การควบคุมการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาการควบคุมการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นที่เกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาล และ 2) เสนอแนวทางการควบคุมตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญ ขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษาทำการเปรียบเทียบแนวคิดการกระทำของรัฐบาลจากระบบกฎหมายประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เยอรมันกับไทย พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของรัฐบาล
จากการศึกษาพบว่า การควบคุมตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญ หากศาลรัฐธรรมนูญขยายขอบเขตการควบคุมมากเกินไปเท่ากับว่าการบริหารราชการแผ่นดินต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อนจึงเป็นการขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ปัญหาการควบคุมตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญทั้งก่อนการกระทำของรัฐบาลมีผลในทางกฎหมายและภายหลังการกระทำของรัฐบาลมีผลผูกพันในทางกฎหมายปรากฎใน 3 ลักษณะกล่าวคือ ความไม่เจาะจงของถ้อยคำในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ขอบเขตอำนาจในการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและการขาดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกระทำของรัฐบาล
ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะแนวทางการควบคุมตรวจสอบการกระทำของรัฐบาลโดยศาลรัฐธรรมนูญด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์พิจารณาการกระทำของรัฐบาลประกอบด้วย องค์กรผู้ใช้อำนาจ ลักษณะการกระทำและฐานหรือที่มาของอำนาจ โดยมีลำดับขั้นการพิจารณาควบคุมตรวจสอบออกเป็น 2 ลำดับขั้นที่สำคัญ กล่าวคือ ลำดับขั้นที่หนึ่ง การพิจารณาขอบเขตการควบคุมตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญให้สิ้นสุดหยุดลงตามข้อบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ลำดับขั้นที่สอง หากปรากฏข้อความที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญไม่เจาะจง มีลักษณะเป็นนามธรรมไม่ชัดแจ้ง ขอบเขตพิจารณาควบคุมตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญต่อถ้อยคำของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ไม่เจาะจงจะทำการตรวจสอบในขอบเขตตามลำดับดังนี้ ก) การอ้างอิงหลักฐานหรือข้อเท็จจริงมาเป็นเหตุเพื่ออธิบายถ้อยคำที่ไม่เจาะจงของบทบัญญัติครบถ้วนและสมบูรณ์ ข) หลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่นำมากล่าวอ้างเพื่ออธิบายถ้อยคำที่ไม่เจาะจงสามารถอธิบายถึงความหมายของถ้อยคำดังกล่าวได้ถูกต้อง ค) การใช้เครื่องมือหรือวิธีการอื่นใดเฉพาะในการประเมินถ้อยคำที่ไม่เจาะจงหรือในการพิสูจน์ชี้ชัดว่าถ้อยคำไม่เจาะจงตามที่กล่าวอ้างเกิดขึ้นจริงหรือไม่ หากมีเครื่องมือหรือวิธีการประเมินเฉพาะที่สามารถพิสูจน์ทราบถ้อยคำที่ไม่เจาะจงดังกล่าวได้ หากฝ่ายบริหารไม่ได้ดำเนินการด้วยเครื่องมือหรือวิธีการข้างต้นส่งผลให้ฝ่ายบริหารบกพร่อง ง) การให้เหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับถ้อยคำที่ไม่เจาะจง จ) การปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอย่างถูกต้องชัดเจนและสมเหตุสมผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
บรรณานุกรม
หนังสือ
ภาษาไทย
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, การกระทำทางรัฐบาล: ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ (สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา 2554).
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์,หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562).
นันทวัฒน์ บรมานันท์, กฎหมายปกครอง (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2560).
นันทวัฒน์ บรมานันท์, ศาลรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ (บริษัท พี.เพรส จำกัด 2548).
นันทวัฒน์ บรมานันท์, “บก.ใหญ่แห่ง เครือข่ายกฎหมายมหาชนไทย ตั้งประเด็นทางวิชาการ อะไรคือ การกระทำของรัฐบาล.” ใน วิวาทะกูรู สุดยอดแห่งทศวรรษ บรรณาธิการโดย ธีรเดช เอี่ยมสำราญ และ ราม อินทรวิจิตร (สำนักพิมพ์มติชน 2551).
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี (สำนักพิมพ์นิติธรรม 2538).
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, “เมื่อ ศ.ดร.บวรศักดิ์แย้งศาลปกครอง ผ่านบทวิเคราะห์ทางวิชานิติศาสตร์.” ใน วิวาทะกูรู สุดยอดแห่งทศวรรษ บรรณาธิการโดย ธีรเดช เอี่ยมสำราญ และ ราม อินทรวิจิตร (สำนักพิมพ์มติชน 2551).
รวินท์ ลีละพัฒนะและชมพูนุท ตั้งถาวร, มุมมองใหม่ต่อการกระทำทางรัฐบาลในประเทศไทย: ศึกษาผ่านประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญ (สถาบันพระปกเกล้า 2565).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศกับรัฐธรรมนูญไทย (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2546).
วรเจตน์ ภาคีรัตน์,“แถลงการณ์ของ รศ.ดร.วรเจตน์และพวก.” ใน วิวาทะกูรู สุดยอดแห่งทศวรรษ บรรณาธิการโดย ธีรเดช เอี่ยมสำราญ และ ราม อินทรวิจิตร (สำนักพิมพ์มติชน 2551).
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, การเพิกถอนคําสั่งทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครอง (โครงการตําราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2557).
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, รวมข้อเขียนเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2565).
สมคิด เลิศไพฑูรย์, การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับหรือการกระทำของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเสนอโดยศาลหรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด 2551).
สมยศ เชื้อไทย, หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2562).
เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล, การกระทําทางรัฐบาลหรือการกระทําของรัฐบาล: ข้อถกเถียงทาง วิชาการในระบบกฎหมายมหาชนไทย (สมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย 2551).
ภาษาต่างประเทศ
Mark Tushnet, The Constitution of the United States of America: A Contextual Analysis (2nd edition, Hart Publishing Ltd 2015).
รายงานการวิจัย
ภาษาไทย
บรรเจิด สิงคะเนติ และคณะ, ‘หลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของมติคณะรัฐมนตรีหรือการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560 มาตรา 29’ (รายงานผลการวิจัยเสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2564).
วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย
ฟารีส อินาวัง, ‘ปัญหาการวินิจฉัยข้อพิพาททางการเมืองโดยศาลรัฐธรรมนูญไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2559).
สาโรช โชติพันธุ์, ‘การควบคุมการกระทำของรัฐบาลโดยรัฐสภา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2541).
สุชาดา เรืองแสงทองกุล, ‘การกระทำทางรัฐบาลและปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2560).
สุวีร์.ตรียุทธนากุล, ‘การกระทำของรัฐบาล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2538).
Colegrove v. Green อ้างถึงในสุชาดา เรืองแสงทองกุล, ‘การกระทำทางรัฐบาลและปัญหาการตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาล’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2560).
อื่นๆ
ภาษาไทย
เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, ‘วิเคราะห์คดีมาร์เบอรี่และเมดิสัน : ต้นกำเนิดแห่งการใช้อำนาจตุลาการเพื่อธำรงหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ’ (2552) 3 วารสารกฎหมาย 27.
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์, ‘ศาลรัฐธรรมนูญกับหลักการจำกัดอำนาจของตนเองของฝ่ายตุลาการ’ (2557) 1 วารสารนิติศาสตร์ 43.
บรรหาร กำลา, ‘บทบาทของรัฐสภาในกระบวนการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ’ (2552) 1 จุลนิติ 6.
บุญเสริม นาคสาร, ‘ทฤษฎีว่าด้วยการกระทำของรัฐบาลกับคำพิพากษาของศาลไทย’ (2550) 25 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 9.
บุญเสริม นาคสาร, “องค์กรตุลาการกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามหลักนิติธรรม,” (2562) 21 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 62.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ‘เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ’ (2542) 1 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ 1.