สิทธิของทายาทโดยธรรมในการรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3) และ (4)

Main Article Content

กมลรัตน์ วัฒนาภรณ์วิทย์

Abstract

บทความวิชาการเรื่องนี้ได้ศึกษาสิทธิของทายาทโดยธรรมประเภทญาติในลำดับพี่น้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและมาตรา 1629 (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันไว้โดยเฉพาะ เจ้ามรดกและทายาทโดยธรรมจะเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันได้ ต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ามรดกกับทายาทโดยธรรมตามความเป็นจริงหรือความชอบด้วยกฎหมาย ในเรื่องนี้ปรากฏคำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529 ว่าความเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ยึดถือความเป็นพี่น้องกันทางสายโลหิตตามความเป็นจริงเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสของบิดามารดามิใช่สาระสำคัญที่ต้องพิจารณา ทำให้ทายาทที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกตามความเป็นจริงมีสิทธิในการรับมรดกดีกว่าพี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกันกับเจ้ามรดกตามความชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะไม่เป็นธรรมแก่พี่น้องร่วมแต่บิดาเดียวกันกับเจ้ามรดกตามความชอบด้วยกฎหมาย


จากการศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสที่มีหลักการตกทอดทรัพย์มรดกทันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเช่นเดียวกับหลักกฎหมายของประเทศไทย โดยมิได้มีการแบ่งแยกประเภทของบุตรแล้ว ทำให้ความชอบด้วยกฎหมายระหว่างทายาทในลำดับพี่น้องกับเจ้ามรดกมิใช่สาระสำคัญที่จำต้องพิจารณา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาคนเดียวกันต่างมีสิทธิรับมรดกเท่ากัน ซึ่งสอดรับกับการพิจารณาความเป็นพี่น้องตามความเป็นจริง แต่จากการศึกษากฎหมายของประเทศอังกฤษที่มีหลักการตกทอดทรัพย์มรดกผ่านผู้แทน พบว่ามีความเห็นแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเห็นว่าทายาทที่เป็นพี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกตามความเป็นจริงต้องพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยจึงจะมีสิทธิดีกว่าทายาทที่เป็นพี่น้อง ผู้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และอีกฝ่ายเห็นว่าความเป็นพี่น้องคือการมีบิดาและมารดาคนเดียวกัน หรือจะมีเพียงบิดาหรือมีเพียงมารดาคนเดียวกันก็ถือว่าเป็นพี่น้องแล้ว


ด้วยเหตุนี้ สิทธิโดยธรรมในการรับมรดกของทายาทในลำดับพี่น้องตามมาตรา 1629 (3) และ (4) จึงควรได้รับการพิจารณาในมุมมองของปัญหาการตีความและปรับใช้กฎหมายโดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายต่างประเทศ ผู้เขียนเสนอว่าหากนำแนวทางการปรับใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษที่ให้พี่น้องที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถรับมรดกร่วมกับพี่น้องตามความเป็นจริงแต่ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ โดยมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลปราศจากความสงสัยตามสมควรมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในเรื่องสิทธิของทายาทโดยธรรมในการรับมรดกตามมาตรา 1629 (3) และ (4) จะเกิดประโยชน์กับทายาทโดยธรรมประเภทญาติในลำดับพี่น้องให้ได้รับความเป็นธรรมและสมดั่งเจตนารมณ์ของผู้ตายอย่างแท้จริง

Article Details

Section
Articles

References

หนังสือ

ภาษาไทย

กีรติ กาญจนรินทร์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 มรดก (พิมพ์ครั้งที่ 5, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2566).

ธนภัทร ชาตินักรบ, หลักกฎหมายลักษณะมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2566).

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก (มานิตย์ จุมปา ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 2, นิติธรรม 2548).

พรชัย สุนทรพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก (พิมพ์ครั้งที่ 10, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา 2560).

พินัย ณ นคร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะมรดก (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2558).

เพรียบ หุตางกูร, คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก (ไพโรจน์ กัมพูสิริ ผู้แก้ไขเพิ่มเติม, พิมพ์ครั้งที่ 17, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2563).

ไพโรจน์ กัมพูสิริ, หลักกฎหมายมรดก (พิมพ์ครั้งที่ 10, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2566).

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดก (พิมพ์ครั้งที่ 2, โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2549).

ภาษาต่างประเทศ

Andrew Borkowski, Textbook on Succession (2nd edn, Oxford University Press 2002).

Anthony R. Mellows, The Law of Succession (4th edn, Butterworths 1983).

Karl Heinz Neumayer, ‘Intestate succession’, in International Encyclopedia of Comparative Law (IECL) Volume 5, Chapter 3 (Martinus Nijhoff 2002).

Kenneth Reid, Marius de Waal, and Reinhard Zimmermann, Comparative Succession Law: Volume II : Intestate Succession (Oxford University Press 2015).

William John Brown, Brown : GCSE Law (8th edn, Sweet & Maxwell 2002).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

กฤติยา สำราญบำรุง, ‘สิทธิของบิดานอกกฎหมายในการรับมรดก : แนวทางการปรับปรุงกฎหมาย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556).

คำพิพากษา

คำพิพากษาฎีกาที่ 944/2491.

คำพิพากษาฎีกาที่ 524/2510.

คำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529.

คำพิพากษาฎีกาที่ 2742/2545.

คำพิพากษาฎีกาที่ 1397-1399/2551.

คำพิพากษาฎีกาที่ 7005/2555.

คำพิพากษาฎีกาที่ 14230/2557.

รายงานผลการวิจัย

ภาษาต่างประเทศ

Daniel Monk and Jan Macvarish, ‘Siblings, contact and the law : an overlooked relationship?’ (Submitted to Nuffield Foundation 2018).

การติดต่อส่วนบุคคล

ภาษาต่างประเทศ

Email from kamolrat to anglia research services (24 April 2023).

กฎหมายภายในของต่างประเทศ

Administration of Estates Act 1925 section 46.

Code Civil (Version en vigueur du 29 avril 1803 au 01 juillet 2002) article 734.

Code Civil (Version en vigueur à partir du 01 juillet 2002) article 734.

Code Civil (Version en vigueur depuis le 01 juillet 2002) article 738.

Code Civil (Version en vigueur du 29 avril 1803 au 01 juillet 2002) article 752.

อื่น ๆ

ภาษาไทย

ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ตอน 1 (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2476).