การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อ เสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

บุญมา เวียงคำ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสนอ ภิรมจิตรผ่อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาลักษณะสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิง
ประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะสำคัญการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ เป็นกิจกรรมเสริม
หลักสูตร, เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง, สร้างความรู้โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกลุ่ม
และสังคมรอบข้าง, เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเสียสละเพื่อส่วนรวม, มีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาบัน
ทางสังคม, เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้หลากหลายทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และนักเรียน
มีส่วนร่วมในการประเมินผล 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยหลักการ
จุดมุ่งหมายเนื้อหา การจัดกิจกรรม มี 5 ขั้นได้แก่ การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก,การสร้างเสริมความรู้, การสร้างผลงาน, การนำเสนอผลงานและการประยุกต์ใช้, การประเมิน
ผลและการสะท้อนกลับ การวัดผลประเมินผล 3) ประสิทธิผล ของรูปแบบการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ .765 นักเรียนมีความก้าวหน้าร้อยละ 76.50 และ 4) นักเรียน
มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด, 2551.
กิตติคม คาวีรัตน์. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้าง
สุขภาวะสำหรับนักศึกมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต
สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
จิราพร วัฒนศรีสิน. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างจริยธรรม
ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์
ปริญญาการศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
2547.
ชัยรัตน์ สุทธิรัตน์. สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์, 2552.
ชาย โพธิสิตา. รายงานการวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
ประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
บุญทัน ภูบาล. การใช้วีดีทัศน์และละครหุ่นเชิดเป็นตัวแบบเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวัดผล
และวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
ประเวศ วะสี. การปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญาทางรอดจากความหายนะ. กรงุ เทพฯ:
มูลนิธิสดสีสฤษดิ์วงศ์, 2549.
26 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์
เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
บุญมา เวียงคำม, เสนอ ภิรมจิตรผ่อง
พิชยา พรมาลี. การพัฒนารูปแบบโครงข่ายด้วยการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้วยเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์
ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2549.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. ระเบียบวิธีการวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม.
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ, 2554.