ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ : ศึกษาการระวางโทษหนักเบา ตามหลักความได้สัดส่วนโดยการแบ่งชั้นของโทษ

Main Article Content

เจนจิรา เชี่ยวชาญกิจ

Abstract

ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ คือ ระบบที่จัดเรียงความผิดตามระดับความหนักเบาของโทษ โดยความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษเท่ากันจะอยู่ในชั้นของโทษเดียวกัน ส่วนความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษที่แตกต่างกันจะถูกจัดอยู่ต่างชั้นของโทษ การจัดลำดับชั้นของชั้นโทษจะแสดงให้เห็นถึงความได้สัดส่วนของความผิดและโทษอาญา ทั้งกรณีเปรียบเทียบระหว่างความผิดนั้นกับโทษที่ลงแก่ความผิด และกรณีเปรียบเทียบระวางโทษสำหรับความผิดนั้นกับความผิดอื่นที่อยู่ในชั้นโทษเดียวกันหรือต่างชั้น ดังนั้น บทความชิ้นนี้มุ่งหวังจะนำระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษมาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักความได้สัดส่วน และหลักความได้สัดส่วน ซึ่งรวมทั้งแนวคิดที่เกี่ยวกับการพิจารณาความร้ายแรงของความผิด อีกทั้งมุ่งศึกษาการกำหนดลำดับชั้นโทษในกฎหมายอาญาต่างประเทศ และสภาพของลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของไทย ปัญหาในการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วนและปัญหาการกำหนดชั้นโทษในประเทศไทย รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสาร จากหนังสือ วารสาร บทความทางวิชาการ ตำรา และเว็บไซต์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ


จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับ 1) การระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วน โดยพบปัญหาการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิดและการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับโทษปรับ 2) ปัญหาเกี่ยวกับระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ ได้แก่ ไม่มีการจัดลำดับชั้นโทษอย่างชัดเจน ชั้นโทษที่มีอยู่มีความหลากหลาย กระจัดกระจายและไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ชั้นของโทษทับซ้อนในความผิดที่มีความร้ายแรงแตกต่างกัน และที่สำคัญที่สุด คือ ประเทศไทยยังขาดหลักการและหลักเกณฑ์ในการกำหนดชั้นโทษ ทั้งนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อสรุปจากปัญหาดังกล่าวและนำเสนอข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาซึ่งจะได้กล่าวในบทความชิ้นนี้ต่อไป

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

คณิต ณ นคร, พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา (กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2553).

--กฎหมายอาญาภาคความผิด (พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559).

--กฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560).

ณรงค์ ใจหาญ, กฎหมายอาญา ว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย (กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2543).

ดิเรก ควรสมาคม, การเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระทางนิติศาสตร์ และเทคนิคการเขียนบทความวิชาการ (กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560).

ปกป้อง ศรีสนิท, กฎหมายอาญาชั้นสูง : อาชญากรรม ความรับผิด และโทษอาญา (กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2559).

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม, หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา ภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศ เพื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา (กรุงเทพฯ, สถาบันพระปกเกล้า 2564).

สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม, การกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา (กรุงเทพฯ, สถาบันฯ 2551).

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ, ทฤษฎีอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2556).

ภาษาต่างประเทศ

Beccaria, Cesare and Jeremy Parzen, On Crimes and Punishments and Other Writings (edited by Aaron Thomas, Luigi Ballerini, and Massimo Ciavolella, N.p., University of Toronto Press 2008).

Herbert L Packer, The Limits of the Criminal Sanction (California, Stanford University Press, 1968).

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาต่างประเทศ

Jesper Ryberg, The Ethics of Proportionate Punishment: A Critical Investigation (Library of Ethics and Applied Philosophy, pdf, 2004).

บทความ

ภาษาไทย

คณิต ณ นคร, ‘คุณธรรมทางกฎหมายกับการใช้กฎหมายอาญา’ (มกราคม 2532) 25, 3 วารสารอัยการ.

เพลินตา ตันรังสรรค์, ‘หลักเกณฑ์การกำหนดโทษอาญาในการตรากฎหมาย’ (2561) 1 จุลนิติ http://digi.library.tu.ac.th.eu1.proxy.openathens.net/journal/0132/15-1-Jan-Feb-2561.pdf?_ga=2.22026 9976.1081299753.1616376460-207531638.1613712569.

น้ำแท้ มีบุญสล้าง, ‘กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศอังกฤษ’ (พฤศจิกายน 2552) 6, 6 จุลนิติ.

ไนเกล วอล์กเกอร์, อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ และ พรทิพย์ เพ็ชรศิริ, ‘ขอบเขตของกฎหมายอาญา’ (ม.ป.ด. 2520) 9, 3 วารสารนิติศาสตร์ <http://digi.library.tu.ac.th/journal/0022/9-3-2520.pdf?_ga =2.83398229 .2129776284 .1551060417-1779722688.1547722293>.

ประสิทธ์ จงวิชิต, ‘ค่าเสียหายเชิงลงโทษ’ (ธันวาคม 2557) 70, 4 บทบัณฑิตย์ <http://digi.library.tu .ac.th/journal/0072/70-4-DEC-2557.pdf>.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท, ‘การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ: หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ’ (ธันวาคม 2560) 46, 4 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาษาต่างประเทศ

Andrew Ashworth, ‘Prisons, Proportionality and Recent Penal History’ (April 2017) 80, 3 The Modern Law Review <https://doi.org/10.1111/1468-2230.12266>.

Egon Bittner and Anthony M. Platt, ‘The Meaning of Punishment’ (Spring 1966) 2, 1 Issues in Criminology <https://www.jstor.org/stable/42909549>.

วิทยานิพนธ์และรายงานส่วนบุคคล

กมลชัย รัตนสกาววงศ์, ‘ความยินยอมในกฎหมายอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2523).

เชษฐภัทร พรหมชนะ, ‘การนำมาตรการอื่นมาใช้บังคับค่าปรับนอกเหนือจากการกักขังแทนค่าปรับ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2546).

พนิดา อรรคเศรษฐัง, ‘ความผิดอันยอมความได้กับความผิดอาญาแผ่นดิน (ศึกษาตามกฎหมายอาญาสารบัญญัติ)’ (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล หลักสูตรผู้พิพากษาศาลชั้นต้น รุ่นที่ 2 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2547).

มนสิชา บุนนาค, ‘การกำหนดโทษทางเลือกกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด’ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2556).

สรภัทร สีระสาพร, ‘ความสำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ของฝรั่งเศสที่มีต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2547).

สหธน รัตนไพจิตร, ‘ความประสงค์ของการลงโทษอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2527).

ศรีรัตน์ งามนิสัย, ‘หลักความพอสมควรแก่เหตุ: พัฒนาการและการปรับใช้ในระบบกฎหมายไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2550).

เว็บไซต์

ภาษาไทย

ปรานี สุขศรี, ‘หลักกฎหมายทั่วไปในทางปกครองในคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด: ศึกษาหลักความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) และหลักความเสมอภาค (Principle of Equality)’ (เว็บไซต์ศาลปกครอง, ม.ป.ป.) <http://admincourt.go.th/admincourt/site/ 09articleacademicdetail-1521.html>.

เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ <http://humanrights.mfa.go.th/th/humanrights/obligation/ international-human-rights-mechanism/ICCPR.php>.

--, <http://humanrights.mfa.go.th/th/humanrights/obligation/ index.php>.

ภาษาต่างประเทศ

--‘Punishment - Theories of Punishment’ (JRank, no publication date) <http://law.jrank.org/ pages/9576/Punishment-THEORIES-PUNISHMENT.html>.

Joanne Cestaro, ‘Types of Criminal Offences in UK: Summary Only, Either Way & Indictable Only’ (Lawtons Solicitors, 11 June 2019) <https://www.lawtonslaw.co.uk/resources/ categories-of-offences/>.

Nick Titchener, ‘Types of Criminal Sentencing under UK Law’ (Lawtons Solicitors, 16 July 2019) <https://www.lawtonslaw.co.uk/resources/sentencing/>.

เอกสารประกอบการสัมมนา

ภาษาไทย

สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ‘การจัดแบ่งกลุ่มความผิดและโทษทางอาญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ’ (การประชุมระดมความคิดเห็น, ห้องกินรี 2 ชั้น 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพ, 17 มกราคม 2554).

รายงานและเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานต่าง ๆ

ภาษาไทย

คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการกำหนดอัตราโทษทางอาญา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รายงานการพิจารณาศึกษาการกำหนดอัตราโทษทางอาญา 2559 <https://dl.parliament.go.th/ handle/lirt/481708>.