การวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
Main Article Content
Abstract
ปัญหาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 และพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิก
สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การตรวจสอบสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาการวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาจากสาเหตุอย่างน้อย 5 ประการ คือ ประการแรก องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตั้งแต่ช่วงก่อนวันเลือกตั้งจนถึงหลังประกาศผลการเลือกตั้งมีมากกว่าหนึ่งองค์กร
อันอาจทำให้ผลการวินิจฉัยชี้ขาดมีความแตกต่างกัน ประการที่สอง ความรับผิดในทางกฎหมายของผู้สมัคร
ในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่าง ประการที่สาม กรอบเวลาที่กฎหมายกำหนดในการพิจารณาของศาลมีอยู่
ค่อนข้างจำกัด ประการที่สี่ บทบัญญัติยังไม่ชัดเจนว่าการสมัครโดยที่ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น ถือว่าเป็นเหตุให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่ และประการที่ห้า บทบัญญัติยังไม่ครอบคลุมถึงเหตุอื่นที่ควรทำให้ผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ผู้เขียนจึงได้มีความเห็นเป็นข้อเสนอแนะ
เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 4 ประการ คือ ประการแรก กำหนดเขตอำนาจขององค์กรที่มี
อำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยยึดเอาเวลาที่เหตุอันเป็นที่มาแห่งการขาดคุณสมบัติหรือการมีลักษณะต้องห้าม
มิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเกิดขึ้นมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดเขตอำนาจขององค์กร ประการที่สอง กำหนดให้มี
การตรวจสอบผู้สมัครทุกคนไม่ว่าจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่ และกำหนดให้การพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมโดยไม่จำกัดกรอบเวลาในการพิจารณาของศาล ประการที่สาม กำหนด
เหตุที่ทำให้ผู้สมัครไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งให้ครอบคลุมถึงเหตุอื่น และประการสุดท้าย ให้ถือว่าการสมัครโดยไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น เป็นเหตุทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
หนังสือ
ภาษาไทย
เดือน บุญนาค, กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายพิสดาร (คำสอนชั้นปริญญาโท ทางรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง 2478).
วิสุทธิ์ โพธิแท่น, แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ
ราชกิจจานุเบกษา 2551).
วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย
กนกรักษ์ น้อยสัมฤทธิ์, ‘ปัญหาการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง : ศึกษากรณีการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2556).
สัณห์ พิยะ, ‘ปัญหาตรวจสอบสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาโดยศาลรัฐธรรมนูญ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).
ลำไผ่ ภิรมย์กิจ, ‘การจำกัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561).
สุวัชรี กรรเจียกพงษ์, ‘การตรวจสอบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยฝ่ายตุลาการ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2551).
สุวิทย์ ปัญญาวงศ์, ‘การตรวจสอบการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งและฝ่ายตุลาการ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2554).