การคุ้มครองผู้ใช้ไฟฟ้า: ศึกษากรณีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากรณีไฟฟ้าดับ

Main Article Content

ภาคภูมิ โลหวริตานนท์

Abstract

     ไฟฟ้าเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ โดยมนุษย์ได้นำไฟฟ้ามาใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวก ในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นแล้ว ไฟฟ้ายังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม การผลิต การขนส่งและจำหน่ายสินค้า การสื่อสารคมนาคม การศึกษา การสาธารณสุข การเกษตร  ดังนั้น หากระบบไฟฟ้าภายในประเทศเกิดการขัดข้อง เช่น ไฟฟ้าดับหรือไฟตกบ่อยครั้ง ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน รวมถึงอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ผู้ใช้ไฟฟ้าในฐานะที่เป็นผู้บริโภค        จึงสมควรที่จะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการด้านไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และหากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าให้บริการไฟฟ้าไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ก็สมควรที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหายจาก        ผู้ให้บริการไฟฟ้าที่ให้บริการไม่ได้มาตรฐาน บทความนี้มุ่งศึกษาว่า ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเกิดขึ้นซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะมีสิทธิในการได้รับค่าชดเชยจากผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้าหรือไม่ โดยจะศึกษาถึงสิทธิผู้ใช้ไฟฟ้าที่จะต้องได้รับบริการไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ศึกษาความหมายของไฟฟ้าดับและผลกระทบจากไฟฟ้าดับ จากนั้นจะได้ศึกษาถึงแนวทางในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากรณีที่มีไฟฟ้าดับในอินเดีย สหราชอาณาจักร ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อนำมาเปรียบเทียบและให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวในประเทศไทยต่อไป

Article Details

Section
Articles
Author Biography

ภาคภูมิ โลหวริตานนท์, -

Lecturer in Law, Thammasat University

References

หนังสือ

ภาษาไทย

นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

ไพจิตร ปุญญพันธุ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด (พิมพ์ครั้งที่ 12 แก้ไขเพิ่มเติม, สำนักพิมพ์นิติบรรณการ 2550).

ภาษาต่างประเทศ

Forum of Regulators, Consumer Protection in Electricity Sector in India (2020).

Ignacio J. Pérez-Arriaga (ed), Regulation of the Power Sector (Springer 2013).

Roberto Malaman and others, Quality of Electricity Supply: Initial Benchmarking on Actual levels, Standards and Regulatory strategies (Council of European Energy Regulators 2001).

The IEEE Power and Energy Society IEEE, Guide for Electric Power Distribution Reliability Indices (2022).

บทความ

ภาษาต่างประเทศ

Miloslava Tesařová, ‘Power Quality and Quality of Supply’ (Proceedings of the Intensive Programme “Renewable Energy Sources” University of West Bohemia, Czech Republic, 2011).

อื่น ๆ

ภาษาไทย

ปาจรีย์ กรรณมณีเลิศ, ‘ห่วงโซ่อุปทาน (SUPPLY CHAIN) คืออะไร ฉบับอธิบายเข้าใจง่าย’ (2564) <https://ourpoint.co/posts/blogs/supply-chain> สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ‘ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า’ (2558) <https://blog.rmutl.ac.th/montri/assets/ee02.pdf> สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566.

สิญาพร เฉลิมวงศ์วิจิตร, ‘ความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ กรณีการเกิดไฟฟ้าดับในภาคครัวเรือนพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร’ (2558) <http://econ-test.nida.ac.th/attachments/article/2354/ExEC9000.pdf> สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566.

TPE Trading, ‘ไฟตก รู้สาเหตุและป้องกันได้’ (2563) <https://www.tpe-trading.com/power-drop/> สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566.

ภาษาต่างประเทศ

Foster Fuels, ‘The Effects of a Power Outage on a Business’ (2022) <https://fosterfuels.com/blog/power-outage-effects-businesses/> สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565

SA Power Networks, ‘Guaranteed Service Level payment’ (2022) <https://www.sapowernetworks.com.au/your-power/quality-reliability/guaranteed-service-level-payment/> สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.

Utilities Disputes, ‘Claiming compensation: Energy Fact Sheet’ (2020) <http://media.utilitiesdisputes.org.nz/media/Brochures%20and%20Fact%20sheets/Energy/Energy%20fact%20sheet%20-%20Claiming%20compensation.pdf> สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566.