ปัญหาเกี่ยวกับสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

Main Article Content

ณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา

Abstract

ความชัดเจนเกี่ยวกับสถานะของกิจการภายใต้กฎหมายไทยเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งต่อความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายและการกำหนดสภาพบังคับของกฎหมายให้มีความแน่นอน โดยในกรณีของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านพ้นช่วงเวลาของการวินิจฉัยตีความว่าเป็นกิจการที่เป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 โดยผลของความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่พิจารณาจากสถานะของผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละห้าสิบของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นสำคัญ ในขณะที่เมื่อกฎหมายฉบับต่างๆ มีพัฒนาการและมีการแก้ไขจนส่งผลให้สถานะของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินต้องเปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบดังกล่าวสร้างแรงกระทบเป็นลูกโซ่ต่อไปยังสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้หลุดพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การหลุดพ้นจากสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงเฉพาะกฎหมายบางฉบับ ในขณะที่บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน แม้ว่าจะไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณก็ตาม ความซับซ้อนและความยุ่งยากของกฎหมายไทยในเรื่องของบทนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับใช้กฎหมายในประเทศยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดและความไม่สอดคล้องต้องกันทั้งระบบ ดังตัวอย่างของบริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในบทความนี้ แนวทางจำเป็นที่จะลดข้อจำกัดอันนำไปสู่การวินิจฉัยตีความสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจคือการมีกฎหมายแม่บทขึ้นเพื่อกำหนดกิจการรัฐวิสาหกิจให้ต้องถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายเดียวกัน

Article Details

Section
Articles

References

บรรณานุกรม

บทความ

ภาษาไทย

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ‘การตีความกฎหมาย: ตัวอักษรหรือเจตนารมณ์’ (2552) 2 วารสารศาลรัฐธรรมนูญ.

ณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา, ‘ปัญหาในการกำหนดสถานะความเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ในกฎหมายไทย’ (2565) 1 วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์.

เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ, ‘การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม’ (เอกสารวิชาการส่วนบุคคล หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 2559).

วิทยานิพนธ์

ภาษาไทย

วาสนา วรรัตน์, ‘ความพึงพอใจในการให้บริการของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดชลบุรี ในทัศนะของผู้มาใช้บริการ’ (ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา).

สลักจิต กุลเตชะมาภรณ์, ‘มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำ’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

หนังสือพิมพ์

ภาษาไทย

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ‘การเมืองว่าด้วยธนาคารกรุงไทย คอลัมน์ “จากท่าพระจันทร์ถึงสนามหลวง’ ผู้จัดการรายวัน (ฉบับวันที่ 10 พฤศจิกายน 2541).

อื่น ๆ

ภาษาไทย

กระทรวงการคลัง, การชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามกฎหมายและร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 148/2560 วันที่ 19 ธันวาคม 2560, <https://www.mof.go.th/th/view/file/c5dc70322ea43ccb6701720059f7b17a585144cee3d37 afd2a> สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567.

ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1397/2563 เรื่อง สถานภาพของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).

ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 1140/2564 เรื่อง สถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).

ธนาคารแห่งประเทศไทย, การปรับโครงสร้างของธนาคารกรุงไทย, ฉบับที่ 54/2541 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2541, 1-2.

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ‘ข้อมูลบริษัท รายละเอียดหลักทรัพย์ ในวันที่เริ่มต้นซื้อขาย’<https://www.settrade.com /th/equities/quote/KTB/company-profile/profile> สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567.

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ‘ข้อมูลบริษัท ข้อมูลผู้ถือหุ้น’ <https://www.settrade.com/th/equities/quote/KTB/company-profile/major-shareholders> สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567.

หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนมาก ที่ นร 0601/421 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2543 เรื่อง ขอให้พิจารณาสถานภาพของธนาคารแห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน.

พระราชบัญญัติ

ภาษาไทย

พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. 2502 มาตรา 4.

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 4

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 53.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 มาตรา 4

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 4

พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 3

พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2561 มาตรา 3.

พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4.

พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2561 มาตรา 4.

หนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 มาตรา 7(2).