มาตรการกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล : ศึกษากรณีการปล่อยเช่าห้องชุดในอาคารชุด

Main Article Content

นนทวัฒน์ สุวรรณ

Abstract

การกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดแบบรายวันหรือแบบรายสัปดาห์ โดยมีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกับการประกอบกิจการโรงแรมซึ่งภาครัฐควบคุมมาตรฐานการให้บริการผ่านใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ในขณะที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนนำห้องชุดในอาคารชุดปล่อยให้เช่าแบบรายวันหรือแบบรายสัปดาห์มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันห้องชุดในอาคารชุดเพื่อหารายได้เสริมตามแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) ซึ่งให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 จากกรณีคดีดำเลขที่ 50/2561 คดีแดง 59/2561 ศาลจังหวัดหัวหิน และคดีดำ เลขที่ 277/256 และคดีดำแดง เลขที่ 900/2561 ศาลจังหวัดเพชรบุรี การที่ภาครัฐได้นำหลักการอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมมากำกับดูแลการประกอบกิจการธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 อันไม่สอดรับและเหมาะสมสำหรับธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทนี้ซึ่งกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเกินสมควรแก่เหตุในการประกอบอาชีพหรือประกอบกิจการตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้การรับรองและคุ้มครองไว้ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุด


บทความนี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบมาตรการกำกับดูแลการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดของธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ กรณีประเทศญี่ปุ่นและกรณีเมืองซานฟรานซิสโกของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิเคราะห์ในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและเกิดความเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีความเหมาะสมและไม่สอดรับกับลักษณะการให้บริการของธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีการปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดแต่อย่างใด จึงทำให้รัฐต้องมีการกำกับดูแลธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทดังกล่าวผ่านใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอันเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพการประกอบอาชีพของประชาชนมากเกินสมควรแก่เหตุ จนนำไปสู่เกิดการลักลอบปล่อยให้เช่าห้องชุดในอาคารชุดผิดกฎหมายและขาดการรับรองมาตรฐานการให้บริการธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นกรณีปล่อยเช่าห้องชุดในอาคารชุด รวมถึงมาตรฐานความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ อีกทั้งรัฐไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการภาคเอกชนและผู้ใช้บริการได้ ตลอดจนไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการประกอบกิจการเข้าสู่รายได้รัฐด้วยเช่นกัน ดังนั้น รัฐควรปล่อยให้ประชาชนใช้เสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยนำห้องชุดในอาคารชุดซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองปล่อยให้เช่า โดยรัฐควรกำหนดมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสมในธุรกิจที่พักอาศัยท้องถิ่นประเภทดังกล่าว เพื่อผู้ประกอบการภาคเอกชนปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการกำกับดูแลที่ได้กำหนดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยในร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ

Article Details

Section
Articles

References

กฎหมาย

ภาษาไทย

กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566.

กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551.

พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547.

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ภาษาต่างประเทศ

Private Lodging Business Act.

San Francisco Administrative Code.

บทความ

ภาษาไทย

กรณ์ อรรถเนติศาสตร์, ‘มาตรการทางปกครองในการกำกับดูแล Digital Platform ศึกษากฎหมายของสหภาพยุโรป’ (2565) 1 วารสารกฎหมายปกครอง.

นุรัตน์ ปวนคำมา และฤทธิภัฏ กัลป์ยาณภัทรศิษฏ์, ‘มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลและส่งเสริมธุรกิจแบ่งปันที่พักแรมระยะสั้น : ศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่นและเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา’ (2565) 2 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรพล นิติไกรพจน์, ‘หลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส’ (2537) 4 วารสารนิติศาสตร์.

ภาษาต่างประเทศ

Information Note, ‘Regulation of home-stay lodging in selected places’ (2018-2019) 01 Research Office Legislative Council Secretariat.

หนังสือ

ภาษาไทย

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2547).

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 10, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2557).

บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562).

ภูมินทร์ บุตรอินทร์, ความรู้เบื้องต้นกฎหมายกับการประกอบกิจการโทรคมนาคม (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน 2562).

ศักดา ธนิตกุล, กฎหมายกับเศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์นิติธรรม).

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, กฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2566).

เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล, หลักกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2566).

จักรกฤษณ์ ควรพจน์และกัญจน์ จิระวุฒิพงศ์, กฎหมายเกี่ยวกับแพลตฟอร์มจองที่พักระยะสั้นภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ ( พิมพ์ครั้งที่ 1, สถาบันพระปกเกล้า 2563).

ภาษาต่างประเทศ

Jean-Philippe Colson et Pascale Idoux, Droit public économique (9e édition, LGDJ 2018).

เอกสารอื่น

ภาษาไทย

คณะทำงานศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้ระบบอนุญาตในกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ‘รายงานการศึกษา เรื่องการใช้ระบบอนุญาตในระบบกฎหมายต่างประเทศ’(รายงานการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2560).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

สุกฤตา ฉัตรพรธนกุล, ‘เสรีภาพในการประกอบกิจการภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2561).

ฐิตาพร อุทก, ‘มาตรการและกลไกทางกฎหมายในการประกอบกิจการ: ศึกษากรณี การขออนุญาตประกอบกิจการโรงแรม’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2565).

บล็อก

ภาษาไทย

กฎหมาย 4.0, ‘กฎหมายและสถานะของธุรกิจ Airbnb ในประเทศญี่ปุ่นและไทย’ (กรุงเทพธุรกิจ, 8 มิถุนายน 2561) <https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119731> สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566.

ภาษาต่างประเทศ

--‘Déclaration des Droits de l'Homme et du Citoyen de 1789’ <https://www.legifrance.gouv.fr/contenu/menu/droit-national-en-vigueur/constitution/declaration-des-droits-de-l-homme-et-du-citoyen-de-1789>สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2566.

Resources, ‘Airbnb Regulations By City’ <https://www.alltherooms.com/analytics/airbnb-regulations/#mcetoc_1fmi2pacj5478> สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566.

San Francisco Planning, ‘MAINTAIN YOUR CERTIFIED HOST STATUS’ <https://sfplanning.org/str/maintain-your-certified-host-status> สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566.