มาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Li-ion Battery)

Main Article Content

จักรพันธ์ พงษาชัย

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีที่มาของสภาพปัญหาจากการเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เนื่องจากการขยายตัวของการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา
และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่น ตลอดจนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณซากแบตเตอรี่
ชนิดลิเทียมไอออนที่ต้องนำเข้าสู่ระบบการจัดการของเสียเพิ่มสูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามหากซากแบตเตอรี่ถูกจัดการอย่างไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้สารอันตรายที่เป็นส่วนประกอบภายในแบตเตอรี่ เช่น ลิเทียม แมงกานิส โคบอลต์
รั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต่อผู้ที่สัมผัสสารอันตรายดังกล่าว จากการศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในประเทศไทย พบว่า มาตรการทางกฎหมายไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้ในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนได้อย่างเป็นระบบและครบวงจร ทั้งยังไม่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ไม่มีมาตรการการหมุนเวียนวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำ ทำให้ในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนนั้นเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นบทความนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนจากประเทศอื่นๆ เช่น กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป,
ประเทศอินเดีย และประเทศสิงคโปร์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในประเทศไทย ให้เหมาะสมกับบริบท และสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย


จากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ พบว่า ในแต่ละประเทศมีการกำหนดกฎหมายเฉพาะสำหรับการจัดการแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดแยก เก็บรวบรวม
ไปจนถึงกระบวนการกำจัดซากแบตเตอรี่ ซึ่งแต่ละประเทศได้นำเอาแนวคิด Circular Economy หรือหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการซากแบตเตอรี่ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ควบคู่
ไปกับหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) มาใช้เพื่อบังคับให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย จะต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบในการจัดการซากแบตเตอรี่ที่ตนเองได้ผลิต หรือจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง บทความนี้เห็นด้วยกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ เนื่องจากเป็นมาตรการที่ครอบคลุมในการจัดการซากแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ ทั้งยังสามารถหมุนเวียนนำเอาวัตถุดิบที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมา Reuse
หรือ Recycle ได้อีกอันเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นการลดปริมาณขยะที่จะต้องถูกนำไปกำจัด ณ สถานที่ปลายทาง เพื่อเป็นการป้องกันภาวะมลพิษที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้ผู้ผลิต หรือผู้จำหน่ายต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบกับการจัดการซากแบตเตอรี่ของตน เพื่อเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานรัฐ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรพัฒนามาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้บังคับการจัดการซากแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ด้วยวิธีการผนวกรวมหลักการ EPR เข้าไปกับ
(ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ... ที่จัดทำโดย
กรมควบคุมมลพิษ โดยกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการจัดการ
ซากแบตเตอรี่ของตนตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ไปจนตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ ควบคู่ไปกับการนำเอาแนวคิด Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน มาปรับใช้กับมาตรการทางกฎหมายโดยห้ามมิให้นำเอาซากแบตเตอรี่
ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการบำบัดและรีไซเคิลไปกำจัดโดยทันที เพื่อเป็นการหมุนเวียนวัตถุดิบที่ผ่านกระบวนการกู้คืนวัตถุดิบแล้วกลับมา Reuse หรือ Recycle อันเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ทั้งนี้ยังต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการกู้คืนวัตถุดิบมาใช้เพื่อ Reuse หรือ Recycle เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตจำต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องจัดทำบันทึกข้อมูลปริมาณซากแบตเตอรี่ที่ได้เก็บรวบรวม จำนวนซากแบตเตอรี่ที่ถูกส่งไปบำบัด ปริมาณวัตถุดิบที่สามารถกู้คืนได้จากการบำบัด ปริมาณการ
รีไซเคิล รวมไปถึงปริมาณที่ถูกส่งไปกำจัด ณ สถานที่กำจัดปลายทาง เพื่อให้รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบเพื่อกำหนด
ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐเป็นผู้กำหนด

Article Details

Section
Articles

References

บทความวรสาร

ภาษาไทย

สุจิตรา วาสนาดำรงดี, ‘บทความ: เรียนรู้ความพยายามของสิงคโปร์ในการจัดการขยะอย่างยั่งยืน - จากเตาเผาสู่การลดขยะที่ต้นทาง’ (2565) 2 วารสารสิ่งแวดล้อม 2-3 <https://ej.eric.chula.ac.th/storage/ ckeditor/file/file-334-Thai-645221578.pdf?fbclid=IwAR0V6DdQdvIazqifFFI_AwV1VxPVRPl_ mkcX2r7Nk1UMLf1MVykQAJ39PzA> สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566.

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

คิวัช ใจวิถี และจิรศักดิ์ รอดจันทร์, ‘มาตรการทางกฎหมายภาษีสรรพสามิตและภาษีสิ่งแวดล้อมในการลดการปล่อยมลภาวะจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโฟมและพลาสติก’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)

การสัมมนาและวิชาการ

ภาษาไทย

สุจิตรา วาสนาดำรงดี, ‘สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์’ (การเสวนาวิชาการเรื่อง “ขยะอิเล็กทรอนิกส์: จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย?”, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12 มิถุนายน 2558) 1 <https://hsm.chula.ac.th/news/สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565.

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ภาษาไทย

มณิสร วรรณศิริกุล, ‘สำรวจยอดจดทะเบียนรถยนต์ EV ปี 2565 แค่ยอดรวม 10 เดือน ก็มากกว่า 10 ปีรวมกัน’ (Unbancreature, 28 พฤศจิกายน 2565) < https://urbancreature.co/electric-vehicle-car-registration/> สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2566.

-- ‘การบำบัดและกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกวิธี’ (SIAMWASTE MANAGEMENT)

< https://www.wastemanagement.co.th/services-2/total-waste-management/landfill/ > สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566.

-- ‘ยอดจดทะเบียน “ยานยนต์ไฟฟ้า” เดือน ธ.ค.2022 พุ่งกว่า 450%’ (MCOT.net, 26 มกราคม 2566) <https://www.mcot.net/view/8rn3RN2k > สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566.

-- ‘โตโยต้า ชูไทยฐานแบตเตอรี่ จัดการครบวงจร-ประกัน 15 ปี’ (matichon online, 4 กันยายน 2563) สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566.

-- ‘บอร์ด สมอ.ไฟเขียวมาตรฐานแบตเตอรี่สำหรับยายนต์ไฟฟ้า’ (ไทยโพสต์, 3 พฤษภาคม 2566) สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566.

-- ‘สารเคมี’ (โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์) <https://www.chularat3.com/knowledge_detail. php?lang=en&id=616> สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566.

--‘European Green Deal เรื่องที่ผู้ประกอบการ SME ไทยต้องรู้ เมื่ออียูให้ความสำคัญกับสินค้ารักสิ่งแวดล้อม’ (ธนาคารกรุงเทพ, 9 มีนาคม 2565) < https://www.bangkokbanksme.com/en/european-green-deal-thai-sme-must-know > สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2566.

อื่น ๆ

ภาษาไทย

-- กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ของเสียอันตรายชุมชน ปี พ.ศ.2564 2564 3-4 <https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2022/05/pcdnew-2022-05-24_ 04-00-36 _316516.pdf> สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2566.

-- กองนโยบายการสร้างความเข้มแข็งทางการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า, Circular Economy ทางรอดของไทยในยุคขยะล้นโลก 2562 <http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/2._paper_-_circular_economy.pdf> สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2566.

-- กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ฐานข้อมูลความปลอดภัยการใช้สารเคมี 2560 < http://fdathaiteci.fda.moph.go.th/PDF1700/0813.pdf> สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2566.

-- ‘การบำบัดและกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกวิธี’ (SIAMWASTE MANAGEMENT)

< https://www.wastemanagement.co.th/services-2/total-waste-management/landfill/ > สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566.

-- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), ผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

< https://www3.tisi.go.th/hscode/hscode_view.asp?id=33> สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566.

-- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

< https://www.tisi.go.th/website/about/tis_comp_th> สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566.

-- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) <https://www.tisi.go.th/website/about/TISI2> สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2566.

นงลักษณ์ มีทอง, ‘โครงการสังเคราะห์และวิเคราะห์สมบัติทางไฟฟ้าเคมีของวัสดุทำขั้วไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน’ (รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2557).

สงบ คาค้อ, ‘การศึกษาสภาพการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลซากแบตเตอรี่ลิเทียมชนิดที่มีลิเทียมเป็นองค์ประกอบในประเทศไทย’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 2562).

สนธิกาญจน์ เพื่อนสงคราม, ‘พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๖๐’ (รายการเจตนารมณ์กฎหมาย)

<https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2635> สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2566.

อุกฤษฎ์ สหพัฒน์สมบัติ และคณะ, ‘เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่’ (ENTEC)<https://www.entec.or.th /th/knowledge-everything-you-need-to-know-about-batteries/> สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566.