มาตรการทางกฎหมายในการสร้างหลักประกันสิทธิแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในการมีสิทธิได้รับแสงสว่าง (Right to Light)
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาการประกันสิทธิในการได้รับแสงสว่างของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ (Right to Light) กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อความต้องการใช้พื้นที่มากขึ้นในปริมาณพื้นที่จำกัด จึงต้องปรับตัวโดยลดปริมาณการใช้พื้นที่แนวนอนลงและเพิ่มปริมาณพื้นที่ในแนวตั้งมากขึ้น อันนำมาซึ่งความเสี่ยงในการปิดกั้นทางแสงส่องของพื้นที่ข้างเคียง ทั้งการอยู่อาศัยโดยไม่ได้รับแสงอาทิตย์จะส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายและสุขภาพของผู้อยู่อาศัยหลายประการ เมื่อมีคดีข้อพิพาทในการปิดกั้นทางแสงอาทิตย์ขึ้นสู่ศาล ศาลยุติธรรมได้พยายามตีความกฎหมายละเมิดเพื่อคุ้มครองสิทธิในการได้รับแสงสว่างแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ดี การไม่มีบทบัญญัติกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการได้รับแสงสว่างเป็นการเฉพาะ จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องแบกรับไปตลอดว่าอาจมีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือต่อเติมอาคารอื่นใดขึ้นใหม่ที่ปิดกั้นทางแสงของตน
ตามปัญหาดังกล่าว บทความนี้ใช้วิธีการศึกษามาตรการตามตราสารระหว่างประเทศในแง่ของการประกันสิทธิในการได้รับแสงสว่างเป็นสิทธิมนุษยชน สิทธิในสุขภาพ และสิทธิในทรัพย์สิน อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปฏิญญาการประชุมขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา รวมถึงมาตรการทางกฎหมายของประเทศอังกฤษและประเทศญี่ปุ่นที่มีการประกันสิทธิแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในการมีสิทธิได้รับแสงสว่างเพื่อหาข้อเสนอให้กับประเทศไทย
จากการศึกษา บทความนี้ขอเสนอแนวทางการสร้างหลักประกันสิทธิแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในการมีสิทธิได้รับแสงสว่างแก่ประเทศไทยดังนี้ ประการที่ 1 เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างไรก็ดี การเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมีกระบวนการทางนิติบัญญัติที่ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลานาน เพื่อให้ทันต่อการขยายตัวของสภาพเศรษฐกิจและสังคมจึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะประการที่ 2 ขยายความสิทธิตามบทบัญญัติกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ให้ครอบคลุมถึงสิทธิในการได้รับแสงสว่าง ประการที่ 3 เพิ่มเติมบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประการที่ 4 เพิ่มเติมกลไกการประกันสิทธิในการได้รับแสงสว่างจากบัญญัติกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ และประการที่ 5 เพิ่มความร่วมมือระหว่างองค์กร พบว่าในทางระหว่างประเทศได้ยอมรับสิทธิในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืนเป็นสิทธิมนุษยชนสากล ส่วนประเทศอังกฤษได้รับรองสิทธิในการได้รับแสงสว่างเป็นทรัพยสิทธิ และประเทศญี่ปุ่นได้ยอมรับสิทธิในการได้รับแสงสว่างเป็นสิทธิของพลเมือง ดังนั้น ประเทศไทยจึงสมควรสร้างหลักประกันสิทธิแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในการมีสิทธิได้รับแสงสว่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
บรรณานุกรม
หนังสือ
ภาษาไทย
กุลพล พลวัน, พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน (วิญญูชน 2538).
นิรมัย พิศแข มั่นจิตร, กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยและการจัดทำบริการทางด้านสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2 2563).
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน (พิมพ์ครั้งที่ 1 วิญญูชน 2566).
วีระ โลจายะ, กฎหมายสิทธิมนุษยชน.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์, สิทธิมนุษยชน (พิมพ์ครั้งที่ 6 วิญญูชน 2561).
อำนาจ วงศ์บัณฑิต, กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4 วิญญูชน 2562).
บทความในวารสาร
ภาษาไทย
ปวริศร เลิศธรรมเทวี, ‘แนวทางการรับรองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญไทย’ (2560) สถาบันพระปกเกล้า.
ต่างประเทศ
Rondanelli M, Opizzi A, Monteferrario F, Antoniella N, Manni R, Klersy C, ‘The effect of melatonin, magnesium, and zinc on primary insomnia in long-term care facility residents in Italy: a double-blind placebo-controlled clinical trial’ (2011) 59 Journal of the American Geriatrics Society.
Riemersma-van der Lek RF, Swaab DF, Twisk J, Hol EM, Hoogendijk WJ, Van Someren EJ, ‘Effect of bright light and melatonin on cognitive and noncognitive function in elderly residents of group care facilities: a randomized controlled trial’ (2008) 299(22) The Journal of the American Medical Association.
วิทยานิพนธ์ รายงานส่วนบุคคล
ภาษาไทย
สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์, ‘ภาระจำยอมทางแพ่งกับภาระจำยอมทางปกครอง รายงานฉบับสมบูรณ์’ (รายงานส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย 2564).
รายงานการวิจัย
ภาษาไทย
เสริม จันทร์ฉาย, ‘รายงานวิจัย โครงการ การจัดทำคู่มือข้อมูลมาตรฐานด้านภูมิอากาศและแสงอาทิตย์สำหรับใช้งานด้านพลังงานทดแทน’ (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2548).
เสริม จันทร์ฉาย,‘รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาแบบจำลองแสงสว่างธรรมชาติและศักยภาพของการใช้แสงสว่างธรรมชาติ เพื่อการประหยัดพลังงานในอาคารในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย’ (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ร่วมกับ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2552) 7-10.
เอกสารอื่นๆ
ภาษาไทย
-- ‘เกี่ยวกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน’ (RISC) < https://risc.in.th/th/about-us > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
-- ‘นักวิจัยสหรัฐฯ เผยแสงอาทิตย์-ความชื้น กำจัดเชื้อโควิดได้อย่างรวดเร็ว’ (Workpoint News, 24 เมษายน 2563) < https://workpointtoday.com/coronavirus-sunlight-humidity/ > สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567.
-- ‘ผังเมืองกรุงเทพฯ กำลังจะเปลี่ยนแล้วมาดูกัน’ (Realist Blog, 27 มิถุนายน 2562) < https://thelist.group/realist/blog > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
-- ‘พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)’ (Clover, 10 มกราคม 2566) <https://www.cloverpower.co.th/th/updates/blog/187/renewable-energy> สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2567.
-- ‘เมลาโทนิน…ทางเลือกหนึ่งของคนนอนไม่หลับ’ (Bumrungrad International Hospital, 1 พฤศจิกายน 2562) < https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2019/melatonin > สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567.
-- ‘แสงมีประโยชน์อย่างไรต่อการนอนหลับ’ (Heathy Wish) < https://healthy-wish.com/how-light-help-to-sleep/ > สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567.
-- ‘EIA รื้อเกณฑ์สิ่งแวดล้อม ตึกสูง-คอนโด ห้ามบังลม-บังแดด’ (ประชาชาติธุรกิจ, 18 มิถุนายน 2564) < https://www.prachachat.net/property/news-691221 > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
-- ‘Q&A พระอาทิตย์อ้อมใต้คืออะไร?’ (Design Makes A Better Life) <https://dsignsomething.com/2016/03/14/qa-พระอาทิตย์อ้อมใต้คืออ/ > สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566.
กานต์ธีรา ภูริวิกรัย, ‘อ่านโจทย์เมืองใหม่ เมื่อคนไทยต้องอยู่บนตึกสูง (มากขึ้น) กับ ภัณฑิรา จูละยานนท์’ (The 101. World, 7 ตุลาคม 2564) <https://www.the101.world/panthira-julayanont-interview/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567.
คำพิพากษาฎีกาที่ 2949/2526 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2526).
คำพิพากษาฎีกาที่ 1996/2516.
จิรภรณ์ อังวิทยาธร, ‘วิตามินดี แสงแดด และอาการซึมเศร้า’ (มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์, 19 ตุลาคม 2561) <https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/441/วิตามินดีแสงแดดและอาการซึมเศร้า/> สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567.
นิตยาพร, ‘นาฬิกาชีวิต’ (กรมสุขภาพจิต, 3 มกราคม 2563) <https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2275> สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567.
สุภาวดี สาระวัน, ‘แสง UV ฆ่าเชื้อไวรัสได้จริงหรือ?’ (SciMath, 21 มกราคม 2564) <https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11634-uv> สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2567.
ต่างประเทศ
--‘CHAPTER IV: HUMAN RIGHTS: International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights New York, 16 December 1966’ (United Nation Treaty Collection) <https://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=TREATY&mtdsg_no=IV-3&chapter=4&clang=_en#2> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567.
--‘Easements’ (EM Law | Commercial Lawyers in Central London) < https://emlaw.co.uk/commercial-property-law/easements-solicitors/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567.
--‘Environmental Rights’ (Constitutional Revision in Japan Research Project) <https://www.crjapan.org/environmental-rights> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567.
--‘Nishhoken: Japanese sunshine rights / sunlight laws’ (the tokyo files: urban design) <https://thetokyofilesurbandesign.wordpress.com/2016/05/24/japanese-sunshine-rights/> สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2567.
Hirotaka Yoshizaki, ‘Japanese Courts Back the Right to Sunshine’ (The New York Times, 18 July 1976) < https://www.nytimes.com/1976/07/18/archives/japanese-courts-back-the-right-to-sunshine-a-longtime-resident.html > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
HKRUK II (CHC) Ltd v Heaney (2010) EWHC 2245 (Ch).
Louise George Kittaka, ‘New buildings can take the sunshine out of life’ (thejapantimes, 24 August 2014) < https://www.japantimes.co.jp/community/2014/08/24/how-tos/new-buildings-can-take-sunshine-life/ > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
Neil Toner, ‘IT’S THE LAW: Rights to Light’ (Devonshires Solicitors LLP) < https://www.devonshires.com/wp-content/uploads/2016/06/ITL-Rights-to-Light.pdf > สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567.
เอกสารที่ออกโดยหน่วยงาน
ภาษาไทย
กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, แนวทางการศึกษาและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านการบดบังแสงอาทิตย์ และด้านการเปลี่ยนแปลงของลม จากการก่อสร้างอาคาร สำหรับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน < https://eiathailand.onep.go.th/?wpdmpro=18-guidelines-for-solar-obscuration-and-changes > สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2565 2566 < https://www.nhrc.or.th/NHRCT-Work/Situation.aspx> สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567.
ต่างประเทศ
Law Commission, Law Commission Consultation Paper No 210 Rights to Light 2013 < https://www.lawcom.gov.uk/project/rights-to-light/ > สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567.
Law Commission, Law Commission Reforming the law Rights to Light 2014 < https://www.lawcom.gov.uk/project/rights-to-light/ > สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567.
RICS, RICS guidance note: Rights of light 2nd edition 2016 <https://www.rics.org/content/dam/ricsglobal/documents/standards/March_2016_Rights_Of_Light_2nd_Edition.pdf> สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567.
เอกสารปฐมภูมิ
ภาษาต่างประเทศ
Charter of The United Nations and Statute of The International Court of Justice (adopted 26 June 1945, entered into force 24 October 1945) 1 UNTS XVI.
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (adopted 16 December 1966, entered into force 3 January 1976) 993 UNTS 3 (ICESCR).
UN ‘Report of The United Nations Conference on The Human Environment’ (1972) UN DOC A/CONF.48/14/Rev/1.
Universal Declaration of Human Rights (adopted 10 December 1948 UNGA Res 217 A (III) (UDHR)) art 25.
UNGA ‘The human right to a clean, healthy and sustainable environment’ (1 August 2022) UN Doc A/RES/76/300.
World Health Assembly, ‘Twenty-third World Health Assembly, Geneva, 5-22 May 1970: part II: plenary meetings: verbatim records: committees: summary records and reports’ (Official records of the World Health Organization p.540)
กฎหมายภายในต่างประเทศ
The Prescription Act 1832 article 3.
The Constitution of Japan article 13.