สิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญาล่าช้าเกินสมควร : ศึกษากรณีผู้ต้องขังระหว่างดำเนินคดี
Main Article Content
Abstract
บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาปัญหาความจำเป็นในการคุมขังผู้ต้องหา ปัญหาความล่าช้าในชั้นสอบสวน ปัญหาระยะเวลาที่สั้นที่สุดในการคุมขังผู้ต้องหา ตลอดจนการบริหารจัดการคดีอาญาที่จำเลยถูกขังระหว่าง การพิจารณา เพื่อสิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีอาญาล่าช้าเกินสมควร โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
จากการศึกษาพบว่าทั้ง 3 ประเทศ ใช้หลักในการพิจารณา “ความจำเป็น” ของการคุมขังโดยยึดหลัก ให้การคุมขังเป็นวิธีการชั่วคราวและเป็นมาตรการสุดท้าย โดยตีความคำว่า “ความจำเป็น” ว่าต้องถึงขนาดหรือใกล้ชิดกับการกระทำความผิด มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำความผิด ระบบการสอบสวนมีการทำงานร่วมกับพนักงานอัยการตั้งแต่การขอออกหมายคุมขัง ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วม ในการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานอัยการเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทำให้สามารถลดระยะเวลาในการคุมขัง (ฝากขัง) ได้ ลดความผิดพลาดของการพิจารณาคดี เพื่อเพิ่มความรวดเร็วเป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องหา ซึ่งถ้าในชั้นสอบสวนมีประสิทธิภาพเพียงพอ กระบวนการพิจารณาคดีในชั้นศาลจะสามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การบริหารจัดการคดีอาญา ที่จากเดิมเป็นการพิจารณาคดีเรียงตามลำดับการรับฟ้อง ให้สามารถนำคดีอาญาที่จำเลยต้องขังระหว่างการพิจารณามาพิจารณาก่อนคดีประเภทอื่น
ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับแก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยในเรื่องการออกหมายคุมขังโดยพิจารณาถึง “ความจำเป็น” ที่ต้องถึงขนาดหรือใกล้กับการกระทำความผิด โดยให้พนักงานสอบสวนรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอที่จะนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีและรับโทษตามกฎหมาย ให้พนักงานอัยการเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มคดี คือ การพิจารณา “ความจำเป็น” ในการคุมขังอีกชั้นหนึ่งก่อนที่จะยื่นคำร้องขออนุญาตจากศาล และมีส่วนในการสอบสวนคดีอาญาเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ ที่แท้จริงในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน ตลอดจนการพิจารณาคดีอาญาในชั้นศาลให้มีการบริหารจัดการคดีอาญาที่จำเลยถูกคุมขังระหว่างพิจารณาให้นำมาพิจารณาก่อนคดีประเภทอื่นและต้องพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน เพื่อสอดรับกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
References
บรรณานุกรม
หนังสือและบทความในหนังสือ
ภาษาไทย
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ชาติ ชัยเดชสุริยะและณัฐวสา ฉัตรไพฑูรย์, มาตรฐานองค์การสหประชาชาติว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา United Nations Standards on Criminal Justice (โรงพิมพ์เดือนตุลา 2548).
กุลพล พลวัน, พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน (พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2538).
คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 9, สำนักพิมพ์วิญญูชน 2561).
ปกป้อง ศรีสนิท, สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (สำนักพิมพ์วิญญูชน 2563).
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์, คำถาม คำตอบ ปัญหาข้อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพยานหลักฐาน (สำนักพิมพ์อภิโชติ 2565).
สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์, ความรู้กฎหมายทั่วไปกฎหมายในชีวิตประจำวัน (พิมพ์ครั้งที่ 4, สำนักพิมพ์วิญญูชน (ปรับปรุงใหม่) 2566).
สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และคณะ, ‘รายงานวิจัยเรื่อง กฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรมที่ไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิพื้นฐานและพันธกรณีระหว่างประเทศรวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย’(รายงานการวิจัย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 2547).
วิทยานิพนธ์
ภาษาไทย
เกษม คมสัตย์ธรรม, ‘การยกเลิกการพิจารณาที่มิชอบของศาลในคดีอาญา’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2536).
รวีวัฒน์ ชวมณีนันท์, ‘มาตรการหลีกเลี่ยงการควบคุมผู้กระทำความผิดตามข้อกำหนดโตเกียว : การนำมาใช้ ในประเทศไทย’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2544).
วิชัย วิวิตเสวี, ‘สิทธิเสรีภาพในกระบวนการยุติธรรม’ ในคำบรรยายเนติบัณฑิต ภาค 2 สมัย 56, วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2546.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ภาษาไทย
--,บทที่ 2 ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญา, (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) <https://archive.lib.cmu.ac. th/full/T/2538/poli1038ct_ch2.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
--,บทที่ 2 แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยในคดีอาญา <http://dspace.spu.ac.th /bitstream/123456789/6956/8/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202%20.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
คู่มือการปล่อยชั่วคราว (สำนักประธานศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม 2549)<https://anyflip.com/zhvkw/kfux> สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567.
คู่มือการปฏิบัติงาน ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558 การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลในการปล่อยชั่วคราว (Electronic Monitoring) <https://bksmc.coj.go.th/th/file/get/file/2019013123178c24d25d88e107e95333e 3486066104757.pdf> สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, AMNESTY INTERNATIONAL THAILAND <https://www.amnesty.or.th/> สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566.
สิทธิมนุษยชน HUMAN RIGHTS, <https://humanrights.mfa.go.th/th/humanrights/obligation/ internationalhuman-rights-mechanism/ICCPR.php> สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2566.
ปกป้อง ศรีสนิท, ‘สิทธิของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ : หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์’ (The 101.World 24 กุมภาพันธ์ 2563) <https://www.the101.world/presumption-of-innocence/> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
ปิยบุตร แสงกนกกุล, ‘ปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 : การจัดทำคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง’ (2564) วารสารสถาบันปรีดี พนมยงค์ <https://pridi.or.th/th/content/2021/09/>สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
พาขวัญ จิระนภารัตน์, ‘ปัญหาระบบการสอบสวนคดีอาญาและการฟ้องคดีอาญาของไทย’ <http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6312019041/1662783044d1c7eb97116837268ca8460c958d15f8_abstract.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
พีระศักดิ์ พอจิต, ‘หัวข้อ หลักสิทธิมนุษยชน เรื่อง สิทธิมนุษยชนในหลายมิติ’ (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล (Individual Study) หลักสูตร “หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย” รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) <https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ ewt_dl_link.php?nid=8828> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
อรรถพร เพชรแก้ว, ระบบการพิจารณาคดีครบองค์คณะและต่อเนื่องกับข้อจำกัดขององค์คณะผู้พิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ศึกษา : กรณีปัญหานั่งพิจารณาครบองค์คณะของศาลจังหวัดยะลา’ (หลักสูตรผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 19 วิทยาลัยข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม 2563) <https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid =14681&> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
อวิการัตน์ นิยมไทย, ‘หลักการพิจารณาคดีอาญาด้วยความรวดเร็ว’ (2556) การปฏิรูปกฎหมาย : LAW REFORM 1 <https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/ 10reform/reform33.pdf> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
อุทัย อาทิเวช, ‘การควบคุมตัวในกฎหมายฝรั่งเศส (ตอนที่ 2)’ (สำนักงานอัยการสูงสุด) สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
ภาษาต่างประเทศ
Rule 9, ‘Arrest Warrant or Summons on an Indictment or Information’ (Legal Information Institute Cornell Law School) <https://www.law.cornell.edu/rules/frcrmp/rule_9> สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566.
Rule 50 Prompt Disposition, (Legal information institute Cornell Law School) <https://www.law. cornell.edu/rules/frcrmp/rule_50> สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567.
最高检紧盯超期羁押和久押不决_中华人民共和国最高人民检察院 The Supreme People’s Procurate of the Prople’s Republic of China <https://www.spp.gov.cn/ xwfbh/wsfbt/201508/t20150804_102456_3.shtml> สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2566.
อื่น ๆ
ภาษาไทย
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1966.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4113/2552.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4294/2550.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.