การคุ้มครองสิทธิของมารดาที่เป็นเด็กในการยุติการตั้งครรภ์ ภายใต้กรอบความคิดเรื่องหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก

Main Article Content

ชนัญชิดา วงค์เงิน

Abstract

ความยินยอมทางอาญาของเด็กเป็นเงื่อนไขสำคัญของการยุติการตั้งครรภ์ เนื่องจากความยินยอมดังกล่าวย่อมส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์มีอำนาจกระทำเหนือเนื้อตัวร่างกายของเด็ก หากฝ่าฝืนต่อความยินยอมดังกล่าวแล้ว บุคคลากรทางการแพทย์อาจมีความรับผิดทางกฎหมายอาญาตามมา แต่อย่างไรก็ดีด้วยเหตุที่เด็กยังมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาไม่เต็มที่ ประกอบกับยังไม่มีวุฒิภาวะที่เพียงพอ ในบางเรื่องเด็กไม่สามารถที่จะรับรู้และเข้าใจถึงลักษณะของการกระทำและผลของการกระทำได้อย่างแท้จริงจึงทำให้ไม่อาจให้ความยินยอมอย่างแท้จริงได้ ดังนี้ในการกำหนดอายุขั้นต่ำที่จะถือว่าเด็กมีความสามารถที่จะให้ความยินยอมทางอาญาในเรื่องใดจึงต้องพิจารณาถึงความรู้และความเข้าใจของเด็กต่อลักษณะของการกระทำ วัตถุประสงค์ของการกระทำและผลที่ตามมาของการกระทำในเรื่องนั้นเป็นรายกรณีไป โดยจะใช้เกณฑ์อายุทางแพ่งของเด็กมาเป็นตัวกำหนดความสามารถของเด็กในทางอาญาไม่ได้ เนื่องจากความยินยอมทางแพ่งและความยินยอมทางอาญามีลักษณะที่แตกต่างกัน อนึ่งในปัจจุบันกฎหมายไทยยอมรับให้หญิงสามารถทำการยุติการตั้งครรภ์ด้วยความสมัครใจได้เมื่อมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายมาตราดังกล่าวกลับไม่มีการกำหนดถึงมาตรการที่ใช้เฉพาะเจาะจงกับกรณีของเด็กที่เป็นมารดาประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์เอาไว้ อาทิ ไม่ได้มีการกำหนดอายุขั้นต่ำที่ถือว่าเด็กมีความสามารถในการให้ความยินยอม ไม่ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับมาตรการพิเศษสำหรับเด็กหากเด็กไม่มีความสามารถในการให้ความยินยอมว่าควรมีขั้นตอนเช่นใดบ้างเพื่อให้เด็กสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ได้ รวมถึงมาตรการที่จำเป็น อาทิการได้รับคำปรึกษาก่อนการยุติการตั้งครรภ์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งการขาดกระบวนการข้างต้นย่อมส่งผลทำให้เด็กไม่ได้รับความคุ้มครองในกระบวนการการตัดสินใจ ตลอดทั้งการส่งเสริมสวัสดิภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างเหมาะสม และไม่เป็นไปตามหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ ปรกติ, คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : ว่าด้วยบุคคลธรรมดาและหลักทั่วไปว่าด้วยนิติบุคคล (พิมพ์ครั้งที่2, วิญญูชน 2550).

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 (เล่ม1, พิมพ์ครั้งที่ 11, กรุงสยาม พับลิชชิ่ง 2562).

จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาค 1 (เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์และสมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ผู้ปรับปรุง, พิมพ์ครั้งที่ 11, ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง 2555).

--,รวมผลงานทางวิชาการของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ (สำนักงานศาลยุติธรรม ผู้รวบรวม, เล่ม1, ชวนพิมพ์ 50 2562).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, หลักกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 13, วิญญูชน 2558).

นิชรา เรืองดารกานนท์และคณะ, ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก (โฮลิสติก พับลิชชิ่ง 2551).

ประสพสุข บุญเดช, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 14, สำนักอบรม

ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2548.

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 8, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์และไพศาล ลิ้มสถิต, ‘ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวในเวชปฏิบัติใน นิติเวชสาธก ฉบับกฎหมายกับเวชปฏิบัติ’ (เรือนแก้วการพิมพ์ 2530).

วันเพ็ญ บุญประกอบและคณะ, จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์ (ชวนพิมพ์ 2538).

ศรีเรือน แก้วกังวาล, จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี-วัยเด็กตอนกลาง (เล่มที่ 2, พิมพ์ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549.

ภาษาต่างประเทศ

Tom L.Beauchamp and James F. Childress, Principle of biomedical ethics (8 th edn, Oxfored University Press 2019).

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย

พรพิมล เรืองวุฒิเลิศ, การตั้งครรภ์ในหญิงอายุน้อย (Extremely young gravida) (ในการประชุมวิชาการกลางปี พ.ศ 2562, pdf, ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย 2562).

สมเกียรติ โพธิสัตย์และคณะ, Thailand Medical Services Profile 2011-2014 (การแพทย์ไทย 2554-2557) First Edition (pdf, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2557) 526.

ภาษาต่างประเทศ

World Health Organization, ‘Safe abortion: technical and policy guidance for health systems’ (pdf, WHO 2012).

--, Abortion Care Guideline (pdf, World Health Organization 2022).

บทความในวารสาร

ภาษาไทย

ชนภัทร วินยวัฒน์, ‘ความยินยอมในการรักษาพยาบาล : สิทธิของผู้ป่วยที่ถูกละเลย’ (2559) 1 วารสารนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 95.

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, ‘การคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กในกฎหมายไทย’ (2562) 4 วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 621.

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล, ‘มาตรฐานการปฏิบัติต่อเด็กที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก’ (2537) ดุลพาห 5.

ศศินันท์ พันธ์สุวรรณ และคณะ, ‘ประสบการณ์หลังตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไม่ได้แต่งงานใน ภาคเหนือตอน’ (2556) 3 วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 17.

ภาษาต่างประเทศ

Paul R. Benson, et. Al., ‘information Disclosure, Subject Understannding, and informed Consent in Phychiatric Reaseach, (1988) 4 Journal of Law and Human Behavior 455.

บทความในวารสารอิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย

ศักดา สถิรเรืองชัย, ‘ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าวในเวชปฏิบัติทั่วไป’ (2557) 1 เวชบันทึกศิริราช <https://he02.tci-thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81560> สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565.

นิธินันท์ มหาวรรณ, ‘ประสบการณ์ชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาภายหลังการทำแท้งแบบผิดกฎหมาย’

(2552) 1-3 วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 83 <https://he02.tci thaijo.org/index.php -/trcnj /article/view/40139> สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565.

รายงานวิจัย

มาตาลักษณ์ เสรเมธากุล, ‘หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก’ (รายงาน ผลการวิจัยเสนอต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2562).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

ปชาบดี ด้วงดี, ‘การทำแท้งโดยชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษาเปรียบเทียบเงื่อนไขประกอบการทำแท้งใน ต่างประเทศ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2557).

สุจิตรา โกทันย์, ‘ความยินยอมตามหลักกฎหมายอาญา : ศึกษาการให้ความยินยอมของเด็กในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลด้านสุขภาวะทางเพศ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

สิรินทิพย์ สมใจ, ‘ความยินยอมของเด็ก : ศึกษากรณีสิทธิการตายโดยสงบของผู้ป่วยเด็ก’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2561).

ภาษาต่างประเทศ

Elin Malmsköld, ‘The status of abortion in public international law and its effect on domestic legislation’ (Master’s of Public International Law and Human Rights Thesis Uppsala University 2018).

Linda Evangelisti, ‘ADOLESCENT PREGNANCY RESOLUTION WITH SPECIAL REFERENCE TO PRE-ABORTION COUNSELLING’ (Thesis Master of Arts (Medical Social Work) Stellenbosch University 2000).

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาต่างประเทศ

Abortion Finder, ‘Abortion in Illinois’ (Abortion Finder) <https://www.abortionfinder.org/abortion- guides-by-state/abortion-in-illinois> สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565.

Angloinfo, ‘Termination of Pregnancy/Abortion in Switzerland’ (Angloinfo) <https://www.angloinfo.com/how-to/switzerland/healthcare/pregnancy-birth/termination-abortion> สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565.

Center for Reproductive Rights, ‘Abortion and Human Rights’ (Center for Reproductive Rights, October 2008) <https://www.reproductiverights.org/sites/crr.civicactions.net/files/documents/BRB_abortion_hr_revised _3.09_WEB.PDF> สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566.

Deborah Christie and Russell Viner, ‘Abc Of Adolescence: Adolescent Development’ (Jstor) <https://www.jstor.org/stable/25458847> สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566.

Eisner Gorin LLP, ‘PARTIAL-BIRTH ABORTION’ (EG Eisner Gorin LLP) <https://www.thefederal

criminalattorneys.com/partial-birth-abortion> สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565.

Hanne Laceulle, ‘Autonomy’ (Jstor) <https://www.jstor.org/stable/j.ctv8d5tp1.9> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565.

IPPF International Planned Parenthood Federation, ‘Abortion Legislation in Europe (Updated January 2009)’ (IPPF International Planned Parenthood Federation, January 2009) <https://www.spdc.pt/files/ publicacoes/ Pub_ AbortionlegislationinEuropeIPPFEN

_Feb2009.pdf> สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565.

Jean Zermatten, ‘The Best Interests of the Child Principle: Literal Analysis and Function’ (2010) International Journal of Children's Rights 484-485 <https://heinonline.org/HOL/P?h=hein. journals/intjchrb18&i=495> สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565.

Joan B. Kelly, ‘THE BEST INTERESTS OF THE CHILD A Concept in Search of Meaning’(HeinOnline) <https://heinonline.org/HOL/P?h=hein.journals/fmlcr35&i=368> สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565.

Jonathan Herring, ‘CHILDREN'S ABORTION RIGHTS’ (Oxford University Press, 1 October 1997) <https://doi.org/10.1093/medlaw/5.3.257> สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565.

Kelly Burch, '3 key facts about fetal viability and its pivotal role in US abortion laws’ (Insider, 11 march 2022) <https://www.insider.com/guides/health/reproductive-health/fetal-viability> สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565.

NSPCC Learning, ‘Gillick competency and Fraser guidelines’ (NSPCC Learning, 10 June 2020) <https://learning.nspcc.org.uk/child-protection-system/gillick-competence-fraser-guidelines> สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565.

Robert H.Mnookin, ‘CHILD-CUSTODY ADJUDICATION: JUDICIAL FUNCTIONS IN THE FACE OF INDETERMINACY’ (1975) 3 Law and Contemporary Problems 227-230 <https://scholarship.law.duke.edu/cgi/ viewcontent.cgi?article=3457&context=lcp>

สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565.

V Wootten, ‘Pre-abortion Counselling’ (National Library of Medicine) <https://pubmed.ncbi. nlm.nih. gov/12263454/> สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566.

UNFPA, Center for Reproductive Rights (CRR), ‘ICPD and Human Rights 20 years of advancing reproductive rights through UN treaty bodies and legal reform’ (United Nations Population Fund) <https://www.unfpa.org/publications/icpd-and-human-rights> สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565.

Unicef Thailand, ‘อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคืออะไร’ (Unicef Thailand) <https://www.unicef.org/thailand/th/what-is-crc> สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565.

เอกสารองค์การระหว่างประเทศ

ภาษาต่างประเทศ

UN Committee for the Rights of the Child, ‘General comment No. 15 on the right of the child to the enjoyment of the highest attainable standard of health (art.24)’ (17 April 2013) UN Doc CRC/C/GC/15.

UN Committee for the Elimination of Discrimination against Women, ‘General recommendations No.24’ (1999) UN Doc A/54/38/Rev1