขึ้นขณะรถยนต์เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขความสิ้นไปของความคุ้มกันดังกล่าวผ่านการกำหนดหน้าที่บางประการ เช่น การกำหนดให้ผู้ขับขี่จะต้องกลับเข้าแทรกแซงการทำงานของรถยนต์เมื่อระบบร้องขอภายใต้กำหนดเวลาที่เหมาะสม เป็นต้น


            ทั้งนี้ จากการศึกษากฎหมายของประเทศไทย ไม่ปรากฏบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 ที่ตราขึ้นโดยคำนึงถึงบทบาทที่ลดลงของผู้ขับขี่ ดังนั้น บทความนี้จึงได้เสนอให้มีการกำหนดคำนิยามของรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ คำนิยามของผู้ขับขี่โดยคำนึงถึงบทบาทที่ลดลง และเสนอให้มีการกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้แก่ผู้ขับขี่ในความรับผิดอันเกิดขึ้นขณะรถยนต์เคลื่อนที่โดยอัตโนมัติโดยกำหนดเงื่อนไขความสิ้นผลไปของข้อยกเว้นความรับผิดประกอบไว้ด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ไร้ซึ่งการกระทำ และนอกจากนี้ผู้เขียนยังได้มีข้อเสนอแนะประการอื่น ๆ เพิ่มเติมไว้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายมิให้มีผลเป็นการยับยั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10, พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย) 2551).

คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 7, วิญญูชน 2563).

จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11, การพิมพ์เพชรรุ่ง 2555).

ณรงค์ ใจหาญ, กฎหมายอาญา ว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย (วิญญูชน 2543)

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์, การกระทำและการไม่กระทำในกฎหมายอาญา (โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2528)

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์, คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 10, วิญญูชน 2551)

หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 19, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547)

ภาษาต่างประเทศ

John M. Scheb and John M. Scheb ii, Criminal law and Procedure (7th edn, Cengage Learning, 2011)

Andrew Ashworth, Principles of criminal law (5th edn, Oxford University Press, 2006)

บทความ

คัมภีร์ แก้วเจริญ, ‘ละเมิดเนื่องจากทรัพย์อันตราย’ (2526) 12 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยานิพนธ์

ณัฐชนน อักษรารัตนานนท์, ‘ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับระบบปัญญาประดิษฐ์ ศึกษากรณีเฉพาะรถยนต์ขับเคลื่อนด้วย ระบบปัญญาประดิษฐ์’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2565)

สมพจน์ คำแก้ว, ‘มาตรการทางกฎหมายในการลงโทษความผิดตามกฎหมายจราจร’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา 2556)

สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์, ‘ผลของการกระทําในทางอาญา : ศึกษาเฉพาะกรณีผลที่เป็นการก่อ อันตราย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2536)

ภพพร พายทอง, ‘การฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีลักษณะเป็นการละเว้นหรือเป็นการงดเว้นหน้าที่ เพื่อป้องกันผล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554)

ชัยวัฒน์ อนุกูลวุฒิพงศ์, ‘การกระทำโดยงดเว้น : ศึกษาเฉพาะขอบเขตการกำหนดความรับผิดจากการกระทำครั้งก่อน ๆ ของตน’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561)

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง, ‘ความรับผิดในความเสียหายซึ่งเกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2529)

รายงานการวิจัย

ภาษาไทย

ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล และคณะ, ‘การศึกษากลยุทธ์ในการบังคับใช้กฎหมายจราจรเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ’ (พิมพ์ครั้งที่ 1, โรงพิมพ์เลขาธิการคณะรัฐมนตรี 2550)

ภาษาต่างประเทศ

N Kinnear and others, ‘Safe Performance of other activities in conditionally automated vehicles’ (Report prepared for Department of Transport 2020)

SAE International, ‘Taxonomy and Definitions for Terms Related to Driving Automation Systems for On-Road Motor Vehicles J3016 2021’ < https://www.sae.org /standards /content /j3016 _202104/>สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565.

เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

Andrew J. Hawkins, ‘Waymo tells riders that ‘completely driverless’ vehicles are on the way’ The Verge (10 October 2019) <https://www.theverge.com/2019/10/10/209 07901/waymo-driverless-cars-email- customers-Arizona>สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2565.

Jonathan Dyble, ‘Understanding SAE automated driving – levels 0 to 5 explained’ (technology magazine, 18 May 2020) <https://technologymagazine.com/ai-and-machine-learning /understanding-sae-automated-driving-levels-0-5-explained?page=2> สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน.

The Law Commissions, Automated Vehicles: Joint Report 2022 35-46 <https://s3-eu-west-2.amazonaws.com/lawcom-prod-storage11jsxou24uy7q/uploads/2022/01/Automated-vehicles-joint-report-cvr-03-02-22 .pdf>สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566.