ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการค้าของเก่า ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 กับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

ณัฐพร เศวตะดุล

Abstract

พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 เป็นกฎหมายฉบับหนึ่งที่มีการใช้บังคับมาอย่างยาวนาน ซึ่งถูกใช้มาแล้วมากกว่า 90 ปี โดยตั้งแต่มีการตราพระราชบัญญัติออกมาใช้บังคับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ไม่เคยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ในสาระสำคัญแต่อย่างใด ทำให้บทบัญญัติของกฎหมายมีความไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมและรูปแบบของกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการการพัฒนาขึ้นของเทคโนโลยี โดยในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 มีหลักการสำคัญคือ รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน


จากการศึกษาพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 พบว่ากฎหมายมีปัญหาหลัก ๆ อยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น ดังนี้


  1. ความไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากการวางนิยามในกฎหมายที่ไม่ชัดเจน จนทำให้ขอบเขตของกฎหมายกว้างมากเกินไปจนกลายเป็นสร้างภาระในการประกอบอาชีพของประชาชน

  2. ปัญหาข้อจำกัดของวิธีการในการประกอบอาชีพ ซึ่งเกิดจากข้อกำหนดในด้านสถานที่ที่ยังไม่สามารถรองรับรูปแบบของกิจการในปัจจุบัน เช่น ร้านค้าออนไลน์ หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่มีหน้าร้าน

  3. ปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อกำหนดของใบอนุญาต ซึ่งมีประเด็นทั้งในแง่ของการต้องขอใบอนุญาตของสถานที่ประกอบกิจการทุกแห่ง การกำหนดอายุและประเภทของใบอนุญาต รวมไปถึงการกำหนดค่าธรรมเนียม

  4. ความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น โดยที่มีปัญหาทั้งในแง่ของการที่ต้องมีการขอใบอนุญาตซ้ำซ้อน
    กับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยของโบราณ หรือในแง่ของความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการขายตรงและการตลาดแบบตรง เป็นต้น

จากภาพรวมที่ได้กล่าวมาจึงสรุปได้ว่าพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 เป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฯ แต่เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้
ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบังคับใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมในการควบคุมไม่ให้ร้านค้าเหล่านี้กลายเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าที่ได้มาจากการลักขโมย หรือเป็นแหล่งในการฟอกเงิน รวมไปถึงการส่งเสริมกิจการเหล่านี้ไปด้วยในตัว จึงสมควรที่จะปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้มีความทันสมัยขึ้นและสามารถรองรับรูปแบบการประกอบกิจการใหม่ ๆ ในปัจจุบันและอนาคตได้ โดยต้องมีการวางหลักการในภาพรวมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดในด้านสถานที่อันเป็นข้อจำกัดของรูปแบบการประกอบกิจการ และมีการปรับปรุงข้อกำหนดของใบอนุญาตเสียใหม่ รวมไปถึงแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายหรือความไม่สอดคล้องกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2564).

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, กฎหมายมหาชนเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 4, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

มานิตย์ จุมปา, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) (พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551).

บทความวารสาร

ภาษาไทย

ชลลดา นาคใหญ่,‘จากคาร์ล มาร์กซ์ ถึง บิล เกตส์ : ความเป็นไปไม่ได้ของแนวคิดทุนนิยมที่ 'สร้างสรรค์'’ (2561) 1 วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 211.

ปกรณ์ นิลประพันธ์, ‘ยกเครื่องกฤษฎีกา’ (2555) 3 วารสารกฤษฎีกา 4.

สุรพล นิติไกรพจน์, ‘ข้อความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจ’ (2534) 3 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 371.

ภาษาต่างประเทศ

Arthur H. Fox, ‘A Theory of Second-Hand Markets’ (1957) 24 Economica 99.

วิทยานิพนธ์ และรายงานการศึกษาส่วนบุคคล

ภาษาไทย

ปรางชมพู จงอนุรักษ์, ‘ปัญหาการคุ้มครองเสรีภาพในการประกอบอาชีพในระบบกฎหมายไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2560).

คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2509.

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขดำที่ อ. 240/2548 คดีหมายเลขแดงที่ อ. 160/2553.

เอกสารอื่น ๆ

กรมการปกครอง, รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 2564 <https://law.go.th/Summary?survey_id=NjMwREdBX0xBV19GUk9OVEVORA==> สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ,คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 < https://dbdregcom.dbd.go.th/mainsite/fileadmin/user_upload/pdf/man1b.pdf > 20 พฤศจิกายน 2566.

มีชัย ฤชุพันธุ์, ‘คำบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวความคิดและข้อสังเกตในการร่างกฎหมาย’ (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,12 กุมภาพันธ์ 2541) < http://web.krisdika.go.th/activityDetail.jsp?actType=I&actCode=19&head=4&item=n5 > สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566.